บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ รัฐยะไข่ สำหรับแคว้นโบราณ ดูที่ แคว้นยะไข่

ชาวยะไข่
ရခိုင်လူမျိုး (พม่า)
เด็กผู้หญิงชาวยะไข่ในงานเทศกาล
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 พม่า3.1 ล้านคน (ค.ศ. 2014)[1]
 อินเดีย50,000[ต้องการอ้างอิง][2]
 บังกลาเทศ11,195[3][4]
 สหรัฐ2,603[5]
 ญี่ปุ่น650[6]
ภาษา
ยะไข่, พม่า
ศาสนา
พุทธเถรวาท
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวจีน-ทิเบต (รวมชาวพม่า, ชาวมระหม่า, ชาวมอก)

ยะไข่, อะระกัน หรือ ระขึน (พม่า: ရခိုင်လူမျိုး, สำเนียงยะไข่: [ɹəkʰàɪ̯ɰ̃ lùmjó], สำเนียงพม่า: [jəkʰàɪ̯ɰ̃ lùmjó]) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์หลักกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า อาศัยในรัฐยะไข่

ชาวยะไข่ถือเป็นชาวพม่าพื้นถิ่นในรัฐยะไข่กลุ่มหนึ่ง ภาษาพูดของชาวยะไข่นั้นถือเป็นสำเนียงหนึ่งในภาษาพม่า และยังมีร่องรอยของภาษาพม่าโบราณหลงเหลืออยู่ อันมีเสียงบางเสียงซึ่งในภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งไม่มีใช้แล้ว เช่น เสียง ร โดยภาษายะไข่นั้นยังรักษาเสียง ร ไว้ได้ครบแทบทุกตำแหน่ง หากต้องการสะกดคำที่มีอักษร ร จึงควรดูที่การออกเสียงของภาษายะไข่ ทั้งนี้เนื่องจากยะไข่ห่างไกลศูนย์กลางจากพม่า โดยมีเทือกเขายะไข่ขวางกั้นอยู่ อีกทั้งยะไข่เองก็เคยมีอิสรภาพในการปกครองตนเองเป็นอาณาจักรอยู่ร่วมหลายร้อยปี ภายหลังจากการมาของอังกฤษ ยะไข่ถูกมองว่าต่างจากชาวพม่าทั่วไป ดินแดนยะไข่จึงถูกกำหนดเป็นรัฐหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยในพม่า

อ้างอิง

แก้
  1. "Overviews of Myanmar's diversity" (PDF).
  2. Actual figures of Rakhine in India is unknown as they are referred and counted as the Marma, Magh or Barua people.
  3. "Last of Bangladesh's Buddhist Rakhines wage a losing war".
  4. "Table 1.4 Ethnic Population by Group and Sex" (PDF). Bangladesh Bureau of Statistics. 2021. p. 33. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2023. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  5. "Burmese Population in the USA". The official website of Burmese American Community Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-04. สืบค้นเมื่อ 2025-04-18.
  6. https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-981-15-1439-5_6