แขวงจำปาศักดิ์
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
จำปาศักดิ์[2] หรือ จำปาสัก[2] (ลาว: ຈໍາປາສັກ) เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและประเทศกัมพูชา มีนครปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางและเกิดเกาะแก่งเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า "ดินแดนสี่พันเกาะ"
แขวงจำปาศักดิ์ ແຂວງຈຳປາສັກ | |
---|---|
แผนที่แขวงจำปาศักดิ์ | |
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงจำปาศักดิ์ | |
พิกัด: 14°52′59″N 105°51′58″E / 14.883°N 105.866°E | |
ประเทศ | ลาว |
เมืองเอก | ปากเซ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15,415 ตร.กม. (5,952 ตร.ไมล์) |
ประชากร (สำมะโน พ.ศ 2561) | |
• ทั้งหมด | 733,582 คน |
• ความหนาแน่น | 48 คน/ตร.กม. (120 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+7 (เวลาในประเทศลาว) |
รหัส ISO 3166 | LA-CH |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2560) | 0.604[1] ปานกลาง · อันดับที่ 6 |
แขวงจำปาศักดิ์เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ อาณาจักรจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ทั้งไทยและลาว โดยมีสงครามหลายครั้งทั้งในและรอบ ๆ จำปาศักดิ์[3] แขวงจำปาศักดิ์จึงมีมรดกทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่มากมาย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว โดยเฉพาะมรดกโลกปราสาทหินวัดพู นอกจากนี้ แขวงจำปาศักดิ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี น้ำตกผาส้วม เป็นต้น
ประวัติ
แก้อาณาจักรจำปาศักดิ์เกิดขึ้นหลังจากอาณาจักรฟูนานเสื่อมสลายลง ชาวลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนในแถบนี้ เกิดเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานครบุรีศรี หรือ จำปานคร ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สยัมภูปุระ[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ได้ทรงรวบรวมเมืองต่าง ๆ ของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าอาณาจักรล้านช้าง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่าง ๆ นานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชขึ้นครองราชย์และได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ต่อมาพระโอรสคือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างมาอยู่ที่กรุงศรีสตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เพื่อหลีกเลี่ยงอิทธิพลของอาณาจักรตองอู อาณาจักรล้านช้างมีความเจริญมา 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอลง หัวเมืองต่างๆ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาศักดิ์ ตรงกับสมัยกรุงธนบุรีของสยาม ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักรตกเป็นเมืองขึ้นของสยามนานถึง 114 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2436 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงรวมทั้งแขวงจำปาศักดิ์บางส่วนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ขณะที่ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงบริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับมณฑลอุบลตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสในเวลาต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2447[ต้องการอ้างอิง]
ช่วง พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน ประเทศไทยได้รับดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสบางส่วนคืนจากฝรั่งเศส โดยนำท้องที่การปกครองเมืองจำปาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมไปถึงดินแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ได้แก่พื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสตึงแตรงและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพระวิหาร ยกขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ โดยมีเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เป็นผู้ครองนคร แต่เมื่อสงครามสิ้นสุด ไทยในฐานะผู้แพ้สงครามต้องส่งดินแดนดังกล่าวคืนให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2497 จึงได้รวมอาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 อาณาจักรขึ้นเป็นราชอาณาจักรลาว พื้นที่ดังกล่าวจึงได้ยกขึ้นเป็นแขวงจำปาศักดิ์ของประเทศลาวมาจนถึงปัจจุบัน โดยเจ้าครองนครองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์[ต้องการอ้างอิง]
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้ง
แก้อาณาเขตติดต่อ
แก้- ทิศเหนือ ติดต่อกับ แขวงสาละวันและแขวงเซกอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แขวงอัตตะปือ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสตึงแตรงและ จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอโขงเจียม, อำเภอสิรินธร และ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
ภูมิประเทศ
แก้แขวงจำปาศักดิ์ มีพื้นที่ทั้งหมด 15,415 ตารางกิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง] มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ตำแหน่งที่ชายแดนทั้ง 3 ประเทศบรรจบกันเรียกว่า "สามเหลี่ยมมรกต" สภาพพื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำเซโดนบริเวณตอนกลาง มีแนวเทือกเขาสูงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และติดต่อกับที่ราบสูงบอละเวนทางทิศตะวันออก ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,500-1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่โดยทั่วไปมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร
ภูมิอากาศ
แก้แขวงจำปาศักดิ์มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส แต่บริเวณทางทิศเหนือของแขวงที่เมืองปากซ่องมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ปริมาณน้ำฝนระดับ 1,400-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ยกเว้นที่ราบสูง
ทรัพยากร
แก้ทรัพยากรป่าไม้
แก้- เขตป่าสงวนแห่งชาติเซเบียน
- เขตป่าสงวนแห่งชาติดงหัวสาว
- เขตป่าสงวนแห่งชาติภูเซียงทอง
เขตการปกครอง
แก้แขวงจำปาศักดิ์ประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[3][4]
แผนที่ | รหัส | ชื่อ | อักษรลาว |
---|---|---|---|
16-01 | เมืองปากเซ | ເມືອງປາກເຊ | |
16-02 | เมืองชนะสมบูรณ์ | ເມືອງຊະນະສົມບູນ | |
16-03 | เมืองบาเจียงเจริญสุข | ເມືອງບາຈຽງຈະເລີນສຸກ | |
16-04 | เมืองปากช่อง | ເມືອງປາກຊ່ອງ | |
16-05 | มืองปทุมพร | ເມືອງປະທຸມພອນ | |
16-06 | เมืองโพนทอง | ເມືອງໂພນທອງ | |
16-07 | เมืองจำปาศักดิ์ | ເມືອງຈຳປາສັກ | |
16-08 | เมืองสุขุมา | ເມືອງສຸຂຸມາ | |
16-09 | เมืองมูลปาโมกข์ | ເມືອງມູນລະປະໂມກ | |
16-10 | เมืองโขง | ເມືອງໂຂງ |
ประชากร
แก้ประชากรแขวงจากสำมะโน พ.ศ. 2558 มี 694,023 คน[5]
การคมนาคม
แก้ทางหลวง
แก้- ทางหลวงหมายเลข 13 (ใต้) เชื่อมต่อกับแขวงสาละวัน แขวงสุวรรณเขต แขวงคำม่วน แขวงบอลิคำไซ นครหลวงเวียงจันทน์ และประเทศกัมพูชา
- ทางหลวงหมายเลข 16 เชื่อมต่อกับประเทศไทย
- ทางหลวงหมายเลข 18 เชื่อมต่อกับแขวงอัตตะปือ
- ทางหลวงหมายเลข 20 เชื่อมต่อกับเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน
- ทางหลวงหมายเลข 23 เชื่อมต่อกับแขวงเซกอง
เรือโดยสาร
แก้- เรือโดยสารตามแม่น้ำโขง จากปากเซไปยังจำปาศักดิ์ และบริเวณสี่พันเกาะ
ท่าอากาศยาน
แก้ด่านพรมแดนที่สำคัญ
แก้- ด่านพรมแดนวังเต่า ติดต่อกับประเทศไทยที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร
- ด่านพรมแดนเวินคาม ติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางเรือโดยสารตามแม่น้ำโขงไปยังเมืองสตึงแตรง
- ด่านพรมแดนดงกระลอ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาที่ด่านดงกะลอ จังหวัดสตึงแตรง โดยทางหลวงหมายเลข 13 (ใต้) ของลาวเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 7 ของกัมพูชา
การเดินทางจากพรมแดนไทย
แก้จากด่านพรมแดนช่องเม็ก สามารถเดินทางผ่านด่านพรมแดนวังเต่าเข้าสู่ประเทศลาว จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 16 (เป็นถนนลาดยาง) ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร ข้ามแม่น้ำโขงที่สะพานลาว-ญี่ปุ่น ความยาว 1,380 เมตร เข้าสู่เมืองปากเซ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง โดยสามารถใช้บริการรถโดยสารจากชายแดนไทยที่สถานีขนส่งลาว ห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองลาวประมาณ 300 เมตร มีทั้งรถโดยสารประจำทางและรถสองแถววันละหลายเที่ยว (แต่ถ้ามีประมาณ 3-4 คน แนะนำให้ใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จะสะดวกและเร็วกว่า) นอกจากนี้ทั้งประเทศลาวและไทยได้ร่วมมือกันจัดเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ จากตัวเมืองอุบลราชธานี-ปากเซ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
เมืองสำคัญ
แก้เมืองปากเซ
แก้เมืองปากเซ เป็นเมืองเอกของแขวงจำปาศักดิ์ และถือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีประชากรประมาณ 70,000 คน เป็นเมืองที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม ทั้งชาวลาว ชาวจีน และชาวเวียดนาม บรรยากาศทั่วไปเงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตเรียบง่าย
เมืองจำปาศักดิ์
แก้เมืองจำปาศักดิ์ (บ้านวัดทุ่ง) เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจำปาศักดิ์ และเคยเป็นเมืองเอกของแขวงจำปาศักดิ์ ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ภายหลังการยึดครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2448 เมืองจำปาศักดิ์ได้ถูกลดความสำคัญลงเป็นเมืองบริวารของแขวง โดยย้ายเมืองเอกไปยังเมืองปากเซทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ห่างจากเมืองจำปาศักดิ์ไปทางทิศเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร
อ้างอิง
แก้- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.แม่แบบ:Nonspecific
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ 3.0 3.1 "Destination: Champasack Province Destination". Laos Tourism Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2012. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
- ↑ "Provinces of Laos". Statoids.com. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
- ↑ "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). Lao Statistics Bureau. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
บรรณานุกรม
แก้- Burke, Andrew; Vaisutis, Justine (2007). Laos 6th Edition. Lonely Planet. pp. 255–56. ISBN 9781741045680.
- Bush, Austin; Elliot, Mark; Ray, Nick (1 December 2010). Laos 7. Lonely Planet. p. 12. ISBN 978-1-74179-153-2.
- Mansfield, Stephen; Koh, Magdalene (1 September 2008). Laos. Marshall Cavendish. p. 10. ISBN 978-0-7614-3035-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว จำปาศักดิ์ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- คู่มือการท่องเที่ยว ปากเซ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)