อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

อำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย

พยัคฆภูมิพิสัย [พะ-ยัก-คะ-พูม-พิ-ไส][1] เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม สัญลักษณ์ของอำเภอคือ เสือ ซึ่งมาจากชื่ออำเภอที่นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า "อำเภอพยัคฆ์" มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของจังหวัด

อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phayakkhaphum Phisai
คำขวัญ: 
ข้าวหอมมะลิเลื่องชื่อ ฝีมือทอผ้าไหม
ศิลปาชีพน้ำพระทัย ทุ่งกุลาร้องไห้งามตา
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
พิกัด: 15°30′59″N 103°11′37″E / 15.51639°N 103.19361°E / 15.51639; 103.19361
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด409.783 ตร.กม. (158.218 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด87,589 คน
 • ความหนาแน่น213.75 คน/ตร.กม. (553.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44110
รหัสภูมิศาสตร์4408
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย หมู่ที่ 1 ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อาณาเขตและที่ตั้ง

แก้

อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดของจังหวัด มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอเมืองมหาสารคาม 85 กิโลเมตร ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 415 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยเดิมมีฐานะเป็น เมืองพยัคฆภูมิพิสัย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2422 โดยพระศรีสุวรรณวงษา (ท้าวเทศ) เจ้าเมืองคนแรก เป็นเมืองขึ้น เมืองสุวรรณภูมิ นำไพร่พลช้าง ม้า เสบียง อาหาร และยุทธปัจจัยไปตั้งที่ทำการเมืองครั้งแรกที่บ้านนาข่า เขตตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุมในปัจจุบัน ( เดิม เป็นแนวเขตเมืองสุวรรณภูมิ และเมืองร้อยเอ็ด ที่มีการปักปันกัน ในปี พ.ศ. 2318 ) ครั้นกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์มณฑลลาวกาว (อุบลราชธานี) ทรงออกตรวจราชการที่เมืองวาปีปทุม ได้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าเมืองวาปีปทุมว่า เมืองสุวรรณภูมิ ได้ทำการรุกล้ำเขตพื้นที่เมืองวาปีประทุม โดยการตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ที่มี พระศรีสุวรรณวงษา เป็นเจ้าเมืองนั้นได้เข้าไปตั้งที่ทำการเมืองในเขตท้องที่ตน เมื่อสอบสวนแล้วเป็นความจริงจึงรับสั่งให้ย้ายที่ทำการเมืองไปตั้งในเขตท้องที่ของตน ณ บ้านปะหลาน (ตำบลปะหลาน) เขตแขวงเมืองสุวรรณภูมิ (เมืองเอก) ซึ่งมีเขตติดต่อกับบ้านเมืองเสือในเวลานั้น ส่วนชื่อเมืองคงจะถือเอาตามชื่อบ้านเมืองเสือ จึงได้ชื่อว่า "พยัคฆภูมิพิสัย" ซึ่งมาจากรากศัพท์ในภาษาบาลีว่า "พฺยคฺฆ" แปลว่า เสือโคร่ง; "ภูมิ" แปลว่า แผ่นดิน, ที่ดิน; และ "วิสย" แปลว่า ถิ่น, เขต, แดน

โดยมีลำดับสถานที่ตั้งเมือง สร้างเมืองแห่งแรกที่บ้านนาข่า ร.ศ. 98 (พ.ศ. 2422)

แห่งที่ 2 ที่บ้านปะหลาน บริเวณต้นค้างคาว ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) โดยในปี พ.ศ. 2440 ยุบเมืองพยัคฆภูมิพิสัย เดิม เป็น เมืองขึ้น เมืองสุวรรณภูมิ ให้เป็น อำเภอพยัฆภูมิพิสัย ขึ้นเมืองสุวรรณภูมิต่อระยะหนึ่งจนกระทั่ง ทางการยุบเมืองสุวรรณภูมิ (เมืองเอก เทียบเท่าจังหวัด) เป็น อำเภอสุวรรณภูมิ ในปี พ.ศ. 2451 จึงได้ตัดโอน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปขึ้นจังหวัดมหาสารคาม ส่วนอำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภออื่นๆที่เคยเป็นเมืองขึ้นของ เมืองสุวรรณภูมิ ตัดให้ไปขึ้นจังหวัดร้อยเอ็ดทั้งหมด

แห่งที่ 3 ย้ายมาบริเวณต้นโพธิ์ (ศาลหลักเมือง) พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) สมัยนายอำเภอคนที่ 2 รองอำมาตย์โท หลวงไสยบัณฑิตย์ (ลิ วงศ์กาไสย) (พ.ศ. 2450-2454)

