พม่าเชื้อสายจีน

ชาวพม่าเชื้อสายจีน (พม่า: မြန်မာတရုတ်လူမျိုး, เอ็มแอลซีทีเอส: ta. rut lu myui:) ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของประเทศพม่า ปัจจุบันมีตัวเลขจากทางการรัฐบาลพม่าว่าชาวพม่าเชื้อสายจีนมีจำนวนเพียงร้อยละ 3 แต่ตัวเลขที่แท้จริงเชื่อว่าน่าจะมีชาวพม่าเชื้อสายจีนมากกว่าจำนวนดังกล่าว เนื่องจากชาวจีนส่วนใหญ่ได้สมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวพม่าและกลุ่มชนพื้นเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ[1] ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ชาวจีนนับหมื่นคนได้อพยพเข้ามาทางตอนบนของพม่าอย่างผิดกฎหมาย และอาจจะไม่ได้นับรวมด้วย อันเนื่องมาจากการทำสำมะโนครัวที่ขาดความน่าเชื่อถือ[2] ขณะเดียวกันกลุ่มชนที่มีเชื้อสายจีนที่อาศัยในภาคตะนาวศรีทางตอนใต้ของพม่าใกล้ชายแดนประเทศไทย มักมีจินตนาการและมิติวัฒนธรรมร่วมกับชาวไทยในฝั่งไทย เช่นการใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ การตั้งเข็มนาฬิกาตรงกับเวลาในประเทศไทย การทำบุญและการบวชแบบไทย เป็นต้น[3][4]

ชาวพม่าเชื้อสายจีน
မြန်မာတရုတ်လူမျိုး
緬甸華人
ผู้ประกอบการค้าชาวพม่าเชื้อสายจีนในนครย่างกุ้ง ช่วงปี ค.ศ. 1890
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ประเทศพม่าประเทศพม่า
ภาษา
ภาษาพม่า ภาษาฮกเกี้ยน ภาษากวางตุ้ง ภาษาแคะ ภาษายูนนาน และภาษาไทย
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ควบคู่ไปกับนิกายมหายาน, ลัทธิเต๋า และขงจื๊อ ส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลาม

ปัจจุบันชาวพม่าเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ เป็นผู้กุมเศรษฐกิจของประเทศพม่า[5] นอกจากนี้พวกเขายังเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในสัดส่วนสูง และเป็นกลุ่มที่มีเปอร์เซนต์จากการรับการศึกษาระดับสูงในประเทศพม่า

อ้างอิง แก้

  1. Hooker, Michael Barry (2002). Law and the Chinese in Southeast Asia. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 981-230-125-9.
  2. "China's Ambitions in Myanmar". Hong Kong: Asia Pacific Media Services. July 2000.
  3. "คนไทยในมะลิวัลย์". 24 September 2007.
  4. "เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า - คนไทยในมะลิวัลย์". 22 July 2007.
  5. Chua, Amy (May 2004). "Review: The Ethnic Question in Law and Development". World on Fire: How Exporting Free Market Democracy Breeds Ethnic Hatred and Global Instability. The Michigan Law Review Association. 102 (6): 1044–1103. doi:10.2307/4141938.

ดูเพิ่ม แก้