เทศบาลเมืองสุรินทร์

เทศบาลเมืองในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย

เทศบาลเมืองสุรินทร์ เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งที่มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดสุรินทร์

เทศบาลเมืองสุรินทร์
สี่แยกใจกลางเทศบาลเมืองสุรินทร์
สี่แยกใจกลางเทศบาลเมืองสุรินทร์
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองสุรินทร์
ตรา
ทม.สุรินทร์ตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์
ทม.สุรินทร์
ทม.สุรินทร์
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองสุรินทร์
พิกัด: 14°53′6″N 103°29′16.8″E / 14.88500°N 103.488000°E / 14.88500; 103.488000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุรินทร์
อำเภอเมืองสุรินทร์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.39 ตร.กม. (4.40 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด39,168 คน
 • ความหนาแน่น3,438.81 คน/ตร.กม. (8,906.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04320102
เว็บไซต์www.mosurin.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก
วัดบูรพาราม
ศาลหลักเมืองสุรินทร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เทศบาลเมืองสุรินทร์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณเส้นแวงที่ 103 องศาตะวันออก และเส้นรุ้งที่ 15 องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถไฟ ประมาณ 420 กิโลเมตร หรือโดยทางรถยนต์ประมาณ 454 กิโลเมตร ปัจจุบันเทศบาลเมืองสุรินทร์มีพื้นที่ประมาณ 11.39 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 9 ถึงหลักเขตที่ 1 ติดกับตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 1 หลักเขตที่ 2 หลักเขตที่ 3 และหลัก เขตที่ 4 ติดกับตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 4 หลักเขตที่ 5 หลักเขตที่ 6 และหลักเขตที่ 7 ติดกับตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 7 หลักเขตที่ 8 และหลักเขตที่ 9 ติดกับตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ประชากรและชุมชน

แก้

จำนวนประชากรตามสถิติทะเบียนราษฎร ณ เดือน มีนาคม 2550 เทศบาลเมืองสุรินทร์มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 40,289 คน แบ่งเป็นชาย 18,920 คน หญิง 21,369 คน จำนวนบ้าน 13,946 หลังคาเรือน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 3,537 คนต่อตารางกิโลเมตร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 27,702 คน

ชุมชนในเขตเทศบาลที่จัดตั้งขึ้น มีจำนวน 32 ชุมชน ดังนี้

  • ชุมชนบ้านถนน
  • ชุมชนศรีจุมพล
  • ชุมชนโพธิ์ทอง
  • ชุมชนไตรรงค์
  • ชุมชนสระโบราณ
  • ชุมชนหน้าสถานีรถไฟ
  • ชุมชนบำรุงราษฎร์
  • ชุมชนเทพสุนทร
  • ชุมชนหลังตลาด
  • ชุมชนทุ่งโพธิ์
  • ชุมชนดองกะเม็ด
  • ชุมชนพรหมเทพ
  • ชุมชนโพธิ์ร้าง-โพธิ์กลาง
  • ชุมชนศรีไผทสมันต์
  • ชุมชนศาลาลอย
  • ชุมชนเกาะลอย
  • ชุมชนปอยปริง-ปอยหลวง
  • ชุมชนสุรินทร์ภักดี
  • ชุมชนประทุมเมฆ
  • ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์
  • ชุมชนหมอกวน
  • ชุมชนตาดอก
  • ชุมชนศรีบัวราย
  • ชุมชนหนองบัว
  • ชุมชนโดนไข
  • ชุมชนศรีดอกจาน
  • ชุมชนศรีเทพ
  • ชุมชนบูรพาราม
  • ชุมชนมั่งมีศรีสุข
  • ชุมชนปัทมานนท์
  • ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์ 2
  • ชุมชนโนงปรีง

การขนส่ง

แก้

ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ และสถานีรถไฟสุรินทร์ นอกจากนี้ ยังมีท่าอากาศยานใกล้เคียง คือ ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล

นายกเทศมนตรี

แก้
ลำดับ ชื่อ-สกุล วาระ
1 นายขาว ธรรมสุชาติ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2490
2 นายประธาน วิเชียร 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2492
3 นายมานิต จินดากุล 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493
4 นายผาย ระดมสุข 1 ธันวาคม พ.ศ. 2493 - 25 กันยายน พ.ศ. 2494
5 นายประธาน วิเชียร 26 กันยายน พ.ศ. 2494 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2507
6 นายสวัสดิ์ ชาญวิจิตร 5 มีนาคม พ.ศ. 2507 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2507
7 ร.ต.ท.บุศย์ จินตนา 16 ธันวาคม พ.ศ. 2507 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2510
8 นายศักดิ์ศิลป์ สุขจาติ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 - 30 มกราคม พ.ศ. 2511
9 นายขาว ธรรมสุชาติ 31 มกราคม พ.ศ. 2511 - 14 มกราคม พ.ศ. 2516
10 นายชวาล วรรณศรี 15 มกราคม พ.ศ. 2516 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517
11 นายพิบูล รัตนจันทร์ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2517 - 5 มกราคม พ.ศ. 2518
12 นายสินชัย ธนสมุทร 6 มกราคม พ.ศ. 2518 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
13 นายพิบูล รัตนจันทร์ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2520
14 นายสินชัย ธนสมุทร 2 สิงหาคม พ.ศ. 2520 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2523
15 นายสมบูรณ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2523 - 24 กันยายน พ.ศ. 2528
16 นายพัฒนา ผ่องใส 25 กันยายน พ.ศ. 2528 - 2 กันยายน พ.ศ. 2529
17 นายวิรัช รัศมีเทศ 3 กันยายน พ.ศ. 2529 - 25 กันยายน พ.ศ. 2529
18 นายสมบูรณ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์ 16 กันยายน พ.ศ. 2529 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2533
19 นายศานิต หล่อเกษมศานต์ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
20 นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตร 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 - 27 กันยายน พ.ศ. 2535
21 นายรักษ์ หล่อเกษมศานต์ 28 กันยายน พ.ศ. 2535 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
22 นายฮุย รังคกูลนุวัฒน์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
23 นายสมโรจน์ คูกิจติเกษม 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
24 นายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
25 นายไพศาล ศรีสุรินทร์ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 - 3 มกราคม พ.ศ. 2543
26 นายบรรจง เลาหพงษ์ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
27 นายบรรจง เลาหพงษ์ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
28 นายพีระ บุญศิริธรรมชัย 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2545
29 นายบรรจง เลาหพงษ์ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 เมษายน พ.ศ. 2546
30 นายพิเชต จันทร์เจริญชัย 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546
31 นายกริช เกตุเอี่ยม 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2547
32 นายสมชาย เกียรติคุณรัตน์ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 31 มกราคม พ.ศ. 2551
33 นายสมบูรณ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
34 นายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ 21 เมษายน พ.ศ. 2555 - 20 เมษายน พ.ศ. 2559

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้