โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (ย่อ: ร.ว., อังกฤษ: Roi-Et Wittayalai School[7]) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นสถานศึกษาแห่งแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วน ปัจจุบันทำการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 โดยเป็นรูปแบบชายล้วนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ยกเว้นโครงการห้องเรียนพิเศษเป็นรูปแบบสหศึกษา) และรูปแบบสหศึกษาทุกห้องเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย Roi-Et Wittayalai School | |
---|---|
ป้ายโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศไทย | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ร.ว., RW (อักษรย่อ)[2], สาเกตุวิทย์ (ไม่ทางการ) ร้อยเอ็ดวิทย์ (ไม่ทางการ) |
ชื่อเดิม | โรงเรียนวัดศรีมงคล (พ.ศ. 2453-56)[3] |
ประเภท | [3] |
คำขวัญ | เรียนดี กีฬาเก่ง เคร่งวินัย ใฝ่คุณธรรม นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)[2] |
สถาปนา | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2453 (113 ปี 276 วัน)[3] |
ผู้ก่อตั้ง | พระครูเอกุตรสตาธิคุณ (โมง)[3] |
เขตการศึกษา | สพม.ร้อยเอ็ด[4] |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ[4] |
สหวิทยาเขต | พระขัติยะวงษา[4] |
ผู้อำนวยการ | นายบุญภพ จันทมัตตุการ[4] |
ระดับชั้น |
|
เพศ | |
จำนวนนักเรียน | 3,282 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562)[5] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน |
|
วิทยาเขต | หลัก |
ขนาดวิทยาเขต | 27 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา[1] |
สี | เขียว - แสด[2] |
เพลง | มาร์ชร้อยเอ็ดวิทยาลัย [6] |
เว็บไซต์ | |
อัปเดตล่าสุด: 28 มกราคม พ.ศ. 2565 |
โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยเป็นหนึ่งในโรงรียนที่มีการเปิดเรียนการสอนในหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE) (โครงการในความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)) และยังมีหลักสูตรส่งเสริมทักษะความสามารถในด้านต่าง ๆ เช่น โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางวิชาการ หรือ Gifted Program, โครงการพัฒนาความสามารถด้านภาษาศาสตร์-สังคมศาสตร์, ห้องเรียนหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ (English Programme), แผนการเรียนสายวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วิศวะ แผนการเรียนสายภาษาอังกฤษ จีน ฝรั่งเศส เป็นต้น นอกจากนี้โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย ยังเป็นโรงเรียนเครือข่ายศูนย์อบรมนักเรียนโครงการโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.) ค่าย 1 สาขาคณิตศาสตร์ ภายใต้ศูนย์ สอวน. ระดับภูมิภาค มหาวิทยาลัยขอนแก่น[8]
ประวัติ
แก้โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้เริ่มวางรากฐานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 ที่วัดศรีมงคล (วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) โดยมีพระครูเอกุตรสตาธิคุณ (โมง) เจ้าคณะเมืองร้อยเอ็ด และเจ้าอาวาสวัดสระทอง ในสมัยนั้นเป็นผู้ก่อตั้ง
พ.ศ. 2453 กระทรวงธรรมการในสมัยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ดำริจะจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลในจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้น จึงได้ส่งราชบุรุษจันทร์ อุตมะพรหมมาเป็นครูคนแรกและได้ทราบว่าที่วัดสระทองมีเด็กเข้าเรียนอยู่ในวัดประมาณ 20 กว่าคน และมีพระทำการสอนอยู่แล้ว จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดนี้ เรียกชื่อว่า โรงเรียนวัดศรีมงคล ครูที่สอนในสมัยนั้นมี ราชบุรุษจันทร์ อุตมะพรหม เป็นครูใหญ่, พระครูวินัย, พระภิกษุพิมพ์ สุวรรณบล, นายสวาสดิ์ ศริริวรรณ, นายเตรียม ศิริวรรณ และ สามเณรผ่อง จรัสฉาย โดยครูทั้ง 6 คน ได้ทำการผลัดเปลี่ยนกันสอน และให้นักเรียนชั้นสูงมาช่วยทำการสอนแก่นักเรียนในชั้นที่ต่ำกว่าเป็นครั้งเป็นคราว
พ.ศ. 2456 กระทรวงธรรมการได้จัดส่งนายแม้น โปราณานนท์ ป. (หลวงวิทยกรรมประสาน) มาเป็นครูใหญ่ ซึ่งต่อมาเห็นว่าสถานที่วัดศรีมงคลคับแคบ จึงได้ขอย้ายไปสถานที่ใหม่ นั่นก็คือบริเวณที่ว่าการอำเภอหลังเก่าริมคลองคูเมืองซึ่งเป็นป่าช้าฝังศพนักโทษ โดยได้ย้ายนักเรียนกลุ่มแรกมาทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2456 และได้ใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของโรงรียนมาจนกระทั่งปัจจุบัน
