พะสิม[2] หรือ ปะเตน[2] (พม่า: ပုသိမ်, เอ็มแอลซีทีเอส: pu. sim, ออกเสียง: [pə.θèɪ̯ɰ̃]; มอญ: ဖာသဳ, ออกเสียง: [phasɛm] พะแซม) หรือชื่อเดิมในภาษาอังกฤษว่า บัสเซน (อังกฤษ: Bassein) เป็นเมืองท่าสำคัญและเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคอิรวดี ห่างจากนครย่างกุ้งมาทางตะวันตกเฉียงใต้ 190 กิโลเมตร (120 ไมล์) ริมแม่น้ำพะสิมซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี[3] เมืองนี้มีประชากร 237,089 คน (ค.ศ. 2017) ถึงแม้จะเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมอญ แต่ปัจจุบันก็มีชาวมอญเหลืออยู่น้อยมาก กลุ่มชาติพันธุ์หลักในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวพม่า ชาวพม่าเชื้อสายอินเดีย ชาวกะเหรี่ยง และชาวยะไข่

พะสิม

ปะเตน, บัสเซน
เมือง
พะสิมตั้งอยู่ในประเทศพม่า
พะสิม
พะสิม
ที่ตั้งเมืองพะสิมในประเทศพม่า
พิกัด: 16°47′03″N 94°44′0″E / 16.78417°N 94.73333°E / 16.78417; 94.73333
ประเทศ พม่า
ภาค ภาคอิรวดี
จังหวัดพะสิม
อำเภอพะสิม
พื้นที่
 • เมือง9.79 ตร.ไมล์ (25.4 ตร.กม.)
ประชากร
 (2019)
 • เมือง172,923 คน
 • ความหนาแน่น18,000 คน/ตร.ไมล์ (6,800 คน/ตร.กม.)
 • รวมปริมณฑล287,071 คน
 • Ethnicities
 • ศาสนา
เขตเวลาUTC+6.30 (เวลามาตรฐานพม่า)
รหัสพื้นที่42[1]

นิรุกติศาสตร์

แก้

ชื่อเมืองคาดว่าได้รับมาจากชื่อภาษามอญ ဖာသီ[4] แต่ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็น บัสเซน ในช่วงการปกครองของสหราชอาณาจักร

ประวัติ

แก้
 
ภาพวาดแนวชายฝั่งเมืองพะสิมช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1800

พะสิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมอญ ต่อมาจักรวรรดิบริติชได้เข้าครอบครองและได้สร้างป้อมสนาม และก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์ ในปี ค.ศ. 1826 ซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง มีการบันทึกจำนวนประชากรในปี ค.ศ. 1983 อยู่ที่ 144,092 คน

ภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ

แก้

พะสิมตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำอิรวดี ริมแม่น้ำพะสิมซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำอิรวดี และห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศตะวันตก 118 ไมล์ (190 กิโลเมตร) เมืองพะสิมอยู่ไม่ไกลจากมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นจึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ และยังเป็นปลายทางของรถไฟซึ่งเชื่อมต่อกับฮีนตาดะ และปะด้าน และย่างกุ้ง ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีการปรับปรุงถนนเชื่อมอิรวดี–โมนยวา[3]

ชายฝั่งตามแนวอ่าวเบงกอลถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขายะไข่ ในพื้นที่มีทะเลสาบอีนเย ยาว 1.5 ไมล์ (2.4 กิโลเมตร) กว้าง 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) ที่มีชื่อเสียงในด้านการประมง นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังนอกชายฝั่ง บริเวณเกาะเพชร ซึ่งเป็นที่นิยมของนักอาบแดด และเป็นแหล่งพื้นที่เพาะพันธุ์เต่า[3]

 
ร่มทำมือ

เมืองนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกและส่งออกข้าวที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีโรงเลื่อยจำนวนมาก มีโรงงานทำร่มกันแดดด้วยมือ ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วประเทศพม่า[3] ร่มกันแดดนี้รู้จักกันในชื่อ "ร่มพะสิม"[5] ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญอื่น ๆ อาทิ เครื่องปั้นดินเผา ตะกร้า ถังน้ำ เครื่องจักสาน

นอกจากข้าว บริเวณโดยรอบของพะสิมยังเป็นแหล่งเพาะปลูก งา, ถั่วลิสง, ปอกระเจา, ข้าวโพด, ถั่ว, ยาสูบ, พริก[5]

ภูมิอากาศ

แก้

พะสิมมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) อ้างอิงจากระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน มีฝนตกมากในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงสิงหาคม ส่วนฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเมษายน ซึ่งอากาศจะเย็นกว่าปกติ

ข้อมูลภูมิอากาศของพะสิม (ค.ศ. 1991–2020)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 32.1
(89.8)
34.1
(93.4)
35.9
(96.6)
36.9
(98.4)
34.5
(94.1)
31.1
(88)
30.4
(86.7)
30.0
(86)
31.1
(88)
32.5
(90.5)
33.0
(91.4)
31.9
(89.4)
32.8
(91)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 24.9
(76.8)
26.6
(79.9)
28.8
(83.8)
30.6
(87.1)
29.8
(85.6)
27.7
(81.9)
27.1
(80.8)
26.8
(80.2)
27.3
(81.1)
28.1
(82.6)
27.4
(81.3)
25.4
(77.7)
27.5
(81.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.6
(63.7)
19.1
(66.4)
21.8
(71.2)
24.3
(75.7)
25.1
(77.2)
24.2
(75.6)
23.8
(74.8)
23.6
(74.5)
23.5
(74.3)
23.6
(74.5)
21.9
(71.4)
19.0
(66.2)
22.3
(72.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 3.8
(0.15)
7.5
(0.295)
10.2
(0.402)
30.4
(1.197)
276.0
(10.866)
604.5
(23.799)
682.7
(26.878)
681.3
(26.823)
416.7
(16.406)
204.2
(8.039)
65.9
(2.594)
3.5
(0.138)
2,986.9
(117.594)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 0.3 0.2 0.7 1.7 12.6 24.8 26.2 25.9 22.0 14.2 4.0 0.3 132.8
แหล่งที่มา: World Meteorological Organization[6]

สถานที่สำคัญ

แก้

พะสิมมีวัดพุทธที่สำคัญหลายแห่ง เช่น เจดีย์ชเวมุทอ

การศึกษา

แก้

ประกอบไปด้วยโรงเรียนการศึกษาพะสิมและมหาวิทยาลัยพะสิม นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลใหญ่ และยังมีมหาวิทยาลัยเทคนิคจีทีซี มหาวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ไอที

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Myanmar Area Codes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-01. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Pathein". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ August 21, 2009.
  4. Dictionary of Modern Spoken Mon by H.L. Shorto (1962, Oxford University Press)
  5. 5.0 5.1 "Pathein (Bassein)". Journeysmyanmar.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-03. สืบค้นเมื่อ August 21, 2009.
  6. "World Meteorological Organization Climate Normals for 1991–2020". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 16 October 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้