อาณาจักรหงสาวดี
อาณาจักรหงสาวดี (พม่า: ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော်; มอญ: ဟံသာဝတဳ, [hɔŋsawətɔe]; บางครั้งเรียก กรุงหงสาวดี หรืออย่างสั้น พะโค) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่างตั้งแต่ พ.ศ. 1830 จนถึง พ.ศ. 2082 และระหว่าง พ.ศ. 2093–2095 เป็นอาณาจักรของผู้ที่พูดภาษามอญ ก่อตั้งในฐานะรามัญประเทศ (พม่า: ရာမညဒေသ, มอญ: ရးမည) โดยพระเจ้าฟ้ารั่วหรือมะกะโท หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกามใน พ.ศ. 1830[1]: 205–206, 209 เป็นประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัยและราชวงศ์หยวนของมองโกลที่ปกครองจีน[2] อาณาจักรนี้เป็นอิสระจากสุโขทัยใน พ.ศ. 1873 แต่ยังคงเป็นพันธมิตรกับสามดินแดนสำคัญของอาณาจักร คือ เขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี, หงสาวดีและเมาะตะมะ เมาะตะมะได้เกิดกบฏขึ้นใน พ.ศ. 1906–1931
อาณาจักรหงสาวดี ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော် | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 1830–พ.ศ. 2095 | |||||||||
ธงอาณาจักรหงสาวดี | |||||||||
อาณาจักรหงสาวดี ประมาณ พ.ศ. 1993 | |||||||||
สถานะ | อาณาจักร | ||||||||
เมืองหลวง | เมาะตะมะ (พ.ศ. 1830–1907) โดนวู่น (พ.ศ. 1907–1912) หงสาวดี (พ.ศ. 1912–2081, พ.ศ. 2093–2095) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษามอญ | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||
• พ.ศ. 1830–1850 | พระเจ้าฟ้ารั่ว | ||||||||
• พ.ศ. 1927–1964 | พระเจ้าราชาธิราช | ||||||||
• พ.ศ. 1997–2014 | พระนางเชงสอบู | ||||||||
• พ.ศ. 2014–2035 | พระเจ้าธรรมเจดีย์ | ||||||||
• พ.ศ. 2069–2082 | พระเจ้าสการวุตพี | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้งอาณาจักร | 4 เมษายน พ.ศ. 1830 | ||||||||
• ประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัย | พ.ศ. 1836–1873 | ||||||||
พ.ศ. 1928–1967 | |||||||||
• ยุคทอง | พ.ศ. 1969–2077 | ||||||||
พ.ศ. 2077–2084 | |||||||||
• การล่มสลายของหงสาวดีครั้งที่ 2 | 12 มีนาคม พ.ศ. 2095 | ||||||||
|
ประวัติศาสตร์
แก้การปกครองของพระเจ้าราชาธิราชใน พ.ศ. 1927–1964 ได้รวมอาณาจักรของชาวมอญเข้าเป็นหนึ่งเดียวและประสบความสำเร็จต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรอังวะ อาณาจักรของผู้ที่พูดภาษาพม่าจากทางเหนือ ในช่วงสงครามสี่สิบปี (พ.ศ. 1928–1967) และสามารถขยายตัวไปทางตะวันตกได้อาณาจักรยะไข่ ไว้ในอำนาจระหว่าง พ.ศ. 1956–1964 สงครามสิ้นสุดลงโดยเสมอกัน แต่ถือเป็นชัยชนะของอาณาจักรหงสาวดีที่สามารถขัดขวางการสถาปนาอาณาจักรพุกามอีกครั้งของอังวะ ในช่วงหลายปีหลังสงครามหงสาวดีได้ช่วยเหลือรัฐบรรณาการทางตอนใต้ของอังวะคือ อาณาจักรแปร และอาณาจักรตองอูในการก่อกบฏต่ออังวะ
หลังสงครามหงสาวดีเข้าสู่ยุคทองในขณะที่อาณาจักรอังวะตกต่ำลง ราว พ.ศ. 1963–2073 หงสาวดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดในบรรดาอาณาจักรทั้งหลายที่เกิดขึ้นหลังอาณาจักรพุกามล่มสลาย ภายใต้การปกครองของกษัตริย์หลายพระองค์ เช่น พญารามที่ 1, พระนางเชงสอบู, พระเจ้าธรรมเจดีย์ และพญารามที่ 2 อาณาจักรนี้มีบทบาทสำคัญทางการค้าในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย เป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ทั้งยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศรีลังกา มีการปฏิรูปและสนับสนุนศาสนาจนแพร่กระจายไปทั่วประเทศในภายหลัง[3]
อาณาจักรค่อย ๆ อ่อนแอลงตั้งแต่ พ.ศ. 2077 ภายใต้การรุกรานอย่างต่อเนื่องโดยอาณาจักรตองอูจากพม่าตอนบน พระเจ้าสการะวุตพีไม่สามารถต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรตองอู ซึ่งนำโดยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระเจ้าบุเรงนอง ตองอูเข้ายึดครองหงสาวดีและที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีได้ใน พ.ศ. 2081–2082 และเมาะตะมะใน พ.ศ. 2084[4] อาณาจักรนี้ฟื้นตัวขึ้นมาได้อีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2093 หลังพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สิ้นพระชนม์ แต่มีอำนาจปกครองเพียงแค่เมืองหงสาวดี ก่อนถูกพระเจ้าบุเรงนองปราบได้อย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2095
แม้ว่ากษัตริย์ในราชวงศ์ตองอูจะปกครองพม่าตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ยุคทองของอาณาจักรหงสาวดียังเป็นที่จดจำของชาวมอญในพม่าตอนล่าง ปี พ.ศ. 2283 ได้มีการก่อกบฎต่อต้านราชวงศ์ตองอูที่อ่อนแอและก่อตั้งอาณาจักรหงสาวดีใหม่
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Htin Aung 1967: 78–80
- ↑ Myint-U 2006: 64–65
- ↑ Harvey 1925: 153–157
- บรรณานุกรม
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
- Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
- Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2004 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.