อำเภอสิรินธร
อำเภอสิรินธร เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นส่วนตะวันออกสุดของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอสิรินธร พ.ศ. 2534 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2535
อำเภอสิรินธร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sirindhorn |
![]() วัดสิรินธรวราราม ภูพร้าว | |
คำขวัญ: เจ้าฟ้าประทานนาม งามตำหนักราชสุดา พุทธปฏิมาสิรินธร ออนซอนพลังไฟฟ้า ค้าขายไทย-ลาว ตะนะพราวแก่งงาม | |
![]() แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอสิรินธร | |
พิกัด: 15°12′6″N 105°23′54″E / 15.20167°N 105.39833°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | อุบลราชธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 759.860 ตร.กม. (293.384 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 55,008 คน |
• ความหนาแน่น | 72.39 คน/ตร.กม. (187.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 34350 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3425 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสิรินธร ถนนสถิตนิมานการ ตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 34350 |
![]() |
อำเภอสิรินธรยังเป็นที่ตั้งของเขื่อนสิรินธรและจุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก ช่องการค้าชายแดนไทย-ลาวด้วย
ที่ตั้งและอาณาเขต แก้ไข
อำเภอสิรินธรตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโขงเจียม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงจำปาศักดิ์ (ประเทศลาว)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบุณฑริก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพิบูลมังสาหาร
ประวัติ แก้ไข
อำเภอสิรินธรได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ต้องผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษาในปี พ.ศ. 2534 โดยได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธยของพระองค์เป็นชื่ออำเภอเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2533[1]
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ตำบลคำเขื่อนแก้ว ของอำเภอโขงเจียม และตำบลคันไร่ ตำบลช่องเม็ก ตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ตำบลโนนก่อ ตำบลฝางคำ ของอำเภอพิบูลมังสาหาร มีท้องที่กว้างขวาง มีชุมชนและชุมชนการค้าหนาแน่น มีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมาก สมควรแยกตำบลดังกล่าวออกจากอำเภอโขงเจียมและอำเภอพิบูลมังสาหาร จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอมีชื่อว่า “อำเภอสิรินธร” เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ ความสะดวกของประชาชน และส่งเสริมให้ท้องที่มีความเจริญยิ่งขึ้นตลอดจนเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่มีพระชันษาครบ ๓ รอบ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
การแบ่งเขตการปกครอง แก้ไข
การปกครองส่วนภูมิภาค แก้ไข
อำเภอสิรินธรแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 77 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | คันไร่ | (Khan Rai) | 16 หมู่บ้าน | |||
2. | ช่องเม็ก | (Chong Mek) | 13 หมู่บ้าน | |||
3. | โนนก่อ | (Non Ko) | 14 หมู่บ้าน | |||
4. | นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย | (Nikhom Sang Ton Eng Lam Dom Noi) | 13 หมู่บ้าน | |||
5. | ฝางคำ | (Fang Kham) | 4 หมู่บ้าน | |||
6. | คำเขื่อนแก้ว | (Kham Khuean Kaeo) | 16 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไข
ท้องที่อำเภอสิรินธรประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลช่องเม็ก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลช่องเม็ก
- เทศบาลตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคันไร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนก่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนก่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่องเม็ก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลช่องเม็ก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฝางคำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำเขื่อนแก้วทั้งตำบล
ภูมิปัญญา แก้ไข
อำเภอสิรินธรมีภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม โภชนาการ และอาหารแปรรูป ที่สำคัญ เช่น น้ำปลา ปลาร้า แจ่วบอง ปลาส้ม เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่มีความโดดเด่นค่อนข้างสูง เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง รองลงมาคือ ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม เช่น การจักสานไม้กวาดดอกหญ้า กิจกรรมที่แสดงถึงภูมิปัญญาด้านการบริหารจัดการองค์กรชุมชนสวัสดิการชุมชน เช่น องค์กรระดับกลุ่มดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านสมุนไพร การจัดสวัสดิการชุมชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีด้านแพทย์แผนไทยสมุนไพร เช่น การนวดแผนไทย การอบสมุนไพร เป็นต้น ถือได้ว่าศักยภาพทั้ง 3 ด้านจัดอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากเป็นที่รู้จักกันเฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น
สิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์โดดเด่นของภูมิปัญญา คือ ไม้กวาดดอกหญ้า กลุ่มอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้า ตำบลคำเขื่อนแก้ว ปลาร้า แจ่วบอง ปลาส้ม กลุ่มอาชีพสตรีบ้านคำกลาง ตำบลฝางคำ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาส้มแม่พุก บ้านแหลมสวรรค์ ตำบลนิคมลำโดมน้อย [2]
โรงเรียน แก้ไข
โรงเรียนมัธยม สพฐ.
- โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2
- โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์
- โรงเรียนบ้านหนองเม็ก
- โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87
- โรงเรียนบ้านโคกเที่ยง
- โรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส
- โรงเรียนบ้านคำก้อม
โรงเรียนอาชีวศึกษา สพป.อบ.3
สถานที่สำคัญ แก้ไข
- เขื่อนสิรินธร
- จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก เป็นด่านพรมแดนการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว
- พัทยาน้อย / ภูทอง
- น้ำตกตาดโตน
- อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
- วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว
อ้างอิง แก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอสิรินธร