อนุรักษ์ จุรีมาศ

อนุรักษ์ จุรีมาศ (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2503) ชื่อเล่น แกละ กรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และกรรมการบริหารพรรคชาติไทย

อนุรักษ์ จุรีมาศ
อนุรักษ์ ใน พ.ศ. 2561
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปสรอรรถ กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 6 มกราคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอุไรวรรณ เทียนทอง
ถัดไปอุไรวรรณ เทียนทอง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
พรรคการเมืองสหประชาธิปไตย (2529–2531)
ชาติไทย (2531–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2556–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

อนุรักษ์ จุรีมาศ (ชื่อเล่น : แกละ) หรือ "เสี่ยแกละ"[1] เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2503 ที่ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายสมควร และนางดาวรุ่ง จุรีมาศ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนางศิริพันธ์ จุรีมาศ อดีต ส.ส. จังหวัดร้อยเอ็ด[2] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย ชั้นมัธยมตอนปลาย จาก โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

งานการเมือง

แก้

อนุรักษ์ จุรีมาศ ประกอบอาชีพทนายความ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 จึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องเรื่อยมาในปี พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2535 (2 ครั้ง) พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายสานิต ว่องสัธนพงษ์ จากพรรคเสรีธรรม กระทั่งในปี พ.ศ. 2548 จึงกลับมาชนะการเลือกตั้งในพื้นที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง

อนุรักษ์ จุรีมาศ เคยทำหน้าที่เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายปัญจะ เกสรทอง) เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2535 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2538 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และการปรับคณะรัฐมนตรีในปีถัดมา เขาจึงย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ต่อมาในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (คนแรก) และถูกปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546

นายอนุรักษ์ จุรีมาศ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคชาติไทย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เขาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[3]

อนุรักษ์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 8 รวมถึงในปี 2566 เป็น ส.ส.สมัยที่ 9

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ทวงศักดิ์ศรีตระกูลจุรีมาศ
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-11. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  3. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า อนุรักษ์ จุรีมาศ ถัดไป
-    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546)
  นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
อุไรวรรณ เทียนทอง
(สมัยแรก)
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 6 มกราคม พ.ศ. 2548)
  อุไรวรรณ เทียนทอง
(สมัยที่ 2)