อำเภอลำดวน

อำเภอในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย

ลำดวน เป็นอำเภอในจังหวัดสุรินทร์

อำเภอลำดวน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Lamduan
ปราสาทตระเปียงเตีย
คำขวัญ: 
ลำดวนสุรพินท์ ถิ่นผ้าไหมงาม ข้าวน้ำพร้อมพรัก
อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี สามัคคีมีน้ำใจ
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอลำดวน
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอลำดวน
พิกัด: 14°43′38″N 103°40′33″E / 14.72722°N 103.67583°E / 14.72722; 103.67583
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุรินทร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด343.0 ตร.กม. (132.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด31,137 คน
 • ความหนาแน่น90.78 คน/ตร.กม. (235.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 32220
รหัสภูมิศาสตร์3211
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอลำดวน หมู่ที่ 3 ถนนลำดวน-บ้านไทร ตำบลลำดวน อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ 32220
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอลำดวน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ มีความเจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองหนึ่งในอดีตกาล ซึ่งยังปรากฏหลักฐานให้เห็น คือ ซากกำแพงเมืองสร้างด้วยดินมูล มีคูคลองล้อมรอบ มีปูชนียสถานและโบราณวัตถุปรากฏอยู่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า "เมืองสุรพินทนิคม" โดยมีรายนามเจ้าเมืองสุรพินทนิคม ดังนี้

  • พ.ศ. 2414 : พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ (พระไชยณรงค์ภักดี นาก)
  • พ.ศ. 2416 : พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ (หลวงพิทักษ์สุนทร)
  • พ.ศ. 2434 : พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ (ปราง) : บุตรของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง)
  • พ.ศ. 2439 : พระสุรพิทยานิคมมานุรักษ์ (เสรียบ)

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงแผนวิธีการปกครองทั่วราชอาณาจักรขึ้นใหม่ เมืองสุรพินทนิคมจึงเปลี่ยนเป็นอำเภอเรียกว่า อำเภอสุรพินท์ และต่อมาได้ถูกลดฐานะให้เป็นตำบลชื่อว่าตำบลลำดวน และรวมเข้ากับพื้นที่ในอำเภอศีขรภูมิ ในปี พ.ศ. 2455[1] ต่อมาท้องที่ตำบลลำดวน อำเภอศีขรภูมิ ได้โอนมาขึ้นกับอำเภอสังขะแทน

ปี พ.ศ. 2510 ทางราชการได้แยกพื้นที่ 7 หมู่บ้านในเขตตำบลลำดวน ตั้งเป็น ตำบลโชกเหนือ[2] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2518 พื้นที่ด้านทิศเหนือของอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ พื้นที่กว้างขวาง อยู่ห่างไกลจากอำเภอเดิม มีประชากรจำนวนมาก ยากแก่การปกครองและพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐออกตรวจตราและเยี่ยมเยียนราษฎรไม่ทั่วถึง และเป็นชุมชนที่มีแนวโน้มว่าจะมีความเจริญต่อไปในอนาคต กระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่าควรจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น ปีต่อมา พ.ศ. 2519 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอในท้องที่อำเภอสังขะ

และเพื่อเป็นการอำนวยความความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ และมีสถานที่เพียงพอที่จะจัดตั้งสถานที่ราชการได้ จึงแยกพื้นที่ตำบลโชกเหนือ และตำบลลำดวน ออกจากอำเภอสังขะ เป็น กิ่งอำเภอลำดวน[3] ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2519 และเปิดใช้ที่ว่าการกิ่งอำเภอในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 และในปี พ.ศ. 2523 มีการจัดตั้งพื้นที่การปกครองเพิ่มขึ้น โดยแยก 8 หมู่บ้านในตำบลลำดวน ตั้งเป็น ตำบลอู่โลก และแยกหมู่ 4 บ้านตรำดม รวมกับอีก 5 หมู่บ้านในตำบลโชกเหนือ ตั้งเป็น ตำบลตรำดม[4]

ก่อนจัดตั้งเป็นอำเภอ ในปี พ.ศ. 2530 กิ่งอำเภอลำดวนได้จัดตั้งตำบลเพิ่มอีก 1 ตำบล โดยแยกพื้นที่หมู่ 5 บ้านตระเปียงเตีย รวมกับอีก 7 หมู่บ้านในเขตตำบลโชกเหนือ ตั้งเป็น ตำบลตระเปียงเตีย[5] เนื่องจากหลักเกณฑ์ต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 5 ตำบล รวมทั้งในปี พ.ศ. 2532 เมื่อพื้นที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจ ไปรษณีย์โทรเลข รวมทั้งศูนย์ราชการ และเป็นที่ประชุมชนมากขึ้น จึงกำหนดเขตพื้นที่หมู่ 1-3 บ้านลำดวน หมู่ 4 บ้านโคกครุฑ หมู่ 10 บ้านจันทร์หอม หมู่ 11 บ้านโคกขมิ้น ตำบลลำดวน และพื้นที่หมู่ 2 บ้านยางจรม ตำบลตรำดม ตั้งเป็น สุขาภิบาลลำดวนสุรพินท์[6] ก่อนที่จะยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็น อำเภอลำดวน[7] โดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยมีการปกครองทั้งหมด 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลโชกเหนือ ตำบลลำดวน ตำบลอู่โลก ตำบลตรำดม และตำบลตระเปียงเตีย จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอลำดวนแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 5 ตำบล 51 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ลำดวน (Lamduan) 11 หมู่บ้าน
2. โชกเหนือ[8] (Chok Nuea) 9 หมู่บ้าน
3. อู่โลก (U Lok) 11 หมู่บ้าน
4. ตรำดม (Tram Dom) 10 หมู่บ้าน
5. ตระเปียงเตีย (Trapiang Tia) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอลำดวนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลำดวน และบางส่วนของตำบลตรำดม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำดวน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโชกเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอู่โลก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอู่โลกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตรำดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรำดม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลลำดวนสุรพินท์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตระเปียงเตีย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตระเปียงเตียทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เลิกและยุบอำเภอต่างๆ ในมณฑลอุบลลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 982–983. วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2455
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสังขะ และอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (31 ง): 1179–1185. วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2510
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอลำดวน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (6 ง): 190. วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2520
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท อำเภอสำโรงทาบ และกิ่งอำเภอลำดวน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (127 ง): 2814–2851. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2523
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกาบเชิง สำโรงทาบ และกิ่งอำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (147 ง): (ฉบับพิเศษ) 8-16. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2530
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลำดวนสุรพินท์ กิ่งอำเภอลำดวน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (110 ง): 4979–4981. วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
  7. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอวังจันทร์ อำเภอนาด้วง อำเภอเต่างอย อำเภอสิงหนคร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอลำดวน พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (107 ก): (ฉบับพิเศษ) 29-32. วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2534
  8. "ท้องถิ่นตำบลโชกเหนือ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์". องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์: 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-15 – โดยทาง "โชกเหนือ" ตามทะเบียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย.