สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ย่อว่า สกอ.; อังกฤษ: Office of the Higher Education Commission, OHEC) เป็นหนึ่งในห้าองค์กรหลัก และอดีตหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ทำหน้าที่ในการดูแลและรับผิดชอบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งอยู่ 328 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
Office of the Higher Education Commission | |
![]() | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 9 กันยายน 2515 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
ยุบเลิก | 2 พฤษภาคม 2562 (5 ปี) |
หน่วยงานสืบทอด | |
สำนักงานใหญ่ | 328 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
งบประมาณต่อปี | 6,915.3777 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงศึกษาธิการ |
เว็บไซต์ | www |
ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562[2] และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562[3] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ยุติบทบาทลง โดยได้ถ่ายโอนหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป[4]
ประวัติ
แก้การอุดมศึกษาของไทย เริ่มต้นขึ้นภายหลังการปฏิรูประบบราชการ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ริเริ่มโรงเรียนสำหรับพัฒนาข้าราชการ อาทิ โรงเรียนราชแพทยาลัย, โรงเรียนกฎหมาย และ โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน เพื่อผลิตบุคลากรที่เป็นคนไทยเข้าสู่ระบบราชการสมัยใหม่
ครั้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การขยายตัวทางการศึกษาของสยาม เริ่มมีความต้องการมากขึ้น และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระองค์ประดิษฐาน โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในปี 2459 พร้อมๆ กับการตั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องคือ กรมมหาวิทยาลัย ขึ้นในกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2460 (ตามปฏิทินเดิม)[5] โดยโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร (พระอิสริยยศในเวลานั้น) รับตำแหน่งเสด็จอธิบดีพระองค์แรก
ในเวลาต่อมา ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาการศึกษา อันเป็นหลักใหญ่ในการพัฒนาประเทศไปสู่ประชาธิปไตย จึงได้มีการแยกแผนกวิชาที่อยู่ภายใต้สังกัดจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยและยกฐานะโรงเรียนวิชาชีพต่างๆ ออกมาตั้งเป็นมหาวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2486 โดยแต่ละมหาวิทยาลัย ต่างมีสถานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยศิลปากร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข
กระทั่งในปี 2499 รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้จัดตั้ง สภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ขึ้น โดยมีหน้าที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัยในประเทศ โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี[6] กระทั่งปี 2502 ภายใต้รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้จัดตั้งหน่วยงานหนึ่งคือ สภาการศึกษาแห่งชาติ และตราพระราชบัญญัติโอนมหาวิทยาลัยของรัฐในขณะนั้น ไปสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี รวมถึงเป็นการสิ้นสุดบทบาทของกรมมหาวิทยาลัยในปีดังกล่าวด้วย[7][8]
ในปี 2507 ได้มีการขยายโอกาสการศึกษาไปสู่ภูมิภาคอื่น โดยเป็นหน้าที่ของ สภาการศึกษาแห่งชาติ ก่อนจะโอนย้ายและตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาคแห่งแรกของประเทศ และต่อเนื่องในปี 2509 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) และ 2511 (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และในช่วงเวลาเดียวกันได้จัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษา โดยตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี 2509
ปี 2514 สภาการศึกษาแห่งชาติ ได้มีการประชุมร่วมกับ ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย เสนอกับรัฐบาลในการที่มหาวิทยาลัยจะมีอิสระในการบริหารงาน และเสรีภาพในทางวิชาการ จึงควรแยกมหาวิทยาลัยให้เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาล หรือตั้งทบวงอิสระในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้ทีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดในครั้งนั้น กระทั่งในปี 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้ง ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ มีสถานะเป็น ทบวง ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งรัฐมนตรีคนแรก คือ บุญรอด บิณฑสันต์
ปี 2517 ยกระดับวิทยาลัยวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และ รวม 3 วิทยาลัย เป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และอีก 3 ปีต่อได้ยกระดับ วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร" และย้ายสังกัดจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยแทน
โดยในปี 2520 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็น ทบวงมหาวิทยาลัย (อักษรย่อ:ทม) และยกฐานะเป็นทบวงอิสระ ไม่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ทบวงมหาวิทยาลัย มีสถานะเป็นส่วนราชการระดับเทียบเท่ากระทรวงถึง 31 ปี จึงมีประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ทำให้ ทบวงมหาวิทยาลัย เปลี่ยนเป็น "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา" มีสถานะเป็นหน่วยงานเทียบเท่า กรม ในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ[9]
กระทั่งในปี 2562 ได้มีการจัดตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 โดยโอนย้ายหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม เป็นต้นไป[10] และโอนภาระหน้าที่และงบประมาณ ของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[11]
สัญลักษณ์ประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
แก้เครื่องหมายราชการ
