โรงเรียนบ้านไถงตรง

โรงเรียนบ้านไถงตรง [ถะ-ไหฺง-ตฺรง] เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยแยกมาจากโรงเรียนสระโบราณ (โรงเรียนเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน)

โรงเรียนบ้านไถงตรง
Ban Thangai Trong School
ตราพระอาทิตย์ สัญลักษณ์โรงเรียนบ้านไถงตรง
ที่ตั้ง
หมู่ที่ 13 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ถ.ต./BTT
ประเภทรัฐ
สถาปนา18 กันยายน พ.ศ. 2500
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1032650008
ผู้อำนวยการนายถวิล สายสุข
ระดับปีที่จัดการศึกษาอนุบาล-ประถมศึกษา
สี███ น้ำเงิน - ███ แดง

โรงเรียนบ้านไถงตรง ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกวัดไตรรัตนาราม หมู่ที่ 13 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยตั้งตามชื่อหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งโรงเรียน ปัจจุบัน บ้านไถงตรงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นหมู่บ้านและส่วนที่เป็นโรงเรียน โดยมีวัดไตรรัตนาราม(บ้านทนง) คั่นไว้

ที่ตั้ง แก้

บ้านไถงตรง (ทิศตะวันตกวัดไตรรัตนาราม) หมู่ที่ 13 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000

ประวัติโรงเรียน แก้

ปี 2500 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อรองรับและให้บริการการเรียนการสอนแก่เยาวชนในตำบลนอกเมืองที่อยู่ในเขตบริการเดิมของโรงเรียนสระโบราณ (โรงเรียนเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน) ประกอบด้วย บ้านโสน บ้านทนง บ้านไถงตรง รวมไปถึง บ้านหมอกวน บ้านดองกะเม็ด (ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในเขตตำบลนอกเมือง) โดยได้เลือกพื้นที่จัดสร้างโรงเรียนบริเวณป่าช้าเก่า บ้านไถงตรง ตำบลนอกเมือง และใช้ชื่อ โรงเรียนบ้านไถงตรง ตามหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน โดยมีนายประถม สิงคนิภา เป็นครูใหญ่คนแรก และได้ถือเอาวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2500​ เป็นวันก่อตั้งโรงเรียน

ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านไถงตรง ได้เข้าร่วมโครงการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ของโรงเรียนวังไกลกังวล

อักษรย่อและสีประจำโรงเรียน แก้

  • อักษรย่อ ม.ถ.ต.
    • ม.=อำเภอเมืองสุรินทร์
    • ถ.ต.=ไถงตรง
  • สีประจำโรงเรียน

ผู้บริหาร ครูและบุคลากรในปัจจุบัน แก้

  • นายลลิต จรทผา

ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการ

  • นายประวิทย์ เชื้อเพ็ง

ตำแหน่ง : ครูชำนาญการ

  • นายณรงค์ ศรกล้า

ตำแหน่ง : ครูชำนาญการพิเศษ

  • นางทัศนีย์ พันนุรัตน์

ตำแหน่ง : ครูชำนาญการ

  • นางลดาวัลย์ พิศงาม

ตำแหน่ง : ครูชำนาญการ

  • นางสะใบ บุญสิทธ์

ตำแหน่ง : ครูชำนาญการพิเศษ

  • นางสาววรรณภา อินกะนอน

ตำแหน่ง : ครูธุรการ

  • นายอนุชิต รำจวน

ตำแหน่ง : นักการภารโรง

เขตพื้นที่บริการ แก้

  • บ้านไถงตรง หมู่ที่ 13 ตำบลนอกเมือง
  • บ้านโสน หมู่ที่ 13 ตำบลนอกเมือง
  • บ้านทนง หมู่ที่ 6 ตำบลนอกเมือง
  • บ้านปวงตึก หมู่ที่ 22 ตำบลนอกเมือง
  • บ้านโคกปลัด หมู่ที่ 2 ตำบลนอกเมือง

เนื่องจากโรงเรียนบ้านไถงตรง เป็นโรงเรียนชานเมือง ห่างจากเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์เพียง 100 เมตร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชนจากในเมืองที่อาศัยอยู่ใกล้โรงเรียน (ชุมชนไตรรงค์, ชุมชนหมอกวนและชุมชนสระโบราณ)ส่งบุตรหลานมาเรียนที่นี่

สถานศึกษาบริเวณใกล้เคียง แก้

ประถมศึกษา แก้

มัธยมศึกษา แก้

อาชีวศึกษา แก้

สถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง แก้

นามโรงเรียนกับเอกลักษณ์ท้องถิ่น แก้

แม้ว่าโรงเรียนบ้านไถงตรง จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีบทบาทไม่มากนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ประจักษ์เด่นชัด คือ นามโรงเรียน

โรงเรียนบ้านไถงตรง ตั้งชื่อตามหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน นั่นคือ บ้านไถงตรง คำว่า ไถงตรง มาจากภาษาเขมร ไถง แปลว่า พระอาทิตย์ กลางวัน หรือวัน ส่วนคำว่า ตรง แปลว่า ตรง (เป็นคำยืมภาษาเขมรที่ใช้ในภาษาไทย) "ไถงตรง" จึงแปลว่า เที่ยงตรง

ที่มาของชื่อบ้านไถงตรงนั้น นางจันทรา บานเย็น ถือกำเนิดในบ้านไถงตรง เล่าอดีตเมื่อวัย 6-7 ขวบเรื่อยมา ได้เห็นคนขับเกวียนมาแวะพักกินมื้อเที่ยงในหมู่บ้านบริเวณต้นโพธิ์ใหญ่มีสระน้ำอยู่ใกล้ ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากบรรดาคนขับเกวียนจะมาพักรับประทานอาหารมื้อเที่ยง ในเวลาเที่ยงตรง ณ บริเวณนี้

สมัยนั้นคนขับเกวียนบรรทุกถ่าน ฟืน กล้วยมะพร้าว มะม่วง มาขายแลกเปลี่ยนในตลาดเมืองสุรินทร์ คนเดินเท้าก็มาพักที่นี่เช่นกัน สมัยนั้นบ้านเรือนยังไม่มาก มีแต่ป่ากับทางเกวียน และค่อย ๆ หายไปเมื่อตัดถนนลาดยางมีรถยนต์มาแทน ปัจจุบันต้นโพธิ์และสระน้ำเป็นทรัพย์สินของ นางสงวนศรี พระจันทร์ (สืบทอดนามสกุลเก่าในชุมชน) อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน

ชาวไถงตรงเรียกชุมชนตัวเองว่า “หมู่บ้าน” มาแต่ไหนแต่ไร แต่ทางปกครอง “ไถงตรง” เป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านโสน หมู่ 13 ซึ่งแยกออกจากบ้านทนง หมู่ 6 โดยแบ่งไถงตรงส่วนหนึ่ง (ประมาณ 50 หลังคาเรือน) ไปรวมด้วย ดังนั้นจึงไม่มีป้ายหมู่บ้านไถงตรงเป็นทางการ ยกเว้นป้ายชื่อโรงเรียนบ้านไถงตรง[1]

อ้างอิง แก้

  1. นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่๑๔ ปีที่๒ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ คอลัมน์: คำถิ่นกลิ่นอายแขฺมร์