อาณาจักรมอญ หรือ รามัญประเทศ เป็นอาณาจักรของชนชาติมอญซึ่ง อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค

อาณาจักรมอญ

ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล–1757
เมืองหลวงเมาะตะมะ (คริสต์ศตวรรษที่ 9 -1383)
พะโค (1383 - 1580)
มะละแหม่ง(1580-1752)
ภาษาทั่วไปภาษามอญ
ศาสนา
พระพุทธศาสนา
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พฤตินัย)
ราชาธิปไตย (นิตินัย)
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ก่อตั้ง
ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล
ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล -1057
ค.ศ. 1287–1539, 1550–1552
ค.ศ. 1740–1757
• ถูกราชวงศ์อลองพญาผนวกดินแดน
1757
ก่อนหน้า
ถัดไป
ทวารวดี
ราชวงศ์อลองพญา

ยุคแรกคือยุคราชวงศ์สะเทิม อาณาจักรสุธรรมวดี มีกษัตริย์ปกครอง 59 พระองค์ เริ่มจากสมัยพระเจ้าสีหราชา มาจนถึงสมัยพระเจ้ามนูหา เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ ทั้งทวารวดีและสะเทิม ยุคแรกสิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหะ[1] ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอโนรธาน่าจะยกมาตีถึงนครปฐม

ยุคที่สองคือยุคราชวงศ์เมาะตะมะ-หงสาวดี หรือยุคอาณาจักรหงสาวดี เริ่มจากสมัยที่พม่าซึ่งอ่อนแอจากการรุกรานของมองโกล พระเจ้าวาเรรูหรือพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ได้ทรงกอบกู้เอกราชมอญจากพม่าและสถาปนาอาณาจักรหงสาวดี พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ของไทย มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมาะตะมะ ต่อมาในสมัยพญาอู่ ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ เมืองพะโคหรือหงสาวดี ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย ซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้าราชาธิราช ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าอาณาจักรอังวะ ในสมัยพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา กับสมัย พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช คือ สมิงพระราม สมิงนครอินทร์ และแอมูน-ทยา ในสมัยของพระเจ้าราชาธิราชนั้นหงสาวดีกลายเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งทะเลอ่าวเบงกอลจากแม่น้ำอิรวดีขยายลงไปทางตะวันออกถึงแม่น้ำสาละวิน และเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต มีเมืองท่าที่สำคัญหลายแห่งในหลายลุ่มน้ำ เช่น เมาะตะมะ สะโตง พะโค พะสิม[2] อาณาจักรมอญยุคนี้เจริญสูงสุดในสมัยพระนางเชงสอบูและสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์[3] หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าสการะวุตพี หงสาวดีก็เสียแก่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในปี พ.ศ. 2094[4]

ยุคที่สามยุคฟื้นฟูหรือยุคอาณาจักรหงสาวดีใหม่ พ.ศ. 2283 สมิงทอพุทธกิตติ กู้เอกราชคืนมาจากพม่าได้สำเร็จและได้ยกทัพไปตีเมืองอังวะ ในปี พ.ศ. 2290 พญาทะละได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธกิตติและขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรตองอูของพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 พระเจ้าอลองพญา แห่งราชวงศ์คองบองก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาและได้โจมตีมอญ[5] การล่มสลายของอาณาจักรหงสาวดีใหม่เป็นการสิ้นสุดเอกราชและอำนาจของชาวมอญที่เคยมีมาหลายร้อยปีในพม่าตอนล่าง กองทัพของราชวงศ์คองบองกดดันให้ชาวมอญต้องอพยพไปยังสยาม[6] ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 การแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ และการอพยพของชาวพม่าจากทางเหนือ ทำให้ชาวมอญกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[5]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. Htin Aung 1967: 32–33
  2. Htin Aung 1967: 78–80
  3. Myint-U 2006: 64–65
  4. Harvey 1925: 153–157
  5. 5.0 5.1 Lieberman 2003: 202–206
  6. Myint-U (2006): 97
บรรณานุกรม
  • Aung-Thwin, Michael (2005). The Mists of Rāmañña: the Legend that was Lower Burma. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-2886-8.
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Kyaw Thet (1962). History of Burma (ภาษาพม่า). Yangon: Yangon University Press.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Shorto, H.L. (2002). "The 32 Myos in the medieval Mon Kingdom". ใน Vladimir I. Braginsky (บ.ก.). Classical civilisations of South East Asia: an anthology of articles. Routledge. ISBN 9780700714100.
  • South, Ashley (2003). Mon nationalism and civil war in Burma: the golden sheldrake. Routledge. ISBN 978-0-7007-1609-8.

ดูเพิ่ม แก้