อำเภอเมืองสุรินทร์

อำเภอในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย

เมืองสุรินทร์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ โดยเป็นศูนย์กลางทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมของจังหวัด และเป็น 1 ใน 3 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน

อำเภอเมืองสุรินทร์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Surin
ศาลหลักเมืองสุรินทร์
ศาลหลักเมืองสุรินทร์
คำขวัญ: 
อำเภอเมืองสุรินทร์ ถิ่นจักสาน อุทยานพนมสวาย
รวมใจหลักเมือง ลือเลื่องผ้าไหม หย่อนใจห้วยเสนง
ครื้นเครงกันตรึมดี ไหว้พระชีว์หลวงปู่ดุลย์
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอเมืองสุรินทร์
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอเมืองสุรินทร์
พิกัด: 14°52′54″N 103°30′05″E / 14.88167°N 103.50139°E / 14.88167; 103.50139
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุรินทร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,066.26 ตร.กม. (411.69 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด257,605 คน
 • ความหนาแน่น241.60 คน/ตร.กม. (625.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 32000
รหัสภูมิศาสตร์3201
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองสุรินทร์ ถนนกรุงศรีนอก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ปราสาทเมืองที หมู่ 1 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทเมืองที หมู่ 1 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเมืองสุรินทร์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 
ปราสาทเมืองที หมู่ 1 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ประวัติ

แก้

ท้องที่อาณาเขตเดิมของอำเภอเมืองสุรินทร์ เดิมมีชื่อว่า อำเภอเมือง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่ออำเภอเมืองสุรินทร์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดพื้นที่ศูนย์กลางของจังหวัดให้ใช้ชื่อจังหวัดต่อท้ายชื่ออำเภอเมือง[1] ในอดีตอำเภอเมืองสุรินทร์มีพื้นที่กว้างขวางเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่จังหวัด ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอในปัจจุบัน คือ อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอปราสาทรวมไปถึงเขตอำเภอพนมดงรัก และอำเภอกาบเชิง (แยกออกจากอำเภอปราสาท) ซึ่งได้แบ่งแยกเขตการปกครองออกเรื่อยมา

