แม่น้ำอิรวดี (พม่า: ဧရာဝတီမြစ်, เอ็มแอลซีทีเอส: erawa.ti mrac, ออกเสียง: [ʔèjàwədì mjɪʔ], ออกเสียง เอยาวะดี) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากเหนือจรดใต้ผ่านประเทศพม่า เป็นแม่น้ำที่ใหญ่สุดในประเทศและเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุด ชื่ออิรวดีในพม่ามาจากภาษาบาลี Irāvatī[5] Airavati Erāvatī เป็นชื่อบาลีของช้างเอราวัณพาหนะของพระอินทร์ ช้างมักใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับน้ำ[6] และใช้เป็นชื่อของแม่น้ำอื่น ๆ ในหลายภูมิภาค เช่น แม่น้ำอจิรวดี ในอินเดีย

แม่น้ำอิรวดี
ဧရာဝတီမြစ်
ภาพถ่ายทางอากาศของแม่น้ำอิรวดี
แนวลำน้ำ, ลุ่มน้ำ, เมืองและลำน้ำสาขาหลักแม่น้ำอิรวดี
ที่ตั้ง
ประเทศพม่า
รัฐ/ภูมิภาค
เมือง
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำรีดง ชู ต้นน้ำ, ตะวันออกเฉียงใต้ของทิเบต, ประเทศจีน: จุดกำเนิดทางภูมิศาสตร์[1]
 • พิกัดภูมิศาสตร์28°44′04″N 97°52′21″E / 28.73444°N 97.87250°E / 28.73444; 97.87250
 • ระดับความสูง4760 เมตร (ประมาณ)
แหล่งที่ 2 
 • ตำแหน่งกาดา ชู ต้นน้ำ, ตะวันออกเฉียงใต้ของทิเบต, ประเทศจีน: ต้นทางเหนือสุด
 • พิกัดภูมิศาสตร์28°45′57″N 97°45′1″E / 28.76583°N 97.75028°E / 28.76583; 97.75028 (ประมาณ)
 • ระดับความสูง4760 เมตร (ประมาณ)
แหล่งที่ 3แม่น้ำเมคะ[2]
 • ตำแหน่งรัฐกะชีน, ประเทศพม่า
 • พิกัดภูมิศาสตร์28°31′50″N 97°37′55″E / 28.53056°N 97.63194°E / 28.53056; 97.63194 (ประมาณ)
 • ระดับความสูง4650 เมตร (ประมาณ)
แหล่งที่ 4แม่น้ำเมลิคะ
 • ตำแหน่งรัฐกะชีน, ประเทศพม่า
 • พิกัดภูมิศาสตร์27°44′48″N 97°2′5″E / 27.74667°N 97.03472°E / 27.74667; 97.03472 (ประมาณ)
 • ระดับความสูง3800 เมตร (ประมาณ)
จุดบรรจบ 
 • ตำแหน่งดานเพะ, รัฐกะชีน
 • พิกัดภูมิศาสตร์25°42′0″N 97°30′0″E / 25.70000°N 97.50000°E / 25.70000; 97.50000
 • ระดับความสูง147 เมตร (482 ฟุต)
ปากน้ำทะเลอันดามัน
 • ตำแหน่ง
อะเล-ยวา, เขตอิรวดี, ประเทศพม่า
 • พิกัด
15°51′19″N 95°14′27″E / 15.85528°N 95.24083°E / 15.85528; 95.24083พิกัดภูมิศาสตร์: 15°51′19″N 95°14′27″E / 15.85528°N 95.24083°E / 15.85528; 95.24083
 • ระดับความสูง
0 เมตร (0 ฟุต)
ความยาว2,288[1] กิโลเมตร (1,422 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำ404,200 ตารางกิโลเมตร (156,100 ตารางไมล์) [3]
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี
 • เฉลี่ย15,112 m3/s (533,700 cu ft/s)[4]
 • ต่ำสุด2,300 m3/s (81,000 cu ft/s)
 • สูงสุด60,000 m3/s (2,100,000 cu ft/s)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำชี่น-ดวี่น, แม่น้ำมู่
 • ขวามยิแง

