ภาคอิรวดี
อิรวดี[2] หรือ เอยาวะดี[2] (พม่า: ဧရာဝတီ) เป็นภาคหนึ่งของประเทศพม่า ครอบคลุมพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 15° 40' ถึง 18° 30' เหนือ ลองจิจูด 94° 15' ถึง 96° 15' ตะวันออก มีเนื้อที่ 35,140 ตารางกิโลเมตร (13,566 ตารางไมล์) มีประชากรมากกว่า 6.5 ล้านคน ทำให้ภาคอิรวดีมีประชากรมากที่สุดเมื่อเทียบกับรัฐหรือภาคอื่นของพม่า ความหนาแน่นของประชากรคิดเป็น 180 คนต่อตารางกิโลเมตร (460 คนต่อตารางไมล์) มีเมืองหลักชื่อพะสิม
ภาคอิรวดี ဧရာဝတီတိုင်းဒေသကြီး | |
---|---|
การถอดเสียงเป็นอักษรโรมัน | |
• พม่า | ei:rawati tuing: desa. kri: |
ที่ตั้งภาคอิรวดีในประเทศพม่า | |
พิกัด: 16°50′N 95°10′E / 16.833°N 95.167°E | |
ประเทศ | พม่า |
ภูมิภาค | พม่าตอนล่าง |
เมืองหลัก | พะสิม |
การปกครอง | |
• มุขมนตรี | ละโมออง (เอ็นแอลดี) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 35,140 ตร.กม. (13,570 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2557)[1] | |
• ทั้งหมด | 6,184,829 คน |
• ความหนาแน่น | 180 คน/ตร.กม. (460 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากรศาสตร์ | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | พม่า, ยะไข่, อินเดีย, มอญ, กะเหรี่ยง |
• ศาสนา | พุทธ, คริสต์, อิสลาม, ฮินดู |
เขตเวลา | UTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า) |
รหัส ISO 3166 | MM-07 |
เว็บไซต์ | www |
ภาคอิรวดีมีเทือกเขายะไข่กระหนาบข้างในพื้นที่ทางทิศตะวันตก และพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกแผ้วถางสำหรับการเพาะปลูกข้าว ทำให้มีชื่อเสียงในเรื่องแหล่งผลิตข้าวหลักของประเทศในศตวรรษที่ 21
ภาคอิรวดีก็มีทะเลสาบจำนวนหนึ่ง ในบรรดาลำน้ำสาขาที่แยกออกจากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำที่มีชื่อเสียงได้แก่ แม่น้ำงะวูน (Ngawun) แม่น้ำพะสิม และแม่น้ำโต (Toe)
อาณาเขตติดต่อ
แก้- ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐยะไข่และภาคพะโค
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับภาคพะโคและภาคย่างกุ้ง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวเมาะตะมะและอ่าวเบงกอล
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวเบงกอลและรัฐยะไข่
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ภาคอิรวดีแบ่งออกเป็น 8 จังหวัด ดังนี้
จังหวัด | อำเภอ | ||||
---|---|---|---|---|---|
อักษรไทย | อักษรพม่า | อักษรโรมัน | อักษรไทย | อักษรพม่า | อักษรโรมัน |
พะสิม | ပုသိမ် | Pathein | พะสิม | ပုသိမ် | Pathein |
กานจี้ถ่อง | ကန်ကြီးထောင့် | Kangyidaunt | |||
ตาบ้อง | သာပေါင်း | Thabaung | |||
งะปุดอ | ငပုတော | Ngapudaw | |||
ฮีนตาดะ | ဟင်္သာတ | Hinthada | ฮีนตาดะ | ဟင်္သာတ | Hinthada |
ซะลูน | ဇလွန် | Zalun | |||
เล่มแยะนา | လေးမျက်နှာ | Lemyethna | |||
มย่องเมียะ | မြောင်းမြ | Myaungmya | มย่องเมียะ | မြောင်းမြ | Myaungmya |
เอนแม | အိမ်မဲ | Einme | |||
ว่าแคมะ | ဝါးခယ်မ | Wakema | |||
ละบุตา | လပွတ္တာ | Labutta | ละบุตา | လပွတ္တာ | Labutta |
มอละมไยง์จู้น | မော်လမြိုင်ကျွန်း | Mawlamyinegyun | |||
มะอูบีน | မအူပင် | Maubin | มะอูบีน | မအူပင် | Maubin |
ป้านตะนอ | ပန်းတနော် | Pantanaw | |||
ญองโด้น | ညောင်တုန်း | Nyaungdon | |||
ดะนุ-พยู | ဓနုဖြူ | Danubyu | |||
พยาโปน | ဖျာပုံ | Pyapon | พยาโปน | ဖျာပုံ | Pyapon |
โบกะเล่ | ဘိုကလေး | Bogale | |||
ไจละ | ကျိုက်လတ် | Kyaiklat | |||
เด้ดะแย | ဒေးဒရဲ | Dedaye | |||
โจน-ปยอ | ကျုံပျော် | Kyonpyaw | โจน-ปยอ | ကျုံပျော် | Kyonpyaw |
เยจี | ရေကြည် | Yegyi | |||
จ้องโก้น | ကျောင်းကုန်း | Kyaunggon | |||
เมียนออง | မြန်အောင် | Myanaung | เมียนออง | မြန်အောင် | Myanaung |
จานกี้น | ကြံခင်း | Kyangin | |||
อีนกะปู | အင်္ဂပူ | Ingapu |
อ้างอิง
แก้- ↑ Census Report. The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Vol. 2. Naypyitaw: Ministry of Immigration and Population. May 2015. p. 17.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.