แห่งที่ 4 ย้ายมาบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ในปัจจุบัน พ.ศ. 2454 สมัยนายอำเภอคนที่ 3 รองอำมาตย์โท หลวงภูมิพยัคฆเขต (ทิม ทิวะวิภาค) (พ.ศ. 2454-2463)

 เนื่องจากราว ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) เมืองพยัคฆภูมิพิสัย ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม ขึ้นตรงต่อมณฑลร้อยเอ็ด

ดังนั้น เมืองพยัคฆภูมิพิสัย จึงมีเจ้าเมืองเพียงคนเดียวคือ พระศรีสุวรรณวงศา (ร.ศ. 98-116 หรือ พ.ศ. 2422-2440) (ต่อมาคือต้นตระกูล "รัตนวงศะวัต" สืบมาทุกวันนี้) หลังจากนั้นก็เป็นนายอำเภอคนแรก (ร.ศ. 116-126 หรือ พ.ศ. 2440-2450) รับราชการปกครองบ้านเมืองนานถึง 28 ปี (เป็นเจ้าเมือง 18 ปี เป็นนายอำเภอ 10 ปี)

วันที่ 20 มกราคม 2481 โอน หมู่ 2,6,15,18 ตำบลภารแอ่น ไปขึ้น ตำบลปะหลาน

วันที่ 20 มกราคม 2481 โอน หมู่ 2,4,6,7,11,12,13,14,16,17,26 ตำบลดงบัง ไปขึ้น ตำบลภารแอ่น

วันที่ 20 มกราคม 2481 โอน หมู่ 19 ตำบลปะหลาน ไปขึ้น ตำบลเม็กดำ

วันที่ 20 มกราคม 2481 โอน หมู่ 22,25 ตำบลเม็กดำ ไปขึ้น ตำบลดงบัง

วันที่ 20 มกราคม 2481 โอน หมู่ 7,8,19,20 ตำบลภารแอ่น ไปขึ้น ตำบลดงบัง

วันที่ 20 มกราคม 2481 รวม หมู่10,11,12,13,14 ตำบลภารแอ่น กับหมู่ 1 เฉพาะบ้านทัพป่าจิก หมู่ 6,14,16,19,21,23,25,31,32,33,35,39,40,41 และบ้านนางกี่ ตำบลปะหลาน แล้วจัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลเมืองเตา

วันที่ 20 มกราคม 2481 โอน หมู่ 5,9,11,16,18,19,20,25,28 ตำบลเม็กดำ กับหมู่ 8,9,15,17,18,19,20,31,35,36,38,39,40 ตำบลนาเชือก แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลนาภู

วันที่ 8 มีนาคม 2503 โอนตำบลนาเชือก และ ตำบลนาภู หมู่ 10,11,12,13,14.15,16 ไปขึ้นอำเภอบรบือ

วันที่ 6 กรกฏาคม 2504 ตั้งตำบลก้ามปู แยกจากตำบลปะหลาน

วันที่ 24 มกราคม 2506 ตั้งตำบลหนองบัวแก้ว แยกจากตำบลเมืองเตา

วันที่ 24 มกราคม 2506 ตั้งตำบลขามเรียน แยกจากตำบลเม็กดำ

วันที่ 24 มกราคม 2506 ตั้งตำบลหนองกู่ แยกจากตำบลดงบัง

วันที่ 13 มกราคม 2507 ตั้งตำบลนาสีนวล แยกจากดำบลภารแอ่น

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลเวียงสะอาด แยกจากตำบลปะหลาน

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลราษฎร์เจริญ แยกจากตำบลหนองบัวแก้ว 4 หมู่บ้าน และ แยกจากตำบลเมืองเตา 7 หมู่บ้าน

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลแวงดง แยกจากตำบลนาภู 6 หมู่บ้าน และ แยกจากตำบลขามเรียน 5 หมู่บ้าน

วันที่ 2 สิงหาคม 2511 โอนหมู่ 10 ตำบลเมืองเตา ไปขึ้นเป็น หมู่ 12 ตำบลราษฏร์เจริญ

วันที่ 2 สิงหาคม 2511 โอนหมู่ 12 ตำบลปะหลาน ไปขึ้นเป็น หมู่ 14 ตำบลเวียงสะอาด

วันที่ 6 สิงหาคม 2514 โอนบ้านหนองบะหมู่ 7 และบ้านน้ำสร้าง หมู่ 8 ตำบลภารแอ่น ไปขึ้นเป็น หมู่ 12,13 ตำบลนาสีนวล ตามลำดับ

วันที่ 9 สิงหาคม 2515 โอนหมู่ 2,7,8,10,12.13,14 ตำบลบ้านกู่ และ ตำบลดงบัง ไปขึ้นกิ่งอำเภอนาดูน