  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2479 จัดตั้งชุมนุมชนในเขตตำบลที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองสุรินทร์[2]
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2480 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ (1,2,3,4,5,6,7)[3]
    • (1) โอนพื้นที่บ้านกะทม (ในขณะนั้น) ของตำบลทมอ ไปขึ้นกับตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์
    • (2) โอนพื้นที่บ้านอำปึล และบ้านอังกัญ (ในขณะนั้น) ของตำบลทมอ ไปขึ้นกับตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์
    • (3) โอนพื้นที่บ้านโคกทม และบ้านกระดาด (ในขณะนั้น) ของตำบลเทนมีย์ ไปขึ้นกับตำบลทมอ อำเภอเมืองสุรินทร์
    • (4) โอนพื้นที่บ้านตาอี (ในขณะนั้น) ของตำบลสวาย ไปขึ้นกับตำบลทุ่งมน อำเภอเมืองสุรินทร์
    • (5) โอนพื้นที่บ้านพนม (ในขณะนั้น) ของตำบลนาบัว ไปขึ้นกับตำบลไพล อำเภอเมืองสุรินทร์
    • (6) โอนพื้นที่บ้านบักจรัง บ้านกาบเชิง และบ้านตาเกาว์ ของตำบลด่าน อำเภอสังขะ ไปขึ้นกับตำบลตาเบา อำเภอเมืองสุรินทร์
    • (7) โอนพื้นที่บ้านกันตรวจระมวล บ้านไทร และบ้านกระวัน (ในขณะนั้น) ของตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ ไปขึ้นกับตำบลตาเบา อำเภอเมืองสุรินทร์
  • วันที่ 14 มีนาคม 2480 แยกพื้นที่ตำบลกังแอน ตำบลบักได ตำบลตาเบา ตำบลปรือ ตำบลทุ่งมน ตำบลไพล และตำบลทมอ อำเภอเมืองสุรินทร์ ไปจัดตั้งเป็น อำเภอปราสาท[4]
  • วันที่ 3 เมษายน 2482 โอนพื้นที่หมู่ 8,12 (ในขณะนั้น) ของตำบลสำโรง กับพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ ไปขึ้นกับตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ และโอนพื้นที่ตำบลบึง (ยกเว้นพื้นที่หมู่16) ตำบลตากูก และตำบลเพี้ยราม (ยกเว้นพื้นที่หมู่ 14-20) อำเภอท่าตูม มาขึ้นกับ อำเภอเมืองสุรินทร์[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลในเขตท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ (1,2,3,4,5)[6]
    • (1) ตั้งตำบลแกใหญ่ แยกออกจากตำบลนอกเมือง ตำบลเขวาสินรินทร์ และตำบลท่าสว่าง
    • (2) ตั้งตำบลสลักใด แยกออกจากตำบลนอกเมือง และตำบลสำโรง
    • (3) ตั้งตำบลนาดี แยกออกจากตำบลเขวาสินรินทร์ ตำบลเพี้ยราม และตำบลท่าสว่าง
    • (4) ตั้งตำบลสวาย แยกออกจากตำบลคอโค
    • (5) ตั้งตำบลนาบัว แยกออกจากตำบลเฉนียง
  • วันที่ 2 ธันวาคม 2490 โอนพื้นที่หมู่ 19 บ้านท่าเรือ (ในขณะนั้น) กับพื้นที่หมู่ 20 บ้านราม (ในขณะนั้น) ของตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ มาขึ้นกับตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์[7]
  • วันที่ 8 ธันวาคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองที ในท้องที่บางส่วนของตำบลเมืองที[8]
  • วันที่ 2 กันยายน 2512 ตั้งตำบลตาอ็อง แยกออกจากตำบลเทนมีย์[9]
  • วันที่ 22 กันยายน 2513 ตั้งตำบลตั้งใจ แยกออกจากตำบลบึง[10]
  • วันที่ 28 ธันวาคม 2513 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์[11] โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล และพื้นที่หมู่ 7,8,11 และบางส่วนของหมู่ที่ 3,10 ตำบลนอกเมือง
  • วันที่ 29 มิถุนายน 2514 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ (1,2,3)[12]
    • (1) โอนพื้นที่หมู่ 7,8,11 (ในขณะนั้น) ของตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ เฉพาะส่วนที่ถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ไปขึ้นกับตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ โดยให้มีเขตตรงตามหลักเขตของเทศบาลเมืองสุรินทร์
    • (2) โอนพื้นที่หมู่ 3,10 (ในขณะนั้น) ของตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ เฉพาะส่วนที่ถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ไปขึ้นกับตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ โดยให้มีเขตตรงตามหลักเขตของเทศบาลเมืองสุรินทร์
    • (3) โอนพื้นที่หมู่ 3,10 (ในขณะนั้น) ของตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ เฉพาะส่วนที่เหลือจากการถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ไปขึ้นรวมกับพื้นที่หมู่ 8 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2521 ตั้งตำบลราม แยกออกจากตำบลสำโรง[13]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2524 ตั้งตำบลบุฤๅษี แยกออกจากตำบลเมืองที[14]
  • วันที่ 16 มีนาคม 2526 โอนพื้นที่หมู่ 15 บ้านอังกัน (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ มาขึ้นกับตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์[15]
  • วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลตระแสง แยกออกจากตำบลคอโค[16]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลบ้านแร่ แยกออกจากตำบลเขวาสินรินทร์[17]
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลปราสาททอง แยกออกจากตำบลตากูก[18]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลแสลงพันธ์ แยกออกจากตำบลแกใหญ่[19]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลกาเกาะ แยกออกจากตำบลเพี้ยราม[20]
  • วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลเขวาสินรินทร์ ตำบลบึง ตำบลตากูก ตำบลปราสาททอง และตำบลบ้านแร่ อำเภอเมืองสุรินทร์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองสุรินทร์[21]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองที เป็นเทศบาลตำบลเมืองที[22] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ ขึ้นเป็น อำเภอเขวาสินรินทร์[23]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเมืองสุรินทร์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 21 ตำบล 289 หมู่บ้าน

