อาณาจักรอังวะ (พม่า: အင်းဝခေတ်, ออกเสียง: [ʔɪ́ɰ̃.wa̰ kʰɪʔ]) อาณาจักรอิสระที่ปกครอง พม่าตอนบน ระหว่าง ค.ศ. 1364 ถึง 1555 สถาปนาเมื่อ ค.ศ. 1364 เป็นอาณาจักรที่สืบทอดจาก อาณาจักรมยีนไซ่ง์ อาณาจักรปี้นยะ และอาณาจักรซะไกง์ ที่ปกครองพม่าตอนกลางภายหลังจากการล่มสลายของ อาณาจักรพุกาม ในช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 13

อาณาจักรอังวะ

အင်းဝခေတ်
ค.ศ. 1364–ค.ศ. 1555
อาณาจักรอังวะ ประมาณ ค.ศ. 1450
อาณาจักรอังวะ ประมาณ ค.ศ. 1450
สถานะอาณาจักร
รัฐบรรณาการของ รัฐฉาน (ค.ศ. 1527 – 1555)
เมืองหลวงซะไกง์, ปี้นยะ, อังวะ
ภาษาทั่วไปพม่า
ฉาน
ศาสนา
พุทธเถรวาท
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ 
• ค.ศ. 1364–1367
พระเจ้าตะโดมินพญา
• ค.ศ. 1367–1400
พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา
• ค.ศ. 1400–1422
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
• ค.ศ. 1426–1439
พระเจ้าโม่ญี่นตะโด้
• ค.ศ. 1527–1542
พระเจ้าโตฮาน-บว่า
สภานิติบัญญัติลุตตอ
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
เมษายน ค.ศ. 1364
ค.ศ. 1385–1424
• ราชวงศ์โม่ญี่น
ค.ศ. 1426
• แยกตัวจากรัฐบรรณาการ
ค.ศ. 1480–1527
• ส่วนหนึ่งของรัฐฉาน
ค.ศ. 1527–1555
• ล่มสลาย
22 มกราคม ค.ศ. 1555
สกุลเงินจ๊าด
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรปี้นยะ
อาณาจักรซะไกง์
อาณาจักรตองอู
อาณาจักรแปร

เช่นเดียวกันกับอาณาจักรเล็กๆ ก่อนหน้าบริเวณนั้น กษัตริย์อังวะซึ่งเป็นชาวพม่าและฉาน ล้วนกล่าวว่าตนสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์พุกาม[1][2]

ประวัติ

แก้

อาณาจักรอังวะสถาปนาโดยพระเจ้าตะโดมินพญาในปี ค.ศ. 1364[3]: 227  หลังการล่มสลายของ อาณาจักรซะไกง์ และอาณาจักรปี้นยะ ในการรุกรานของรัฐฉานจากทางเหนือ ในปีแรกของการดำรงอยู่อังวะซึ่งมองตนเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากอาณาจักรพุกาม ได้พยายามที่จะรวบรวมดินแดนเมื่อครั้งที่สมัยอาณาจักรพุกามพิชิตได้ โดยการทำสงครามต่อเนื่องยาวนานกับอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญทางภาคใต้ รัฐฉานในภาคเหนือและภาคตะวันออก และรัฐยะไข่ทางภาคตะวันตก[1]

ในขณะที่สามารถยึดครองตองอูและบางส่วนของรัฐฉาน (กะเล่, โม่ญี่น, โมกองและตี่บอ) ช่วงจุดสูงสุดของการยึดครองดินแดนของอาณาจักรอังวะได้หยุดลงในช่วง สงครามสี่สิบปี กับอาณาจักรหงสาวดี (ค.ศ. 1385-1424) หลังจากนั้นในช่วงจากยุค ค.ศ. 1420 ถึงต้นยุค ค.ศ. 1480 อาณาจักรอังวะต้องเผชิญหน้ากับการกบฏกษัตริย์องค์ใหม่เข้ามามีอำนาจแทน ในยุค ค.ศ. 1480 และยุค ค.ศ. 1490 อาณาจักรแปรทางตอนใต้และรัฐฉานภายใต้อิทธิพลของอังวะในภาคเหนือประกาศอิสรภาพ และตองอูซึ่งเริ่มมีอำนาจเหนือกว่าอังวะ ในปี ค.ศ. 1510 ตองอูก็แยกตัวออกไป[1]

อังวะตกอยู่ภายใต้การรุกรานอย่างรุนแรงจากรัฐฉานในช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในปี ค.ศ. 1527 รัฐฉานนำโดยเมืองโม่ญี่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับแปร ได้เข้ายึดครองอังวะและปกครองพม่าตอนบน ในฐานะที่อาณาจักรแปรเป็นพันธมิตรกับรัฐฉาน จึงมีเพียงตองอูอาณาจักรเล็ก ๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอังวะ หรือบริเวณทิศตะวันออกของทิวเขาพะโค ยังคงเป็นเมืองอิสระสุดท้ายของชาวพม่า

ความล้มเหลวในการยับยั้งอาณาจักรตองอูพิสูจน์แล้วว่ามีบทเรียนราคาแพง ทำให้อาณาจักรอังวะถูกล้อมรอบด้วยอาณาจักรที่เป็นศัตรู อาณาจักรตองอูที่แข็งแกร่งมากขึ้นเริ่มมีความคิดที่จะรวบรวมดินแดน หลังได้รับชัยชนะในการรุกรานอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญในปี ค.ศ. 1534-1541 อาณาจักรตองอูหันหลังให้กับอาณาจักรแปรและรัฐฉาน และส่งกองทัพไปเข้าโจมตีแปรในปี ค.ศ. 1542 และพุกามเมืองตอนใต้ของอาณาจักรอังวะในปี ค.ศ. 1544[4] ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1555 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งตองอูก็สามารถพิชิตอาณาจักรอังวะได้สำเร็จ อันเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรอังวะที่มีมานานเกือบสองร้อยปี

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Htin Aung 1967: 84–103
  2. Phayre 1883: 63–75
  3. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  4. Phayre 1883: 100–101

บรรณานุกรม

แก้
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.