วันที่ 29 มิถุนายน 2520 ตั้งตำบลยางสีสุราช โดยโอน จากตำบลนาภู 5 หมู่บ้าน ตำบลแวงดง 1 หมู่บ้าน และตำบลดงเมือง 2 หมู่บ้าน

วันที่ 28 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลลานสะแก แยกจากตำบลก้ามปู

วันที่ 7 สิงหาคม 2523 ตั้งตำบลเวียงชัย แยกจากตำบลเวียงสะอาด 7 หมู่บ้าน แลก ตำบลก้ามปู 3 หมู่บ้าน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 ตั้งกิ่งอำเภอยางสีสุราช โดยโอน 6 ตำบลคือ ตำบลยางสีสุราช ตำบลนาภู ตำบลแวงดง ตำบลบ้านกู่ ตำบลดงเมือง และตำบลขามเรียน ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอยางสีสุราช อำเภอพยัคภูมิสัย

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2532 ตั้งตำบลหนองบัวสันตุ แยกจากตำบลดงเมือง กิ่งอำเภอยางสีสุราช

วันที่ 11 ธันวาคม 2533 โอนหมู่ 1,2,8,9,10,12 ตำบลขามเรียน กิ่งอำเภอยางสีสุราช ไปอยู่ในตำบลเขตเม็กดำ อำเภอพยัคภูมิพิสัย

วันที่ 10 กันยายน 2535 ตั้งตำบลหนองบัว แยกจากตำบลเม็กดำ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลราษฏร์พัฒนา แยกจากตำบลราษฏร์เจริญ

วันที่ 2 กันยายน 2536 ตั้งตำบลเมืองเสือ แยกจากตำบลปะหลาน

วันที่ 31 สิงหาคม 2538 ตั้งตำบลภารแอ่น แยกจากตำบลนาสีนวล

ทำเนียบนายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

แก้

1. พระศรีสุวรรณวงศา (เดช รัตนะวงศะวัต) ร.ศ. 102 - ร.ศ.126

2. หลวงไสยบัณฑิตย์ (ลิ วงศ์กาไสย) ร.ศ. 126 - ร.ศ.130

3. รองอำมาตย์โท หลวงภูมิพยัคฆเขต (ทิม ทิวะวิภาค) พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2463

4. รองอำมาตย์โท หลวงผดุงประชากร (ทองอยู่ สุขรัตน์) พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2471

5. รองอำมาตย์โท ขุนอนุสรณ์สิทธิกรรม (ทองดี วัชโรทยาน) พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2472

6. รองอำมาตย์โท ขุนแววประศาสน์ (แวว วงษ์ไทย) พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2472

7. รองอำมาตย์โท ขุนกุรีประศาสน์ (กาดำ ผกานนท์) พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2476

8. รองอำมาตย์โท ขุนสรรพกิจโกศล (กิมไล้ ปัทมสุนทร) พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2477

9. รองอำมาตย์โท ขุนฟูประศาสน์ (เกตุ คชวัฒน์) พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2478

10. นายเลื่อน ไขแสง พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2483

11. นายสะอาด นุตจรัส พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2487

12. นายสมดี กวีกรณ์ พ.ศ. 2487 – พ.ศ. 2495

13. นายแสวง ศรีสุภาพ พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2496

14. ร.ต.อ.เสริม ทองสอดแสง พ.ศ. 2496 – พ.ศ. 2497

15. นายดำรง วชิโรดม พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2499

16. นายเวศ สุริโย พ.ศ. 2499 – พ.ศ. 2505

17. นายวัลลภ ชัยพิพัฒน์ พ.ศ. 2505 – พ.ศ. 2507

18. นายประดิษฐ์ วิชัยดิษฐ์ พ.ศ. 2507 – พ.ศ. 2508

19. นายสืบศักดิ์ สุขไทย พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2511

20. นายวิชิต ทัปนวัชร์ พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2513

21. นายสุนทร มานะกุล พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2514

22. นายสม ทัดศรี พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2516

23. นายเทพ ทิมาตฤกะ พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2518

24. นายบุญสอด วิเชียรสรรค์ พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2519

25. นายเกียรติ เสียมสกุล พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2521

26. นายอำพัน วิมุกตานนท์ พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2523

27. นายโกเมศ แดงทองดี พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2525

28. นายมานพ พรเรืองวงศ์ พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2527

29. นายอนันต์ ปลื้มสุด พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2531

30. นายดารา การุณยวนิช พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2532

31. นายกมล อุชุปาละนันท์ พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2533

32. นายวิพัฒน์ พลโยราช พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2537

33. นายสมโภชน์ นิยะโต พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538

34. นายอุไร หล่าสกุล พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2541

35. นายสุรชัย ลิ้นทอง 2 พ.ย. 2541 – พ.ศ. 2542

36. นายเฉลี่ยว จันทวร 29 พ.ย. 2542 – พ.ศ. 2543

37. นายนรินทร์ เจิดดีสกุล 20 พ.ย. 2543 – พ.ศ. 2544

38. นายเกษม บุญข้าเหลือ 11 ธ.ค. 2544 – พ.ศ. 2549

39. นายนิราศ รัตนะ 8 ม.ค. 2550 – 23 ต.ค. 2550

40. นายวีระพล สุพรรณไชยมาตย์ 24 ต.ค. 2550 – 10 พ.ย. 2551

41. นายยิ่งยศ ธนะจันทร์ 10 พ.ย. 2551 – 9 พ.ย. 2552

42. นายสุรชัย วัฒนาอุดมชัย 25 ม.ค. 2553 – 4 ม.ค. 2555

43. นายอำนาจ พวงสำลี 8 พ.ค. 2555 – 24 มี.ค. 2556

44. ว่าที่ ร.ต.อภินันท์ เผือกผ่อง 25 มี.ค. 2556 – 15 ธ.ค. 2556

45. นายฉัตรชัย อุ่นเจริญ 13 ม.ค. 2557 – 6 พ.ย. 2559

46. นายนราธร ศรประสิทธิ์ 7 พ.ย. 2559 -

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 227 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ปะหลาน (Palan) 16 หมู่บ้าน 8. เมืองเตา (Mueang Tao) 26 หมู่บ้าน
2. ก้ามปู (Kam Pu) 17 หมู่บ้าน 9. ลานสะแก (Lan Sakae) 19 หมู่บ้าน
3. เวียงสะอาด (Wiang Sa-at) 21 หมู่บ้าน 10. เวียงชัย (Wiang Chai) 14 หมู่บ้าน
4. เม็กดำ (Mek Dam) 22 หมู่บ้าน 11. หนองบัว (Nong Bua) 13 หมู่บ้าน
5. นาสีนวล (Na Si Nuan) 14 หมู่บ้าน 12. ราษฎร์พัฒนา (Rat Phatthana) 14 หมู่บ้าน
6. ราษฎร์เจริญ (Rat Charoen) 14 หมู่บ้าน 13. เมืองเสือ (Mueang Suea) 11 หมู่บ้าน
7. หนองบัวแก้ว (Nong Bua Kaeo) 16 หมู่บ้าน 14. ภารแอ่น (Phan Aen) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปะหลานและตำบลลานสะแก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะหลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะหลาน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก้ามปูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเม็กดำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเม็กดำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาสีนวล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสีนวลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราษฎร์เจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราษฎร์เจริญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเตาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลานสะแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลานสะแก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราษฎร์พัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราษฎร์พัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเสือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภารแอ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภารแอ่นทั้งตำบล

สถานศึกษา

แก้

สถานพยาบาล

แก้
  • โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย (โรงพยาบาลชุมชน (ระดับ M2) ขนาด 90 เตียง เตียงจริง 108 เตียง))
  • คลินิกเวชกรรมทั่วไป

การขนส่ง

แก้
  • การเดินทางโดยรถประจำทาง มีรถประจำทางไปในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
    • กรุงเทพมหานคร มีหลายบริษัทที่เปิดให้บริการเดินรถมาสู่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เช่น ภัสสรชัยทัวร์ ประหยัดทัวร์ พรทวีชัยแอร์ พุทไธสงทัวร์ บริการด้วยรถปรับอากศชั้น 1 และชั้น 2
    • นครราชสีมา มีบริษัทเปิดให้บริการ ดังนี้ สายนครราชสีมา-พยัคฆภูมิพิสัย (วันละหลายเที่ยว) สายนครราชสีมา-มุกดาหาร บริษัทนครชัยทัวร์จำกัด
    • ชลบุรี ระยอง มีบริษัทรถรุ่งเรืองจำกัด เส้นทางมุกดาหาร-พัทยา ระยอง สามารถซื้อได้ ณ สถานีขนส่ง
    • ขอนแก่น มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ เดินทางได้โดยรถประจำทางสาย 281

และมีรถโดยสารไปยังที่อื่น ๆ ได้แก่ ร้อยเอ็ด เมืองพล เป็นต้น

  • การเดินทางภายในเทศบาล มีรถรับจ้างในเมืองหลายจุด

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.