ต่อมาคณะครูได้ขอความร่วมมือกับสมุหเทศาภิบาล มหาอำมาตย์ตรีหม่อมเจ้าธำรงศิริ ให้ช่วยบอกบุญแก่ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ผู้ปกครอง นักเรียน ร่วมบริจาคทุนทรัพย์เพื่อทำการปลูกสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ทดแทนหลังเดิมที่เป็นที่ว่าการอำเภอหลังเก่า แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 โดยมีนายแม้น โปราณานนท์ เป็นครูใหญ่ และเมื่อเมืองร้อยเอ็ดได้ถูกเปลี่ยนเป็นมณฑลร้อยเอ็ด โรงเรียนวัดศรีมงคลจึงได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำมณฑลด้วย
พ.ศ. 2457 มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยและทำพิธีเปิดป้ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 โดยมีพระครูเอกุตรสตาธิคุณ เจ้าคณะเมืองร้อยเอ็ดเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ มหาอำมาตย์ตรีหม่อมเจ้าธำรงศิริ สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฆลร้อยเอ็ด เป็นประธาน
พ.ศ. 2481 นายรอบ ปัทมศิริ เป็นครูใหญ่ ได้ริเริ่มกำหนดสีประจำโรงเรียน และเครื่องหมายโรงเรียนเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2523 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2529 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานเป็นครั้งที่สอง
25 มิถุนายน พ.ศ. 2531 พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโยและศิษยานุศิษย์ ได้บริจาคพระพุทธรูปนามว่า พระพุทธเอกุตระสตาธิมงคลมหามุนี เป็นพระพุทธรูปโลหะรมดำ สูง 7.66 เมตร เพื่อมอบให้เป็นพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา ประดิษฐาน ณ บริเวณด้านหน้าอาคาร 1
พ.ศ. 2539 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ เป็นครั้งที่สาม
พ.ศ. 2547 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้เปิดสอนโครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) ในระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย
พ.ศ. 2551 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเดินทางมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคาร 6
พ.ศ. 2552 เปิดห้องเรียนภาษาจีน โดยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เป็นประธานในพิธี 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้มีพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ ณ พระพุทธเอกุตระสตาธิมงคลมหามุนี พระพุทธรูปประจำสถานศึกษา
12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้มีพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ ณ พระพุทธเอกุตระสตาธิมงคลมหามุนี พระพุทธรูปประจำสถานศึกษา
พ.ศ. 2552 เปิดใช้อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โดยเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่อาคารสีเขียว แสด อันเป็นสีประจำโรงเรียน ภายในตัวอาคารประกอบด้วย ห้องสมุดที่ทันสมัย ห้องลีลาศ ห้องทูบีนัมเบอร์วัน และห้องเรียนที่ทันสมัย
พ.ศ. 2553 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ เป็นครั้งที่ 4 และจัดงานเฉลิมฉลอง 100 ปี ร้อยเอ็ดวิทยาลัย ในวันที่ 30 ธันวาคม และได้เปิดสอนนักเรียนภาคภาษาอังกฤษ (English Programme)
พ.ศ. 2555 มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทุกๆ ด้านภายในโรงเรียนเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ( ASEAN Community ) และมาตรฐาน ( World – Class Standard School )
พ.ศ. 2556 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้เปิดสอนนักเรียนความสามารถพิเศษ ภาษาศาสตร์ (ไทย – สังคมฯ) ในระดับชั้น ม.ปลาย[3]
พื้นที่และอาคารเรียน
แก้โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน ถาวร 6 หลัง และอาคารประกอบอื่นๆ อีก เช่น หอประชุม โรงอาหาร โรงพลศึกษา โรงฝึกงาน อาคารศูนย์ปฏิบัติธรรม[1]
หลักสูตร และแผนการเรียน
แก้หลักสูตรที่มีการเรียนเรียนการสอนภายในโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ตามประเภทห้องเรียนได้แก่ หลักสูตรปกติ และหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
