วิรุฬห์ พื้นแสน

พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน (15 เมษายน พ.ศ. 2480) อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[1]และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย

พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2480 (87 ปี)
อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสเบญจา พื้นแสน

ประวัติ

แก้

วิรุฬห์ พื้นแสน เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2480 ที่บ้านเลขที่ 11 หมู่ 4 บ้านท่าสะพาน ตำบลกุดน้ำใส อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรคนที่ 2 จากทั้งหมด 12 คน ของนายสุทธิ และนางตา พื้นแสน (อาชีพครูประชาบาลในโรงเรียนประจำตำบลกุดน้ำใส) จบการศึกษาจากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย และระดับปริญญาตรี ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 12

วิรุฬห์ พื้นแสน สมรสกับนางเบญจา พื้นแสน (สกุลเดิม รัชตวัฒน์) มีบุตร 2 คน คือ นาวาอากาศตรี จิรัฐติ์ พื้นแสน และนายณัฐพงศ์ พื้นแสน[2]

การทำงาน

แก้

วิรุฬห์ พื้นแสน เข้ารับราชการตำรวจจนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงราย[3] ในระหว่างปี พ.ศ. 2543 - 2549[2]

ต่อจากนั้นจึงได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน ในปี พ.ศ. 2550[4] ต่อมาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ พ.ศ. 2554 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 28[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
  2. 2.0 2.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.ท.วิรุฬห์ พื้นแสน[ลิงก์เสีย]
  3. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงราย (นางเตือนใจ ดีเทศน์ พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  4. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-05. สืบค้นเมื่อ 2011-07-12.
  5. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๑๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๓๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๖, ๒ เมษายน ๒๕๑๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๐๔, ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๕ มกราคม ๒๕๑๘