1. ในเมือง (Nai Mueang) 32 ชุมชน 12. สวาย (Sawai) 14 หมู่บ้าน
2. ตั้งใจ (Tang Chai) 9 หมู่บ้าน 13. เฉนียง (Chaniang) 20 หมู่บ้าน
3. เพี้ยราม (Phia Ram) 15 หมู่บ้าน 14. เทนมีย์ (Thenmi) 14 หมู่บ้าน
4. นาดี (Na Di) 17 หมู่บ้าน 15. นาบัว (Na Bua) 19 หมู่บ้าน
5. ท่าสว่าง (Tha Sawang) 21 หมู่บ้าน 16. เมืองที (Mueang Thi) 14 หมู่บ้าน
6. สลักได (Salakdai) 16 หมู่บ้าน 17. ราม (Ram) 13 หมู่บ้าน
7. ตาอ็อง (Ta Ong) 16 หมู่บ้าน 18. บุฤๅษี (Bu Ruesi) 10 หมู่บ้าน
8. สำโรง (Samrong) 15 หมู่บ้าน 19. ตระแสง (Trasaeng) 12 หมู่บ้าน
9. แกใหญ่ (Kae Yai) 13 หมู่บ้าน 20. แสลงพันธ์ (Salaeng Phan) 9 หมู่บ้าน
10. นอกเมือง (Nok Mueang) 22 หมู่บ้าน 21. กาเกาะ (Ka Ko) 12 หมู่บ้าน
11. คอโค (Kho Kho) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 22 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองสุรินทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเมืองที ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1, 7 ตำบลเมืองที (สุขาภิบาลเมืองทีเดิม)[8][22]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเพี้ยราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเพี้ยรามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาดีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสว่างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสลักได ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสลักไดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาอ็อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาอ็องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแกใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนอกเมืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคอโค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอโคทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตั้งใจ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตั้งใจทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเฉนียงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทนมีย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทนมีย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 2–6, 8–14 ตำบลเมืองที (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเมืองที)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุฤๅษี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุฤๅษีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตระแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตระแสงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสลงพันธ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาเกาะทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

แก้

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การศึกษา

แก้

สาธารณสุข

แก้
  • โรงพยาบาลสุรินทร์
  • โรงพยาบาลรวมแพทย์
  • โรงพยาบาลสุรินทร์รวมแพทย์
  • โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน

การขนส่ง

แก้
ทางรถไฟ
 
สถานีรถไฟสุรินทร์
    • สถานีรถไฟลำชี เป็นย่านสถานีรถไฟขนาดใหญ่และเคยมีวงเวียนกลับรถจักร ปัจจุบันยังคงเป็นต้นทางของขบวนรถท้องถิ่นลำชี–สำโรงทาบ และลำชี–อุบลราชธานี รวมถึงเป็นจุดพักรถโดยสารค้างคืนของขบวนรถธรรมดากรุงเทพ–สุรินทร์
    • สถานีรถไฟสุรินทร์ เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัด ปัจจุบันมีขบวนรถไฟโดยสารจอดทุกขบวน
    • สถานีรถไฟบุฤๅษี เคยมีทางแยกไปยังโรงงานเลื่อยไม้[24] ปัจจุบันยกเลิกการใช้งานและรื้อทางออกแล้ว
    • สถานีรถไฟเมืองที เป็นสถานีรถไฟที่อยู่ใกล้กับปราสาทเมืองทีมากที่สุด
ท่าอากาศยาน

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ก): 1239–1243. 14 กุมภาพันธ์ 2479.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 2916–2918. 28 กุมภาพันธ์ 2480.
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอปราสาทและยุบอำเภอชุมพลบุรีลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 3085. 14 มีนาคม 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 14–15. 3 เมษายน 2482.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (58 ง): 3119–3120. 2 ธันวาคม 2490.
  8. 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (116 ง): 2928–2929. 8 ธันวาคม 2507.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (78 ง): 2634–2642. 2 กันยายน 2512.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (88 ง): 2672–2682. 22 กันยายน 2513.
  11. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (119 ก): (ฉบับพิเศษ) 58-62. 28 ธันวาคม 2513.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (69 ง): 1862–1863. 29 มิถุนายน 2514.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาทและอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (126 ง): 3936–3955. 14 พฤศจิกายน 2521.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (123 ง): 2475–2487. 28 กรกฎาคม 2524.
  15. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอศีขรภูมิกับอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (37 ก): (ฉบับพิเศษ) 16-17. 16 มีนาคม 2526.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (150 ง): 3926–3948. 23 ตุลาคม 2527.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอกาบเชิง และอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 60-71. 15 กันยายน 2532.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาท และอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 106-117. 17 สิงหาคม 2533.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (115 ง): (ฉบับพิเศษ) 104-108. 1 กรกฎาคม 2534.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 21–26. 9 พฤศจิกายน 2538.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 18 ง): 30. 26 มิถุนายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  22. 22.0 22.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  23. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  24. "ทางแยกร้างโรงเลื่อยที่สถานีบุฤๅษี". สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2019.