แก้หลักสูตรปกติตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นรูปแบบเดียวกันทุกห้อง ไม่มีการแบ่งสายการเรียน[9]
ส่วนหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) และโครงการห้องเรียนหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ หรือ English Program[10]
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
แก้หลักสูตรปกติ จะมีการแบ่งสายการเรียนออกเป็นห้องเรียนที่เน้นสาขาวิชาต่าง ๆ ได้แก่ สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-วิศวะ, วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์, ภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน และภาษาไทย-สังคม[9]
ส่วนหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE) เป็นหลักสูตรในโครงการในความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.), โครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) และโครงการส่งเสริมพัฒนานักเรียนความสามารถพิเศษภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์[10]
การรับสมัคร
แก้[a]โดยทั่วไปโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยจะทำการเปิดรับสมัครนักเรียนผ่านการสอบคัดเลือก ซึ่งจะดำเนินกาในช่วงประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายนของทุกปี เช่นเดียวกับโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการแห่งอื่น ๆ โดยปกติจะรับสมัครและดำเนินการคัดเลือกหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษก่อน จึงจะดำเนินการในส่วนหลักสูตรห้องเรียนปกติ
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1
แก้สำหรับการรับสมัครนักเรียนหลักสูตรปกติ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รับเฉพาะนักเรียนชายจำนวน 240 คนโดยประมาณ แบ่งเป็นการรับนักเรียนจากในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (ประกอบด้วยเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ตำบลรอบเมือง ตำบลโนนรัง ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน)[11] สัดส่วน 60% และจากนอกเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย สัดส่วน 40% ซึ่งต้องผ่านการสอบคัดเลือกทั้งหมด[9]
หลักสูตรโครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) รับทั้งนักเรียนชายและหญิงจำนวน 144 คนโดยประมาณ ส่วนหลักสูตรโครงการห้องเรียนภาคอังกฤษ หรือ English Programme รับทั้งนักเรียนชายและหญิงจำนวน 60 คนโดยประมาณ ทั้งสองโครงการต้องผ่านการสอบคัดเลือก ไม่มีการกำหนดเขตพื้นที่รับสมัคร[10]
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4
แก้การรับสมัครนักเรียนศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะรับทั้งเพศชายและเพศหญิง และไม่มีการกำหนดเขตพื้นที่สมัครทุกหลักสูตร
สำหรับหลักสูตรปกติ จะให้สิทธิ์นักเรียนเก่าที่มีคุณสมบัติ และผ่านการพิจารณา สามารถผ่านขึ้นมาเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้โดยไม่ต้องไปสอบคัดเลือกใหม่[12] ส่วนที่นั่งที่เหลือ (ประมาณปีละ 150-200 ที่นั่ง) จะคัดเลือกผ่านการสอบ โดยรับทั้งนักเรียนใหม่และนักเรียนเก่า[9]
ส่วนหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษจะต้องดำเนินการสอบคัดเลือกใหม่ทั้งหมดทั้งนักเรียนเก่าและนักเรียนใหม่ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE) รับจำนวน 30 คน, โครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) รับจำนวน 144 คน และโครงการส่งเสริมพัฒนานักเรียนความสามารถพิเศษภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ รับจำนวน 72 คน[10]
รายนามผู้บริหาร
แก้คลิกที่คำว่า "ขยาย" เพื่อแสดงตาราง คลิกที่คำว่า "ยุบ" เพื่อซ่อนตาราง | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่ง |
1 | ราชบุรุษจันทร์ อุตมพรหม | พ.ศ. 2453 | พ.ศ. 2454 | ครูใหญ่ |
2 | ร.ต.ต.หลวงวิทยากรรมประสาร (แม้น โปรานานนท์) | พ.ศ. 2454 | พ.ศ. 2458 | ครูใหญ่ |
3 | นายอยู่ สิทธิไชย | พ.ศ. 2458 | พ.ศ. 2460 | ครูใหญ่ |
4 | ร.อ.ต.อักษรสุทธิ (เอื้อม สินะกนิษฐ์) | พ.ศ. 2460 | พ.ศ. 2464 | ครูใหญ่ |
5 | ร.อ.ต.ขุนศาสตร์สุนทร (อุ่น เกิดเมืองบัว) | พ.ศ. 2464 | พ.ศ. 2466 | ครูใหญ่ |
6 | ร.อ.ต.ขุนประสาทวิทยกิจ (วินิจ รัตนประทีป) | พ.ศ. 2466 | พ.ศ. 2468 | ครูใหญ่ |
