ยาสูบ เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผลิตจากใบของต้นยาสูบ ยาสูบสามารถรับประทานได้ ใช้ในสารกำจัดศัตรูพืชชีวภาพ และเป็นส่วนประกอบของยาบางชนิดในรูปของนิโคตินตาร์เตรด[1] แต่ส่วนใหญ่แล้วยาสูบจะถูกใช้เป็นสารที่สร้างความสนุกสนาน และเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้มากต่อประเทศ อย่างเช่น คิวบา จีน และสหรัฐอเมริกา

ไร่ยาสูบในรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา

การได้รับยาสูบมักพบในรูปของการสูบ การเคี้ยว การสูดกลิ่นหรือยาเส้นชนิดชื้อนหรือสนูส ยาสูบได้มีประวัติการใช้เป็นเอ็นโธรเจนมาอย่างยาวนานในทวีปอเมริกา อย่างไรก็ตาม การมาถึงของชาวยุโรปในทวีปอเมริกาเหนือ ได้ทำให้ยาสูบกลายมาเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมและถูกใช้เป็นสารสร้างความสนุกสนานอย่างรวดเร็ว ความเป็นที่นิยมดังกล่าวทำให้ยาสูบเป็นสินค้าหลักในพัฒนาการทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาตอนใต้ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นฝ้ายในเวลาต่อมา หลังจากสงครามกลางเมืองอเมริกา ความเปลี่ยนแปลงในอุปทานและกำลังแรงงานทำให้ยาสูบสามารถผลิตเป็นบุหรี่ได้ ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ได้นำไปสู่การเติบโตของบริษัทบุหรี่หลายบริษัทอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งการค้นพบผลเสียของยาสูบที่เป็นข้อถกเถียงทางวิทยาศาตร์ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1900

เนื่องจากยาสูบมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดการเสพติด ได้แก่ นิโคติน ทำให้เกิดความชินยาและโรคติดสารเสพติด ปริมาณนิโคตินที่ร่างกายได้รับ ตลอดจนความถี่และความเร็วของการบริโภคยาสูบเชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้านทานทางชีวภาพของการติดและความชินยา[2][3] คาดการณ์ว่าประชากรราว 1,100 ล้านคนทั่วโลกมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาสูบ ซึ่งคิดเป็นกว่าหนึ่งในสามของประชากรผู้ใหญ่ของโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่า การใช้ยาสูบอาจนำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ทั่วโลก และประมาณการว่ามีประชากรโลก 5.4 ล้านคนเสียชีวิตทุกปี[4] อัตราการสูบพบว่ามีน้อยลงในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กลับพบว่ายังมีสูงในประเทศกำลังพัฒนา

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-15. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
  2. "Tobacco Facts - Why is Tobacco So Addictive?". Tobaccofacts.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-14. สืบค้นเมื่อ 2008-09-18.
  3. "Philip Morris Information Sheet". Stanford.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-18.
  4. "WHO Report on the global tobacco epidemic, 2008 (foreword and summary)" (PDF). World Health Organization. 2008: 8. Tobacco is the single most preventable cause of death in the world today. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)