บุญชู โรจนเสถียร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นายบุญชู โรจนเสถียร (20 มกราคม พ.ศ. 2464 — 19 มีนาคม พ.ศ. 2550) อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ได้รับการยกย่องให้เป็น "ซาร์เศรษฐกิจ"[1]
บุญชู โรจนเสถียร | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
เลขาธิการพรรคกิจสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตําแหน่ง |
ถัดไป | มนตรี พงษ์พานิช (รักษาการ) เกษม ศิริสัมพันธ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ถัดไป | เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
หัวหน้าพรรคพลังธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 เมษายน พ.ศ.2536 – 17 กันยายน 2537 | |
ก่อนหน้า | จำลอง ศรีเมือง |
ถัดไป | ทักษิณ ชินวัตร |
หัวหน้าพรรคเอกภาพ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | ณรงค์ วงศ์วรรณ |
ถัดไป | อุทัย พิมพ์ใจชน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มกราคม พ.ศ. 2464 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี |
เสียชีวิต | 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 (86 ปี) โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | กิจสังคม (2517—2525) กิจประชาคม (2525—2532) เอกภาพ (2532—2535) พลังธรรม (2535—2538) ประชาธิปัตย์ (2538—2550) |
คู่สมรส | เรณู โรจนเสถียร |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้นายบุญชู โรจนเสถียรเกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2464 ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรของนายสันต์กับนางละมัย โรจนเสถียร ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนไหหลำ จบการศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูง วิชาบัญชี เทียบเท่าปริญญาโทจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนจะมาอยู่ธนาคารกรุงเทพจนมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่
ด้านครอบครัวสมรสกับนางเรณู โรจนเสถียร
การเมือง
แก้เข้าสู่วงการการเมืองโดยร่วมก่อตั้ง พรรคกิจสังคม ร่วมกับ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ใน พ.ศ. 2517 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนแรก ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2518 และมีชื่อเสียงจากนโยบาย "เงินผัน" เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2518[3] และในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[4] และลาออกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2524[5]
หลังจากนั้นนายบุญชู จึงได้ร่วมกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ก่อตั้ง พรรคกิจประชาคม และเป็นฝ่ายค้านในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หลังจากนั้นได้นำพรรคกิจประชาคม ยุบรวมกับพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ตั้งเป็นพรรคเอกภาพ และเข้าร่วมในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ภายหลังนายบุญชูได้เข้าเป็นสมาชิก ลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคพลังธรรม และ พรรคประชาธิปัตย์ ตามลำดับ
ในปี พ.ศ. 2526 นายบุญชูเคยเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ไทยเรื่อง ผู้แทนนอกสภา (2526) ร่วมกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี
บ้านพักของนายบุญชู มีต้นอากาเว่ ต้นใหญ่ และงดงามมาก ในช่วงนั้นนายบุญชูจึงมีฉายาว่า "ชู อากาเว่"[6]
บุญชู เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้บุญชู ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 8 สมัย ได้แก่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจประชาคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจประชาคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคพลังธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
การวางมือทางการเมือง
แก้หลังจาก รัฐบาลชวน 2 นายบุญชูได้ประกาศวางมือทางการเมือง หลังจากเป็น ส.ส. ถึง 8 สมัย หลังเลิกเล่นการเมือง บุญชูได้หันไปทำกิจการสปา เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในชื่อ ชีวาศรม รีสอร์ต แอนด์ เฮลท์สปา ซึ่งมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ
นายบุญชูเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 ด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือด รวมอายุได้ 86 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ""บุญชู โรจนเสถียร" เสียชีวิตปิดตำนานซาร์เศรษฐกิจ มอบร่างให้รพ.รามาฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2011-05-21.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไชต์ thaiscouts
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ตัวอย่างภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา (2526) เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | บุญชู โรจนเสถียร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ (สมัยแรก) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.36) (14 มีนาคม พ.ศ. 2518 - 12 มกราคม พ.ศ. 2519) |
เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ (สมัยที่ 2) |