7 | ร.อ.ต.เซ่งฮั้ว ปาณทุรังคานนท์ | พ.ศ. 2468 | พ.ศ. 2469 | ครูใหญ่ |
8 | ร.อ.ต.ขุนบำนาญกรวัจน์ (วงศ์ ก.ร.มิกานนท์) | พ.ศ. 2469 | พ.ศ. 2475 | ครูใหญ่ |
9 | นายสัมฤทธิ์ ขุนเมือง | พ.ศ. 2475 | พ.ศ. 2480 | ครูใหญ่ |
10 | นายรอบ ปัทมศิริ | พ.ศ. 2480 | พ.ศ. 2485 | ครูใหญ่ |
11 | นายสนอง สุขสนาน | พ.ศ. 2485 | พ.ศ. 2486 | ครูใหญ่ |
12 | นายอรรถ สวรรยาธิปัตย์ | พ.ศ. 2486 | พ.ศ. 2496 | ครูใหญ่ |
13 | นายสำเภา วงศ์อิน | พ.ศ. 2496 | พ.ศ. 2500 | ครูใหญ่ |
14 | นายเชื่อม เจริญการ | พ.ศ. 2500 | พ.ศ. 2503 | ครูใหญ่ |
15 | นายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์ | พ.ศ. 2503 | พ.ศ. 2506 | อาจารย์ใหญ่ |
16 | นายบัญชา ตั้งใจ | พ.ศ. 2506 | พ.ศ. 2510 | อาจารย์ใหญ่ |
17 | นายจงกล เมธาจารย์ | พ.ศ. 2510 | พ.ศ. 2512 | อาจารย์ใหญ่ |
18 | นายภิรมย์ บุษยกุล | พ.ศ. 2512 | พ.ศ. 2515 | อาจารย์ใหญ่ |
19 | นายกมล ธิโสภา | พ.ศ. 2515 | พ.ศ. 2519 | อาจารย์ใหญ่ |
20 | นายมาโนช ปานโต | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2524 | ผู้อำนวยการ |
21 | นายผดุง มูลศรีแก้ว | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2530 | ผู้อำนวยการ |
22 | นายกิตติ นรัฐกิจ | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2533 | ผู้อำนวยการ |
23 | นายสง่า เชยประเสริฐ | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2535 | ผู้อำนวยการ |
24 | นายวินัย เสาหิน | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2536 | ผู้อำนวยการ |
25 | นายคำพันธุ์ คงนิล | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2541 | ผู้อำนวยการ |
26 | นายปรีชา คำภักดี | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2547 | ผู้อำนวยการ |
27 | นายชาตรี ชาปะวัง | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2554 | ผู้อำนวยการ |
28 | ดร.ปรีดา ลำมะนา | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2559 | ผู้อำนวยการ |
29 | นายชอบ ธาระมนต์ | พ.ศ. 2559 | พ.ศ. 2563 | ผู้อำนวยการ |
30 | นายศิริ ธนะมูล | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2565 | ผู้อำนวยการ |
31 | นายบุญภพ จันทมัตตุการ | พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
แหล่งที่มา: คู่มือนักเรียนโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย[13]
ศิษย์เก่าเกียรติยศ
แก้- นายถวิล อุดล เสรีไทย, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด, รัฐมนตรีว่าการ, สมาชิกวุฒิสภา
- นายจำลอง ดาวเรือง เสรีไทย, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม, รัฐมนตรีช่วยว่าการ
- พลเอกเสริม อายุวัฒน์ ราชองครักษ์, ผู้ช่วยทูตทหารบก, ตุลาการทหารสูงสุด, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สมาชิกวุฒิสภา
- ศ.ดร.ก่อ สวัสดิพานิช อาจารย์โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย, อธิบดีกรมสามัญศึกษา, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 6 สมัย
- พลเรือตรีเดชา เอกก้านตรง ต้นเรือหลวงสมุย, ต้นเรือหลวงทองหลวง, ต้นเรือหลวงเภตรา, ผู้บัญชาการโรงเรียนช่างฝีมือทหาร
- ดร.ชวน ศิริกิจ กงสุลใหญ่, อัครราชทูต, เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
- นายสิงห์ กลางวิสัย อธิบดีกรมการค้าภายใน
- ศ.ดร.บุญชนะ อัตถากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ, เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ, รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พันเอก (พิเศษ) อุดม ทวีวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด, สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครอง, สมาชิกสภานิติบัญญัติ, สมาชิกวุฒิสภา, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กรรมการ ปปป., ประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย
- ศ.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล, อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อธิการบดีวิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก
- ดร.เชาวน์ สายเชื้อ เอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ, ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
- นายสุนทร ศรีนิลทา ผู้อำนวยการกองบริการเครื่องจักรกล กรมอาชีวศึกษา
