ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
ท่าอากาศยานนานาชาติบุรีรัมย์ (IATA: BFV, ICAO: VTUO) ตั้งอยู่ที่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากเทศบาลนครบุรีรัมย์ประมาณ 34 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2558 เป็นปีแรกที่มีสายการบินให้บริการถึง 2 สายการบินพร้อมกัน[2] ปัจจุบันมีการให้บริการเพียงสายการบินเดียวคือ ไทยแอเอเชีย [3]มีทางวิ่งที่สามารถรองรับเครื่องบินขนาด แอร์บัส เอ320 ได้ โดยมีอาคารผู้โดยสารขนาด 4,148 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 550 คนต่อชั่วโมง[4] และมีบริการรถเช่า[5]
ท่าอากาศยานนานาชาติบุรีรัมย์ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน | |||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | กรมท่าอากาศยาน | ||||||||||
พื้นที่บริการ | จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ | ||||||||||
ที่ตั้ง | จังหวัดบุรีรัมย์ | ||||||||||
เปิดใช้งาน | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539 | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 590 ฟุต / 179.8 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 15°13′46″N 103°15′12″E / 15.22944°N 103.25333°E | ||||||||||
เว็บไซต์ | https://minisite.airports.go.th/buriram/home | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2566) | |||||||||||
| |||||||||||
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th |
ประวัติ
แก้ก่อตั้งท่าอากาศยาน
แก้ปี พ.ศ. 2528 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้ก่อสร้างท่าอากาศยานจังหวัดบุรีรัมย์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ 3 แปลง แต่ที่ดินทั้ง 3 แปลงไม่เหมาะสมต่อการก่อสร้าง กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน ในปัจจุบัน) ได้แจ้งจังหวัดให้จัดหาที่ก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่ จังหวัดจึงได้เสนอที่ดินสาธารณประโยชน์ โคกเสม็ด และโคกพริก ในพื้นที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยาน ดังนั้น กรมการบินพาณิชย์ จึงวางแผนการก่อสร้างและทำการสำรวจความเป็นไปได้เบื้องต้น ปรากฏว่าที่ดินบริเวณดังกล่าว มีเนื้อที่ไม่เพียงพอ ต้องโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ และราษฎรในพื้นที่คัดค้านไม่ยอมให้สร้างท่าอากาศยานในพื้นที่ดังกล่าว
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2532 ทางจังหวัดจึงได้เสนอที่ดินบริเวณป่าโคกโจด อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ประมาณ 3,750 ไร่ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองสุรินทร์ประมาณ 75 กิโลเมตร ให้กรมการบินพาณิชย์ก่อสร้างท่าอากาศยานบุรีรัมย์
ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยาน โดยให้มีศักยภาพรองรับเครื่องบินขนาด 150 ที่นั่ง ขึ้น – ลงได้ และคาดว่าผลที่ได้รับจะทำให้พื้นที่ บริการของท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ครอบคลุมได้ทั่วบริเวณอีสานใต้
ปี พ.ศ. 2536 – 2539 ท่าอากาศยานบุรีรัมย์จึงได้ก่อกำเนิดขึ้น ซึ่งกรมการบินพาณิชย์ได้จัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. 2536 เพื่อก่อสร้าง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 376.20 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 และได้รับการประกาศให้เป็นท่าอากาศยานอนุญาตเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539[2]
ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นครั้งแรกที่มีสายการบิน 2 สายการบินเปิดให้บริการพร้อมกัน[6] ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 575.29%
การจะให้บริษัทท่าอากาศยานไทยเข้าบริหาร
แก้กระทรวงคมนาคมได้มีแผนการที่จะให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เข้าบริหารท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ในลักษณะการบริหารสัญญาร่วม หรือการจ้าง บมจ. ท่าอากาศยานไทย บริหารจัดการ โดยกรมท่าอากาศยานยังคงความเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน[7][8]
ในเดือนมีนาคม 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เข้าดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานบุรีรัมย์แทนกรมท่าอากาศยาน[9]
อาคารสถานที่
แก้ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
รูปภาพภายในอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ |
อาคารผู้โดยสาร
แก้ท่าอากาศยานบุรีรัมย์มีอาคารผู้โดยสารปัจจุบันทั้งหมด 1 อาคาร ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียว โดยพื้นที่โถงตรงกลางมีความสูงเท่ากับอาคาร 2 ชั้น ขนาดพื้นที่ประมาณ 4,148 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 550 คนในชั่วโมงคับคั่ง[4] และสามารถรองรับเที่ยวบินได้สูงสุดวันละ 16 เที่ยวบิน ซึ่งสามารถจอดเครื่องบินขนาดโบอิง 737 / แอร์บัส เอ320 ได้ 6 ลำพร้อมกัน บนลานจอด ขนาดกว้าง 90 เมตร ยาว 365 เมตร
ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)
แก้ทางวิ่งใช้พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต ขนาดกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร สามารถรองรับอากาศยานสูงสุดได้คือ โบอิง 737 และ แอร์บัส เอ320 พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 450 เมตร[4]
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์มีทางขับจำนวน 2 เส้น ขนาดความกว้างเส้นละ 23 เมตร และความยาวเส้นละ 240 เมตร[4]
รายชื่อสายการบิน
แก้สายการบิน | จุดหมายปลายทาง[10] | หมายเหตุ |
---|---|---|
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพฯ–ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
สายการบินในอดีต
แก้สายการบิน | จุดหมายปลายทาง[2] | ปีที่ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
การบินไทย | กรุงเทพฯ–ดอนเมือง | พ.ศ. 2539-2545 | ภายในประเทศ |
ภูเก็ตแอร์ | กรุงเทพฯ–ดอนเมือง | พ.ศ. 2545-2548 | ภายในประเทศ |
พีบีแอร์ | กรุงเทพฯ–ดอนเมือง | พ.ศ. 2548-2549 | ภายในประเทศ |
กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ | พ.ศ. 2549-2552 |
สถิติ
แก้ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
แก้ปี (พ.ศ.) | ผู้โดยสาร | ความเปลี่ยนแปลง | เที่ยวบิน | คาร์โก้ (หน่วยตัน) |
---|---|---|---|---|
2544 | 33,964 | 765 | 22.1 | |
2545 | 24,972 | 26.48% | 788 | 6.62 |
2546 | 22,390 | 10.34% | 712 | 5.10 |
2547 | 30,600 | 36.67% | 753 | 2.21 |
2548 | 22,321 | 27.06% | 541 | 1.41 |
2549 | 8,643 | 61.28% | 348 | 0.24 |
2550 | 11,057 | 27.93% | 424 | 0.14 |
2551 | 8,407 | 23.97% | 318 | 0.02 |
2552 | 7,479 | 11.04% | 298 | 0.00 |
2553 | 7,410 | 0.92% | 240 | 0.00 |
2554 | 8,207 | 10.76% | 427 | 0.00 |
2555 | 4,575 | 44.25% | 318 | 0.00 |
2556 | 11,393 | 149.03% | 501 | 0.00 |
2557 | 17,431 | 53.00% | 408 | 0.00 |
2558 | 117,710 | 575.29% | 1,508 | 0.00 |
2559 | 197,988 | 68.20% | 2,258 | 0.00 |
2560 | 220,856 | 11.55% | 2,609 | 0.00 |
2561 | 340,692 | 54.26% | 3,197 | 0.00 |
2562 | 355,497 | 4.35% | 3,461 | 0.00 |
2563 | 180,996 | 49.09% | 2,404 | 0.00 |
2564 | 42,868 | 36.80% | 2,317 | 0.00 |
2565 | 196,647 | 57.64% | 2,908 | 0.00 |
2566 | 252,246 | 70.40% | 1,942 | 0.00 |
การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน
แก้ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 219 โดยมีทางเข้าไปจากทางหลวงประมาณ 500 เมตร ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโคกโจด[12] โดยมีลานจอดรถยนต์กลางแจ้งหน้าอาคารผู้โดยสาร ซึ่งมีสามารถจุรถได้ประมาณ 100 คัน[4]และที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่าอยู่หลายบริษัท[5]
ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถตู้รับ-ส่ง โดยเป็นบริการที่ไม่ใช่ของท่าอากาศยาน ซึ่งเป็นเส้นทางระหว่าง สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ - ท่าอากาศยาน ซึ่งรถตู้จะมาส่งถึงตัวอาคารผู้โดยสาร[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "ประวัติท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เว็บไซต์กรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "ลักษณะทางกายภาพท่าอากาศยานบุรีรัมย์". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 "รายชื่อบริษัทรถเช่าที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์". 15 สิงหาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สนามบินพาณิชย์จังหวัดบุรีรัมย์ เส้นทางคมทางเลือกแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยว". 21 มกราคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-13. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เบื้องลึกเด้งอธิบดีทย. เซ่นการเมืองขวางทอท.ฮุบสนามบิน". ฐานเศรษฐกิจ. 8 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คมนาคม เคาะให้ ทอท. เช่าบริหาร 3 สนามบิน ของ ทย. ระบุโอนให้ไม่ได้ไม่มีกฎหมายรองรับ". ข่าวสด. 14 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ศักดิ์สยาม" เปิดไทม์ไลน์โอนย้าย 3 สนามบิน จ่อเสนอ ครม. เมษายนนี้". ไทยรัฐ. 21 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตารางการบินท่าอากาศยานบุรีรัมย์". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ที่ตั้งและพิกัดทางภูมิศาสตร์". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วิธีเดินทางจากสนามบินบุรีรัมย์เข้าเมืองแบบประหยัด ด้วยรถตู้ประจำทาง". 2 พฤษภาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)