อรรคพล สรสุชาติ
นายอรรคพล สรสุชาติ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (2 สมัย)
นายอรรคพล สรสุชาติ | |
---|---|
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ถัดไป | สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | วราเทพ รัตนากร |
ถัดไป | ยงยุทธ ติยะไพรัช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2502 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา |
คู่สมรส | สมิตา สรสุชาติ |
ประวัติ
แก้นายอรรคพล สรสุชาติ มีชื่อเล่นว่า "โป" เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2502[1] ที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร(จังหวัดพระนครในขณะนั้น)เป็นบุตรของนายอาคม สรสุชาติ กับนางพยุรี สรสุชาติ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จากวิทยาลัยเวิร์คซอฟ ประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาโท สาขาการเมืองระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทติ้งแฮม และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นยังเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ (ระบบทางไกล) จากมหาวิทยาลัยรังสิต[2] ด้านชีวิตส่วนตัว ได้สมรสกับ สมิตา สรสุชาติ อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน มีบุตรสองคน คือ พลายพล และแพรวตา สรสุชาติ
การทำงาน
แก้นายอรรคพร สรสุชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งแรกในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 เคยดำรงตำแหน่ง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย 2 สมัย โดยสมัยแรกได้ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[3] และในปี พ.ศ. 2540[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์[5] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคมหาชน และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รองหัวหน้าพรรค และผู้อำนวยการเลือกตั้ง ภาค กทม.ของพรรคด้วย[6] และปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์) [7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ ทำเนียบรุ่นที่ 1 : นิติศาสตรบัณฑิต ระบบการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนมหาวิทยาลัยรังสิต
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔๕/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖๕/๒๕๔๐ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ ""หมอเปรม"รุกหนัก-ฝันนั่งเก้าอี้รองประธานสภาฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-06-21.
- ↑ แต่งตั้งข้าราชการการเมือง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
ก่อนหน้า | อรรคพล สรสุชาติ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สมัยแรก) (16 ธันวาคม พ.ศ. 2537 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) |
สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล | ||
วราเทพ รัตนากร | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สมัยที่สอง) (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544) |
ยงยุทธ ติยะไพรัช |