- นายสว่าง ศรีนิลทา อธิบดีกรมการขนส่งทางบก, รองปลัดกระทรวงคมนาคม
- นายธีระ รัตนจันทร์ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู, ประธานคณะกรรมการขั้นพื้นฐานโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
- พลตรีสำเริง ไชยยงค์ นายทหารราชองครักษ์, กรมวังใหญ่ประจำที่ประทับ
- พลอากาศเอกเกษม ทวีวัฒน์ สมาชิกวุฒิสภา, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตื, หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการผู้บัญชาการทหารอากาศ
- นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมหลายแห่ง, ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษา, รองอธิบดีกรมสามัญศึกษา, ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, อธิบดีกรมสามัญศึกษา
- พลตำรวจเอกวิรุฬห์ พื้นแสน ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ, สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย, นายตำรวจราชสำนักพิเศษ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 4
- นายอนุรักษ์ จุรีมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 5 สมัย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์/กระทรวงพลังงาน
- นายสุวิช สุทธิประภา ผู้ดำเนินรายการ "คุยโขมงข่าวเช้า และ คุยโขมงบ่าย 3 โมง" ทางช่อง โมเดิร์นไนน์
- นายเอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ (เพียว) นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย (KPN award) คนที่ 27 ได้รับถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเงินรางวัล 1 ล้านบาท,รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เดอะวอยซ์ ออล สตาร์ส ไทยแลนด์ เงินรางวัล 5 แสนบาท
- นายขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด เป็นนักร้องลูกทุ่งชื่อดังในอดีต โดยเป็นเจ้าของเพลงดังทั่วฟ้าเมืองไทยอย่าง "จดหมายเป็นหมัน" ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2565
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022). "แผนผังโรงเรียน". www.rw.ac.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022). "ข้อมูลทั่วไป". www.rw.ac.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022) [2013]. "ประวัติโรงเรียน". www.rw.ac.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย". data.bopp-obec.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-28.
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (25 มิถุนายน 2021). "ข้อมูลนักเรียน โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย". data.bopp-obec.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-28.
- ↑ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022). "เพลงสถาบัน". www.rw.ac.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022). "หน้าหลัก". www.rw.ac.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ค่ายโอลิมปิกวิชาการ มข. "รายละเอียดโครงการ". olympiad.kku.ac.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. ประกาศโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เรื่อง ประกาศรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2563 ประเภทห้องเรียนปกติ.ลงวันที่ 29 เมษายน 2563.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. ประกาศโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เรื่อง การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ม.1 และ ม.4 ประเภทห้องเรียนพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2564.ลงวันที่ 3 มีนาคม 2564
- ↑ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (7 มกราคม 2019). "ประกาศโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่บริการ ปีการศึกษา 2562". Facebook.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. ประกาศโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เรื่อง รายชื่อนักเรียนที่ได้รับการพิจารณาใช้สิทธิ์เรียนต่อ ม.4 ปีการศึกษา 2564 (ห้องเรียนปกติ) เพิ่มเติม. ลงวันที่ 28 มกราคม 2565
- ↑ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. (2564). คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2564.