สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย
สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (พม่า: အမျိုးသားဒီမိုကရေစီအဖွဲ့ချုပ်, อังกฤษ: National League for Democracy) หรือ พรรคเอ็นแอลดี เป็นพรรคการเมืองในประเทศพม่า ก่อตั้งเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 เพื่อต่อต้านสภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายแห่งรัฐ ซึ่งเข้ายึดอำนาจการปกครองในนามของคณะทหาร ทำให้เกิดการจลาจลนองเลือดในเมืองใหญ่ของพม่าหลายเมือง ผู้ก่อตั้งพรรคได้แก่ อองซาน ซูจี อ่องจี และติ่นจู
สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย အမျိုးသား ဒီမိုကရေစီ အဖွဲ့ချုပ် | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | Aung Shwe, Tin Oo, Kyi Maung, อองซานซูจี, อองจี้ |
ผู้อุปถัมภ์ | Tin Oo |
ประธาน (ဥက္ကဋ္ဌ) | อองซานซูจี |
ก่อตั้ง | 27 กันยายน 1988 |
ยุบ | 28 มีนาคม 2023 (34 ปี) |
ที่ทำการ | 97B West Shwe Gon Daing Road, Bahan Township, ย่างกุ้ง, ประเทศเมียนมาร์[1] |
อุดมการณ์ | ประชาธิปไตยสังคมนิยม[2] ลัทธิปกป้อง[3] ประชาธิปไตยเสรีนิยม |
จุดยืน | ฝ่ายกลาง-ซ้าย |
สี | Red |
ที่นั่งในHouse of Nationalities | 135 / 224 |
ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรพม่า | 255 / 440 |
ที่นั่งในState and Regional Hluttaws | 476 / 850 |
Ethnic Affairs Ministers | 21 / 29 |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองเมียนมาร์ รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
อองซาน ซูจี ถูกจับกุมตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2532 ส่วนอ่องจีแยกตัวออกไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 ทางพรรคส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 และเป็นฝ่ายชนะ ได้ 392 จาก 485 ที่นั่ง ทำให้คณะทหารไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งสมาชิกพรรคถูกคณะทหารปราบปรามจนแทบไม่เหลือสมาชิกพรรค ทางพรรคได้รับการผ่อนผันให้มีการประชุมพรรคได้ใน พ.ศ. 2541 แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2543 ที่ทำการพรรคถูกสั่งปิด
ในการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553 พรรคเอ็นแอลดีได้ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครเข้าร่วม ส่งผลให้พรรคถูกยุบตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ทำให้สมาชิกพรรคส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย แยกตัวออกไปก่อตั้งพรรคใหม่ ใช้ชื่อว่า National Democratic Force หรือ พรรคเอ็นดีเอฟ และได้รับการเลือกตั้งจำนวน 16 ที่นั่ง
อ้างอิง แก้ไข
- ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548.
- ↑ Frangos, Alex; Patrick Barta (30 March 2012). "Once-Shunned Quarters Becomes Tourist Mecca". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Leftist Parties of Myanmar". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2011.
- ↑ https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-03-06/asia-investors-split-with-west-over-myanmar-s-rohingya-crackdown