อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง | |
---|---|
ชื่อทางการ | โครงการชลประทาน อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง |
ที่ตั้ง | ตำบลนอกเมือง ตำบลเฉนียงและตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2495 |
เปิดดำเนินการ | พ.ศ. 2521 |
ผู้ดำเนินการ | กรมชลประทาน |
เขื่อนและทางน้ำล้น | |
ปิดกั้น | ห้วยเสนง/ห้วยอำปึล |
ความสูง | 20 เมตร |
ความยาว | 4.4 กิโลเมตร |
อ่างเก็บน้ำ | |
ปริมาตรกักเก็บน้ำ | 20.8 ล้านลูกบาศก์เมตร |
ประวัติความเป็นมา
แก้คำว่าห้วยเสนง มาจากคำว่า “แสน็ง” เป็นภาษาพื้นบ้านหรือภาษาเขมรถิ่นไทย กรมชลประทาน ได้ดำเนินการสำรวจออกแบบโครงการชลประทานห้วยเสนง[1] เป็นโครงการแรกของจังหวัดสุรินทร์ และเริ่มงานก่อสร้างในปี พ.ศ. 2495 งานชลประทานในจังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่เป็นโครงการชลประทานประเภทเก็บกักน้ำด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำและฝาย ในปี พ.ศ. 2527 กรมชลประทานได้จัดตั้งโครงการชลประทานสุรินทร์ เป็นหน่วยงานในสังกัดของกรมชลประทาน โครงการชลประทานสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง หมู่ที่ 2 บ้านทำเนียบ ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พิกัด 48 PUB 383 – 380 ระวาง 5638 I (1 : 50,000) อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง เป็นอ่างเก็บน้ำลักษณะเขื่อนดิน อยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 7 กิโลเมตร
อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง[2] สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2521 ปิดกั้นห้วยเสนงและลำน้ำอำปึลที่บ้านโคกจ๊ะ-บ้านถนน-บ้านเฉนียง ที่รับน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำอำปึลเป็นอ่างแฝดทางด้านเหนือเขื่อนซึ่งเป็นฝ่ายส่งน้ำและบำรุง รักษาที่ 1 ชลประทานสุรินทร์ จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ
ลักษณะทั่วไป
แก้อ่างเก็บน้ำห้วยเสนงมีความสูงจากท้องน้ำ 20 เมตร สันเขื่อนยาว 4.4 กิโลเมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ 20.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำห้วยเสนงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวสุรินทร์มาเป็นเวลานาน ได้ชื่อว่าทะเลสุรินทร์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสวรรค์ชายหาดของคนชาวสุรินทร์ นอกจากนี้บนสันเขื่อนมีที่กว้างออกคล้ายแหลมไปซึ่งเป็นที่ตั้งของ เรือนรับรองที่ประทับแรมของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือ เรือนรับรองที่ประทับ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง เมื่อครั้งเสด็จประพาสและทรงงาน ซึงเปิดให้นักท่องเที่ยวได้ชม มีเขตพระราชฐานอยู่ด้านในโครงการชลประทาน และมีจุดชมวิวให้ชมอีกด้วย และยังเป็นที่ประทับรับรองพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ครั้นยังทรงพระชนม์) ในยามที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดอีสานใต้
สถานการณ์น้ำแห้งขอด
แก้สภาพ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2562 น้ำแห้งขอด[3] ถึงขั้นวิกฤต ผู้สื่อข่าวประจำท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์ รายงานว่าภายหลังจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะได้ลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อตรวจเยี่ยมและรับฟังผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของโรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้เดินทางไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง[4] ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อสำรวจรวบรวมข้อมูลนำเสนอ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ มีกำหนดการลงพื้นที่ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง เพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในวันที่ 19 ส.ค.62 นี้
หลังปรากฏ น้ำภายในอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงแห่งนี้ แห้งเหือดจนเห็นเสาประภาคาร[5] อาคารสูบน้ำประปาหล่อเลี้ยงคนเมืองสุรินทร์ นำประปาไม่ไหลมานานกว่า 1 สัปดาห์ และเป็นครั้งแรกในรอบ 41 ปี โดยมีต้นเหตุมาจากฝนที่ทิ้งช่วงมานานร่วม 2 เดือน ทำน้ำห้วยเสนงแห้งขอด[6] จนต้องหาแหล่งน้ำดิบแห่งใหม่ เพื่อนำน้ำมาเติมอ่างห้วยเสนงผลิตน้ำประปา โดยได้ทำการสูบน้ำจากบ่อหินของเอกชนโรงโม่หินมุ่งเจริญ บ่อ 1 ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้ว จนระดับน้ำใกล้หมดแล้ว ซึ่งขณะนี้ ชลประทานสุรินทร์ ได้ทำการย้ายเครื่องสูบมาติดตั้งที่บ่อเหมืองหินมุ่งเจริญบ่อที่ 2 ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ ปริมาณน้ำประมาณ 3 ล้าน ลบ.ม. คาดใช้เวลาอีก 2 วัน จึงจะติดตั้งเสร็จและเริ่มสูบน้ำ ไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงต่อไป
ทั้งนี้ นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้ออก ประกาศกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง เขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยในพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จำนวน 31 ชุมชน เพื่อประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 เรียบร้อยแล้ว
การเดินทาง
แก้อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนสายสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข 214) ประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 5-6 แยกซ้ายมือไปทางถนนริมคลองชลประทาน มีป้ายชื่อว่า โครงการชลประทานสุรินทร์ สำนักชลประทานที่ ๘ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
อ้างอิง
แก้- ↑ "ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศเรียกเก็บค่าชลประทานห้วยเสนง จ.สุรินทร์". bangkokbiznews. 2021-06-30.
- ↑ "แห่เล่นน้ำล้นสปิลเวย์อ่างห้วยเสนง". เนชั่นทีวี. 2020-10-22.
- ↑ https://www.matichon.co.th/region/news_1472289
- ↑ "สนทช.รับนโยบาย รองนายกฯ ลงพื้นที่สุรินทร์ แก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำซาก". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง สุรินทร์ วิกฤตแล้งหนักในรอบ 41 ปี". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "อ่างฯ ห้วยเสนงยังไม่พ้นวิกฤต! เหตุผันน้ำเต็มได้น้อย ผลิตประปาไม่พอเลี้ยงเมืองสุรินทร์". mgronline.com. 2019-08-14.