ราชวงศ์ตองอู
ราชวงศ์ตองอู (อังกฤษ: Toungoo Dynasty; พม่า: တောင်ငူခေတ်, [tàuɴŋù kʰɪʔ] เต่าง์หงู่คิ) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน
ราชวงศ์ตองอู တောင်ငူခေတ် | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1510–ค.ศ. 1752 | |||||||||||||||||||||||||||
แผนที่จักรวรรดิตองอูช่วงรุ่งเรืองสูงสุดในปี พ.ศ. 2123 | |||||||||||||||||||||||||||
แผนที่ยุคฟื้นฟูจักรวรรดิตองอูหรือสมัยญองยานในปี พ.ศ. 2194 | |||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | เกตุมะดี (ค.ศ. 1510–1539) หงสาวดี (ค.ศ. 1539–1599) อังวะ (ค.ศ. 1599–1613) หงสาวดี (ค.ศ. 1613–1635) อังวะ (ค.ศ. 1635–1752) | ||||||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ทางการ ภาษาพม่า ภูมิภาค
| ||||||||||||||||||||||||||
ศาสนา | ทางการ พุทธศาสนาเถรวาท ส่วนน้อย
| ||||||||||||||||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1485-1530 | พระเจ้าเมงจีโย | ||||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1530–50 | พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ | ||||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1550–81 | พระเจ้าบุเรงนอง | ||||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1605–28 | พระเจ้าอะเนาะเพะลูน | ||||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1629–48 | พระเจ้าตาลูน | ||||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1733–52 | พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี | ||||||||||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||||||||
• ก่อตั้งราชวงศ์ | ค.ศ. 1485 | ||||||||||||||||||||||||||
• เอกราชจากอังวะ | 16 ตุลาคม ค.ศ. 1510 | ||||||||||||||||||||||||||
• เริ่มจักรวรรดิตองอู | ค.ศ. 1510 – ค.ศ. 1599 | ||||||||||||||||||||||||||
• ฟื้นฟูจักรวรรดิตองอู | ค.ศ. 1599 – ค.ศ. 1752 | ||||||||||||||||||||||||||
• ราชวงศ์ล่มสลาย | 23 มีนาคม ค.ศ. 1752 | ||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1580 | 1,550,000 ตารางกิโลเมตร (600,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1650 | 750,000 ตารางกิโลเมตร (290,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1580 | 6000000 | ||||||||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1650 | 3000000 | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า
ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มอิรวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิรวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ"
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป
มีความพยายามฟื้นฟูอาณาจักรจากพระเจ้าญองยานและพระเจ้าอะเนาะเพะลูนซึ่งเรียกกันว่า "สมัยญองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้วมอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา
ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2142 คือตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเมงจีโยจนถึงพระเจ้านันทบุเรง และราชวงศ์ตองอูตอนปลายหรือยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2295 ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าญองยานจนถึงการสถาปนาอำนาจขึ้นมาของพระเจ้าอลองพญา
ลำดับที่ | พระฉายาลักษณ์ | พระนาม | ระยะเวลาในราชสมบัติ |
---|---|---|---|
1 | พระเจ้าเมงจีโย | พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2074 | |
2 | พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ | พ.ศ. 2074 - พ.ศ. 2094 | |
3 | พระเจ้าบุเรงนอง | พ.ศ. 2094 - พ.ศ. 2124 | |
4 | พระเจ้านันทบุเรง | พ.ศ. 2124 - พ.ศ. 2142 | |
5 | พระเจ้าญองยาน | พ.ศ. 2142 - พ.ศ. 2148 | |
6 | พระเจ้าอะเนาะเพะลูน | พ.ศ. 2148 - พ.ศ. 2171 | |
7 | พระเจ้ามีนเยเดะบะ | พ.ศ. 2171 - พ.ศ. 2172 | |
8 | พระเจ้าตาลูน | พ.ศ. 2172 - พ.ศ. 2191 | |
9 | พระเจ้าปีนดะเล | พ.ศ. 2191 - พ.ศ. 2204 | |
10 | พระเจ้าปเย | พ.ศ. 2204 - พ.ศ. 2215 | |
11 | พระเจ้านะราวะระ | พ.ศ. 2215 - พ.ศ. 2216 | |
12 | พระเจ้ามังกะยอดิน | พ.ศ. 2216 - 2241 | |
13 | พระเจ้าสเน่ห์มิน | พ.ศ. 2241 - พ.ศ. 2257 | |
14 | พระเจ้าตะนินกันเหว่ | พ.ศ. 2257 - พ.ศ. 2276 | |
15 | พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี | พ.ศ. 2276 - 2295 |
อ้างอิง
แก้- Victor B. Lieberman, "Burmese Administrative Cycles: Anarchy and Conquest, c. 1580–1760", Princeton University Press, 1984.