แก้สืบเนื่องมาจากทบวงมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ "พระวชิระ" เป็นตราประจำทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนเป็น "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา" จึงได้อัญเชิญ "พระวชิระ" มาเป็นตราประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสืบเนื่องมา
สีประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
แก้สีประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้แก่ สีม่วง-น้ำเงิน โดย
- สีม่วง เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สีน้ำเงิน เป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์
หน้าที่ ความรับผิดชอบ
แก้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาและจัดทำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติและพันธสัญญาที่เป็นไปตามข้อเสนอตกลงระหว่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์ หลักเกณฑ์ และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากร จัดตั้ง จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชนตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด ตลอดจนเสนอแนะการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีหน้าที่ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ในระบบอุดมศึกษา และการประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบและดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษา และการรวบรวมข้อมูล จัดทำสารสนเทศด้านการอุดมศึกษา และดำเนินงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- สำนักอำนวยการ (สอ.)
- สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา (สนผ.)
- สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา (สสอ.)
- สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา (สมอ.)
- สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ (สยต.)
- สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุดมศึกษา (สพน.)
- สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (สพบ.)
- สำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา (สตป.)*
- สำนักนิติการ (สนก.)*
*หน่วยงานภายในที่จัดตั้งขึ้นใหม่
รายนามเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
แก้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | |
รายนามเลขาธิการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก วรเดช จันทรศร | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 19 เมษายน พ.ศ. 2547 |
2. นางพรนิภา ลิมปพยอม | 20 เมษายน พ.ศ. 2547 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (รักษาการ) |
3. ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ภาวิช ทองโรจน์ | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (รักษาการ) |
2 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
4. นางสาวจิรณี ตันติรัตนวงศ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (รักษาการ) |
5. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – 14 มกราคม พ.ศ. 2550 (รักษาการ) |
15 มกราคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
6. ดร.สุเมธ แย้มนุ่น | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555 |
7. นายอภิชาติ จีระวุฒิ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556 |
8. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557[12] |
9. รองศาสตราจารย์ นพ.กำจร ตติยกวี | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 17 เมษายน พ.ศ. 2558[13] |
10. รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล | 17 เมษายน พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 |
11. นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 |
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561[14] | |
13. ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช | 12 เมษายน พ.ศ. 2562[15] - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ เก็บถาวร 2019-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 136, ตอนที่ 47 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ , เล่ม 136, ตอนที่ 57 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 79
- ↑ "ทรงลงพระปรมาภิไธยตั้งกระทรวงอุดม โครงสร้างใหม่มีผลบังคับใช้ 2 พ.ค." ไทยรัฐ: 1. 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง ตั้งกรมมหาวิทยาลัย เล่ม 34 หน้า 22 วันที่ 15 เมษายน 2460
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2499 เล่ม 73 ตอนที่ 11 วันที่ 31 มกราคม 2499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2502 ฉบับพิเศษ เล่ม 76 ตอนที่ 85 วันที่ 2 กันยายน 2502
- ↑ 85 ก 76 (9), พระราชบัญญัติโอนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๐๒, 2 กันยายน พ.ศ. 2502 (in ไทย). สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2560.
- ↑ "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-06-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ เก็บถาวร 2019-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 136, ตอนที่ 47 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ , เล่ม 136, ตอนที่ 57 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 79
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๙/๒๕๕๗ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง หน้า ๑๔ วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๕๘ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๘๗ ง หน้า ๑ วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘
- ↑ 11 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ เล่ม 135 ตอนพิเศษ 334 ง หน้า 16 วันที่ 28 ธันวาคม 2561
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ เล่ม 136 ตอนพิเศษ 95 ง หน้า 6 วันที่ 17 เมษายน 2562
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน