เบญจา หลุยเจริญ
เบญจา หลุยเจริญ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อดีตอธิบดีกรมศุลกากร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร
เบญจา หลุยเจริญ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน 2556 – 22 พฤษภาคม 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย |
ถัดไป | วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 เมษายน พ.ศ. 2496 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ |
ประวัติ
แก้เบญจา หลุยเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2496 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 13 จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลักสูตรปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.4616)
การทำงาน
แก้เบญจา หลุยเจริญ เข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร ในปี พ.ศ. 2546 เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2548 เป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2551 เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปี พ.ศ. 2554 และตำแหน่งสุดท้ายคือ อธิบดีกรมศุลกากร ก่อนจะลาออกจากราชการเพื่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเธอเหลือระยะเวลาในการรับราชการอีกเพียง 3 เดือนเท่านั้น
คดีความ
แก้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ พิพากษาให้เธอมีความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้จำคุก 3 ปี จากกรณีนายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2549 ส่งผลให้ราชการเสียหาย ต่อมาเธอได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นหนังสือรับรองเพื่อรับการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ต้องหาคดีของกรมสรรพากร มีวงเงินไม่เกิน 4.2 แสนบาท[2]
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดอ่านฏีกา คดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง โดยที่ศาลฏีกาเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1-4 (นางเบญจา หลุยเจริญ จำเลยที่ 1) ในการตอบข้อหารือประเมินภาษี การซื้อขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับจำเลยที่ 5 รับทราบนั้น แอบแฝงเจตนาที่จะช่วยให้ นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ไม่ต้องแจ้งรายได้ที่เป็นส่วนต่างการซื้อขายหุ้นที่ราคาต่ำกว่าทุน ซึ่งแนวการตอบข้อหารือนั้นไม่ตรงกับข้อหารือที่กรมสรรพากรเคยวินิจฉัยไว้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ส่วนที่จำเลยขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอลงอาญา เห็นว่าควรลดโทษให้ 1 ใน 3 พิพากษาแก้ให้จำคุกจำเลยที่ 1-4 สองปี[3]
นางเบญจา หลุยเจริญ ถูกส่งตัวเข้าทัณฑสถานหญิง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ คุก 3 ปี"เบญจา-3ขรก.สรรพากร"ช่วย"ลูกทักษิณ"เลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ
- ↑ [1]
- ↑ ส่งตัวฝากขัง "เบญจา หลุยเจริญ" และพวก นอนคุก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๐๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