ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (24 สิงหาคม พ.ศ. 2496 — ) ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์[1]กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา[2] กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[3] ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[4] กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล[5] กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสมาคมผู้ประกอบการระบบรักษาความปลอดภัยไทย[6] กรรมการอิสระและกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์[7]เขาดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559[8] อดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ[9] และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 75/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และได้รับการแต่งตั้งจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559 กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[10]

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
เกิด24 สิงหาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
สัญชาติไทย ไทย
อาชีพนักธุรกิจ

ประวัติ แก้

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล หรือที่รู้จักกันในนามของ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล เกิดเมื่อวัน 24 สิงหาคม พ.ศ. 2496 ที่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากวิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน และปริญญาเอกด้านการสื่อสารดิจิทัล จากที่เดียวกัน[11]

การรับราชการ แก้

เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประมาณ ปี 2526 ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาบริหารอุตสาหการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควบกับการดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2537 ได้เข้ารับตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดูแลในส่วนงานพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2539 จนครบวาระ 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2547 และได้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในช่วงต่อมาจนถึง พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ให้ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป โดยได้รับการต่อวาระในปี พ.ศ. 2556 ดร.ทวีศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ผลงาน แก้

นอกเหนือไปจากภารกิจช่วงที่สำคัญต่อชีวิต ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นเวลา 8 ปี แล้ว กล่าวได้ว่า ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล มีผลงานหลักในกลุ่มของการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาระบบภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ การพัฒนาและผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม[12]ต่างๆ ที่ต้องใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการริเริ่มสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยร่วมกับบุคคลสำคัญอีกหลายท่าน [13] โดยเริ่มจากการก่อตั้งเครือข่ายไทยสาร โครงการสคูลเน็ต (School Net) เครือข่ายกาญจนาภิเษก เครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ หรือ GINET (Government Information Network) และการมีส่วนร่วมในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มผลงานที่สาม คือเรื่องการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย โดย ดร.ทวีศักดิ์ ได้มีบทบาทสำคัญในการยกร่างกฎหมายต่างๆร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของประเทศหลายๆท่าน เช่น ศาสตราจารย์คนึง ฤๅไชย ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร และเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นรองประธานกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งออกมาเป็น พรบ.ในปี 2550 รวมถึงการเป็นคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกของประเทศสองวาระ ในช่วงที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) งานสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. 2000 การยกร่างและผลักดันนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ หรือ IT 2010[14] การทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549)[15] การผลักดันกฎหมายไอซีที ที่สำคัญต่อประเทศหลายฉบับ และการทำงานร่วมกับ สำนักงาน ก.พ. เพื่อก่อตั้ง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดร.ทวีศักดิ์ เข้าร่วมทำงานกับกรรมการระดับชาติและของหน่วยงานต่างๆไม่ต่ำกว่า 100 คณะ ดร.ทวีศักดิ์มีผลงานเขียน และคำบรรยายในที่ต่างๆ ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศจำนวนมาก เป็นบทความมากกว่า 150 เรื่อง และปรากฏในหนังสือต่างๆไม่น้อยกว่า 30 เล่ม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิก
  2. กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
  3. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
  4. กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  5. กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  6. "ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสมาคมผู้ประกอบการระบบรักษาความปลอดภัยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  7. "ประวัติคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-11. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  8. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  9. ทวีศักดิ์นั่งเก้าอี้ผอ.เนคเทค
  10. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  11. จากไพรัชถึงทวีศักดิ์[ลิงก์เสีย] ผู้จัดการ
  12. รวมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย NECTEC
  13. ประวัติของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เก็บถาวร 2009-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Network Start-up Resource Center, Oregon, USA
  14. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ[ลิงก์เสีย] NECTEC
  15. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549)[ลิงก์เสีย] NECTEC
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๙๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้