แม่น้ำอิรวดีมีต้นกำเนิดจากจุดบรรจบกันของแม่น้ำเมลิคะและแม่น้ำเมคะ ที่ไหลลงมาจากธารน้ำแข็งบริเวณเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของปูดาโอในพม่าตอนบน แม่น้ำค่อนข้างไหลเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และไหลลงสู่ทะเลอันดามัน แม่น้ำอิรวดีมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 404,200 ตารางกิโลเมตร (156,026 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศพม่า หลังจากที่รัดยาร์ด คิปลิง กวีชาวอังกฤษได้กล่าวถึงแม่น้ำอิรวดีในบทกวีของเขา บางครั้งแม่น้ำสายนี้เรียกว่า "ถนนสู่มัณฑะเลย์"

กว่าหกศตวรรษที่มีการใช้แม่น้ำสำหรับการค้าขายและการขนส่ง แม่น้ำมีความสำคัญต่อจักรวรรดิอังกฤษหลังได้พม่าเข้ามาอยู่ในอาณานิคมได้มีการพัฒนาเครือข่ายคลองชลประทาน แม่น้ำยังคงมีความสำคัญในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเส้นทางการจราจรและเป็นเส้นทางของสินค้าส่งออกจำนวนมาก ข้าวมีการผลิตในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีซึ่งมีการใช้น้ำจากแม่น้ำ

ในปี พ.ศ. 2550 รัฐบาลพม่าได้ลงนามในข้อตกลงกับบริษัทสัญชาติจีนในการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำจำนวนเจ็ดเขื่อน ซึ่งมีกำลังผลิตรวม 13,360 เมกะวัตต์ในแม่น้ำเมลิคะและแม่น้ำเมคะ รวมถึงเขื่อน มยิตโซน เขื่อนใหญ่ขนาด 6,000 เมกะวัตต์ บริเวณที่บรรจบกันของแม่น้ำทั้งสองแห่ง กำลังไฟฟ้าที่เกิดจากเขื่อนจะส่งไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่โดยส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศจีน[7] และมีเป้าหมายการส่งออกพลังงานไปยังประเทศไทย อินเดีย และบังคลาเทศ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมได้ยกความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อระบบนิเวศบนความหลากหลายทางชีวภาพของแม่น้ำ สัตว์ที่อาจได้รับผลกระทบได้แก่ โลมาอิรวดี และปลาฉลามในแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ปัจจุบันโครงการเขื่อนมยิโซนถูกระงับไว้เนื่องจากมีการประท้วงและผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก[8][9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Fei, Yu (2011-08-22). "中国科学家确定雅鲁藏布江等四条国际河流源头" [Chinese Scientists Verify Source of Four International Rivers, Including Yarlung Tsangpo]. Xinhua News Agency (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
  2. James R Penn (2001) Rivers of the World เก็บถาวร 11 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Santa Barbara, Calif. [u.a.] ABC-Clio ISBN 1-57607-042-5, ISBN 978-1-57607-042-0. Page 115 paragraph 2, retrieved July 16, 2009
  3. Khon Ra, Director, Hydrology Branch, Irrigation Department (21 September 2011). "Water Quality Management at River Basin in Myanmar" (PDF). Water Environment Partnership in Asia (WEPA) (ภาษาอังกฤษ). The Republic of the Union of Myanmar Ministry of Agriculture and Irrigation. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 August 2016. สืบค้นเมื่อ 26 March 2017. Catchment Area (000's sq-km) Chindwin River 115.30 Upper Ayeyarwady River 193.30 Lower Ayeyarwady River 95.60{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. "Water Resources of Myanmar". AQUASTAT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-27. สืบค้นเมื่อ 2010-09-21. Adding the sections gives Irrawaddy a discharge of 476.9 cubic kilometers per year, which translates to 15,112 m3/s
  5. "Irrawaddy etymology". myanmar.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-17. สืบค้นเมื่อ 17 January 2017.
  6. California State University, Chico – The Symbolism of Elephants in Indian Culture เก็บถาวร 2009-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 13 July 2009
  7. China in Burma: The Increasing Investment of Chinese Multinational Corporations in Burma's Hydropower, Oil and Natural Gas and Mining Sectors (2008) EarthRights International. Retrieved 17 September 2009
  8. จีนยอมระงับเขื่อนในเมียนมาร์
  9. http://www.bangkokpost.com/news/special-reports/1180397/against-the-flow