โรงเรียนโชคเพชรพิทยา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
โรงเรียนโชคเพชรพิทยา จังหวัดสุรินทร์ Chokepetchpittaya School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
โรงเรียนโชคเพชรพิทยา ถ.สุรินทร์ - กระสัง ต.คอโค อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ช.พ. |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สหศึกษา |
คำขวัญ | ความรู้คู่คุณธรรม : ผู้มีความรู้ถือได้ว่าเป็นผู้ประเสริฐแล้ว ยิ่งมีทั้งความรู้มีทั้งคุณธรรมยิ่งประเสริฐกว่า |
สถาปนา | 16 พฤษภาคมพ.ศ. 2534 |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
ผู้อำนวยการ | นายวิชัย สนทอง(ปัจจุบัน) |
สี | เขียว ส้ม |
เพลง | มาร์ชโชคเพชร |
เว็บไซต์ | http://www.chokepeth.ac.th |
ประวัติโรงเรียนโชคเพชรพิทยา
แก้โรงเรียนโชคเพชรพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จังหวัดสุรินทร์กระทรวงศึกษาธิการ แต่เดิมตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านนานวล ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เริ่มแรกก่อตั้งนั้นเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนสวายวิทยาคาร ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายพร สายแก้ว ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวายวิทยาคารขณะนั้น ร่วมกับผู้นำชุมชนนายสวัสดิ์ เรืองสุข กำนันตำบลคอโคและชาวบ้านสมัยนั้น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาของเยาวชนในชุมชนนั้นที่ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษา และเพื่อเปิดขยายโอกาสการศึกษาให้กับเยาวชน จึงได้จัดตั้งโรงเรียนสาขาที่หมู่บ้านนานวล ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยอาศัยศาลาหมู่บ้านนานวลเป็นที่เรียนหนังสือโดยเปิดเรียน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 โดยมีนายฤกษ์ชัย พวงนาค เป็นผู้ดูแลโรงเรียน มีนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 56 คน
ในปีการศึกษา 2535 นายปราสาท ธนาสูรย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสวายวิทยาคารที่ย้ายมาใหม่ในขณะนั้น ร่วมกับนายฤกษ์ชัย พวงนาค เห็นว่าที่เรียนของนักเรียนคับแคบและไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จึงได้ร่วมกันกับผู้นำหมู่บ้านและประชาชนในตำบล ได้ขอบริจาคอาคารเรียนชั่วคราวจากโรงเรียนสิรินธร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พร้อมกับโต๊ะ เก้าอี้จำนวนหนึ่ง โดยนำมาปลูกสร้างเป็นอาคารชั่วคราว โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดีในการร่วมกัน บริจาคเงิน บริจาคไม้ บริจาค อาหารและแรงงานในการก่อสร้างเป็นเวลาร่วม 4 เดือนเศษ ในปีนี้เองมีครูมาช่วยสอนจำนวน 4 คน และมีนักเรียนชั้น ม. 1 และ ม. 2 รวมเป็น จำนวน 149 คน
ต่อมานายฤกษ์ชัย พวงนาค และคณะครูได้เล็งเห็นว่าสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนในปัจจุบันคับแคบ พื้นที่ไม่เหมาะที่จะสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาไม่เหมาะที่จะขยายระดับการศึกษาให้สูงขึ้นได้ จึงได้ขอที่สาธารณประโยชน์ ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 9 และ 10 ถนนสุรินทร์-กระสัง จากสภาตำบลคอโคในขณะนั้น จำนวนเบื้องต้น 50ไร่และได้รับการอนุมัติและเห็นด้วยในการย้ายสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมาอยู่ที่ในปัจจุบัน
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญ
แก้ใน พ.ศ. 2536 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2536 ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนโชคเพชรพิทยา” ใช้อักษรย่อว่า “ช.พ.” เป็นโรงเรียนสหศึกษาเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีนายฤกษ์ชัย พวงนาค เป็นครูใหญ่คนแรก มีครูทั้งสิ้นจำนวน 10 คน นักเรียน 278 คน
ปีการศึกษา 2537 สถานศึกษาได้ย้ายสถานที่เรียนมาอยู่ที่โรงเรียนโชคเพชรพิทยาในปัจจุบันนี้
ปีการศึกษา 2540 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โปรแกรมวิทย์-คณิตฯ มีจำนวนนักเรียนศึกษาต่อระดับชั้น ม.4 จำนวน 41 คน
ในปีการศึกษา 2541 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาในการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวกึ่งถาวร เป็นจำนวนเงิน 1,200,000 บาท (ประกวดราคาใช้งบ 782,000 บาท) มีจำนวน 6 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (รพชส.)
ปี พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้จัดทำและรายงานตนเองเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้รับงบประมาณ สร้างโรงอาหารขนาด 300 ที่ งบราคา 1,920,000.-บาท และกรมประมงจังหวัดสุรินทร์ ได้ขุดบ่อเลี้ยงปลา ประมงหมู่บ้าน งบประมาณ 120,000.-บาท จำนวน 1 บ่อ
ในปี พ.ศ. 2546 โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2544 หลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนในระดับชั้น ม.1 และ ม.4 และโรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษา จาก สมศ. (องค์การมหาชน) ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2547
ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้ก่อสร้างกำแพงห้องประชุมเพื่อเตรียมสร้างห้องประชุมที่เป็นสัดส่วน โดยรับงบประมาณสนับสนุนจากผู้ปกครอง
ในปีการศึกษา 2549 โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองนักเรียนจัดทำผ้าป่ามอบให้เพื่อ ร่วมสบทบทุนในการก่อสร้างห้องประชุมนักเรียนและแล้วเสร็จในปีการศึกษา 2550 และตั้งชื่อเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า “ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550”
ในปีการศึกษา 2550 ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2550 โรงเรียนรับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 2 จาก สมศ. (องค์กรมหาชน) และผลการประเมินได้รับการรับรองว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน