สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: First Anglo-Burmese War; พม่า: ပထမ အင်္ဂလိပ်-မြန်မာ စစ်) มีอีกชื่อว่า สงครามพม่าครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามแรกจากทั้งสามสงครามระหว่างจักรวรรดิอังกฤษกับจักรวรรดิพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สงครามที่เริ่มต้นเหนือการควบคุมบริเวณที่ปัจจุบันคืออินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ สิ้นสุดลงที่อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ทำให้อังกฤษได้ครอบครองรัฐอัสสัม, รัฐมณีปุระ, กะจาร์ และ Jaintia เช่นเดียวกันกับรัฐยะไข่และตะนาวศรี ส่วนพม่ายอมจำนนต่ออังกฤษ โดยต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน 1 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง และลงนามในสนธิสัญญาทางการค้า[6][7]

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง
ပထမ အင်္ဂလိပ် မြန်မာ စစ်
ส่วนหนึ่งของ สงครามอังกฤษ–พม่า

ภาพวาดกองทัพจักรวรรดิบริเตนโจมตีกองทัพพม่า ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1824
วันที่5 มีนาคม ค.ศ. 1824 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1826
(1 ปี, 11 เดือน และ 19 วัน)
สถานที่
ผล

อังกฤษชนะ[3]

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
พม่ายกรัฐอัสสัม, รัฐมณีปุระ, รัฐยะไข่ และตะนาวศรี; สูญเสียอิทธิพลในกะจาร์และ Jaintia; จ่ายค่าปฏิกรรม 1 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง
คู่สงคราม

สหราชอาณาจักร จักรวรรดิอังกฤษ

ร่วมสงคราม:
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สยาม)[1][2]

ราชวงศ์โก้นบอง จักรวรรดิพม่า

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ลอร์ดแอเมิร์สต์
สหราชอาณาจักร เซอร์ เอดเวิร์ด แพเกต
สหราชอาณาจักร เซอร์ อาร์ชิบัลด์ แคมป์เบลล์
สหราชอาณาจักร โจเซฟ วานตัน มอร์ริสัน (เสียชีวิตจากโรค)
ร่วมสงคราม:
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี)
พระยาสุรเสนา (คุ้ม)
พระยาชุมพร (ซุ่ย ซุ่ยยัง)
ราชวงศ์โก้นบอง พระเจ้าจักกายแมง
ราชวงศ์โก้นบอง มหาพันธุละ 
ราชวงศ์โก้นบอง มหาเนเมียว 
ราชวงศ์โก้นบอง Minkyaw Zeya Thura
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
Presidency armies
สหราชอาณาจักร กองทหารหลวง
ร่วมสงคราม:
กองทัพหลวง

ราชวงศ์โก้นบองกองทัพอาณาจักรพม่า

กำลัง
50,000[โปรดขยายความ] 40,000
ความสูญเสีย

ชาวยุโรปร้อยละ 72 เสียชีวิตจากโรค (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ร้อยละ 25)[4]
ชาวอินเดียและคนอื่น ๆ มากกว่า 3,500 นาย


รวม: เสียชีวิต 15,000 นาย[5]
ไม่ทราบ แต่มีจำนวนมากกว่าของอังกฤษ อาร์ชิบัลด์ แคมป์เบลล์รายงานว่าฝ่ายตรงข้ามมีจำนวนอย่างน้อยประมาณ 20,000 นาย[ต้องการอ้างอิง]

สงครามนี้ถือเป็นหนึ่งในสงครามที่มีค่าใช้จ่ายแพงที่สุดในประวัติศาสตร์บริติชราช โดยมีทหารยุโรปและอินเดียเสียชีวิต 15,000 นาย กับจำนวนทหารและพลเมืองพม่าเสียชีวิตไม่ทราบจำนวน ทางอังกฤษต้องใช้จ่ายค่าทำสงครามนี้สูงถึง 5–13 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (400 ล้าน – 1.16 พันล้าน ปอนด์ ณ ค.ศ. 2021)[8][9] ร่วมกับวิกฤตเศรษฐกิจขั้นรุนแรงในบริติชราชที่ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกสูญเสียสิทธิพิเศษที่เหลือ[10]

ถึงแม้ว่าจักรวรรดิพม่าเคยแข็งแกร่งพอที่จะข่มขู่ความสนใจของบริษัทอินเดียตะวันออก (โดยเฉพาะในด้านชายแดนตะวันออกของรัฐอัสสัม มณีปุระ และยะไข่) ในตอนนี้ จักรวรรดิประสบกับสภาวะ "จุดเริ่มต้นในจุดจบ" ของสถานะชาติที่เป็นเอกราช[9] โดยต้องรับภาระทางเศรษฐกิจด้วยค่าสินไหมทดแทนเป็นเวลาหลายปี[7] จากนั้น อังกฤษจึงก่อสงครามต่อพม่าที่อ่อนแอลงในสงครามพม่า–อังกฤษครั้งที่สองและครั้งที่สาม ก่อนที่จะครอบครองทั้งประเทศใน ค.ศ. 1885

สงคราม แก้

สงครามครั้งนี้เกิดจาก พม่าได้ครอบครองแคว้นอัสสัมของอินเดียได้สำเร็จ ในรัชสมัยพระเจ้าจักกายแมง ก็ต้องเผชิญหน้ากับจักรวรรดิบริเตนที่กำลังอยู่ในระหว่างล่าอาณานิคมอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในช่วงเวลานั้นอังกฤษก็กำลังคุกคามอินเดียอยู่

ในระยะแรก กองทัพอังกฤษยังไม่จัดเจนในการสงครามครั้งนี้ เนื่องจากไม่คุ้นกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ และยุทธวิธีการรบ แต่ทว่า ผลของการสู้รบมาถึงจุดพลิกผันที่ให้ถึงที่สิ้นสุดเอาเมื่อถึงวันที่ 1 ธันวาคม – 14 ธันวาคม ค.ศ. 1824 ซึ่งเป็นสมรภูมิในปริมณฑลย่างกุ้ง มหาพันธุละ แม่ทัพใหญ่ของฝ่ายพม่า ซึ่งนำกองกำลังประมาณ 60,000 นาย จากกรุงรัตนปุระอังวะ ซึ่งเป็นเมืองหลวง ปะทะกับกองทัพอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วย ทหารสัญชาติอังกฤษไม่เกิน 1,300 นาย และทหารแขก (ซีปอย) 2,500 นาย ในเวลาเพียง 15 วัน กองทัพพม่าสูญเสียเป็นอย่างยิ่ง จนมหาพันธุละเหลือกำลังทหารเพียง 7,000 นายเท่านั้น ต้องถอยร่นไปตั้งรับที่เมืองดนูพยู หรือทุนพยู จนลำน้ำปันฮะลาย ซึ่งเป็นลำน้ำสำคัญที่ตัดออกสู่แม่น้ำอิระวดี ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ มหาพันธุละใช้ยุทธวิธีการรบแบบสมัยโบราณ ที่เคยกระทำใช้ได้ผลสำเร็จมาแล้วในการรบแต่ละครั้งในประวัติศาสตร์ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ คือ การตั้งค่ายและป้อมปืนขึ้นริมน้ำทั้งสองฟากเพื่อดักยิงเรือของข้าศึกที่ผ่านมา แต่ด้วยเทคโนโลยีทางอาวุธที่ทันสมัยกว่าและระเบียบวิธีการรบของกองทัพอังกฤษ มหาพันธุละเป็นฝ่ายแพ้อย่างยับเยิน และหลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน ปีถัดมา มหาพันธุละก็เสียชีวิตลงด้วยสะเก็ดปืนใหญ่ระเบิดที่เมืองดนูพยูนั่นเอง เมื่อถูกฝ่ายอังกฤษใช้ปืนใหญ่ที่ทันสมัยกว่ารวมทั้งปืนครก ขึ้นตั้งเป็นหอรบระดมยิงกระหน่ำค่ายของพม่า [11]

สงครามสิ้นสุดลงที่การทำสนธิสัญญารานตะโบ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1826 ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ คือ อังกฤษจะผนวกเอาอะระกันและตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญด้านทะเลอันดามันไปเป็นสิทธิ์ขาดอย่างที่จะเรียกเอาคืนไม่ได้ พร้อมทั้งพม่าต้องสัญญาว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คือ แคว้นอัสสัม, กะจาร์, ซินเตีย และมณีปุระ ซึ่งภายหลัง อังกฤษผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช ซึ่งปกครองโดย ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษที่กัลกัตตา นอกจากนี้แล้ว พม่ายังต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้อังกฤษเป็นจำนวนเงิน 2,000,000 ปอนด์สเตอร์ลิง และต้องยอมให้อังกฤษตั้งสถานกงสุลขึ้นในกรุงรัตนปุระอังวะ ซึ่งมี จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นกงสุลคนแรก

สิ่งที่ส่งผลตามมา แก้

  • นอกจากนี้แล้ว สงครามครั้งนี้ ยังได้ส่งอิทธิพลถึงระบอบจารีตการปกครองของชนชั้นปกครองต่าง ๆ ในภูมิภาคแถบนี้ เช่น กรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากนับได้ว่าเป็นการล่าอาณานิคมครั้งแรกของชาติตะวันตกในภูมิภาคแถบนี้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะได้มีความปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า พม่าสู้อังกฤษไม่ได้เลย ต้องยอมทำสัญญาและไถ่เมืองคืนคิดเป็นเงินตราได้แสนชั่ง และเสียเมืองต่าง ๆ ให้แก่อังกฤษ ซึ่งครั้งนั้น เงินในท้องพระคลังหลวงของพม่ามีไม่พอใช้ ต้องเรี่ยไรจากราษฎรใช้หนี้อยู่นานถึง 30 ปี ซึ่งนำไปสู่การผ่อนปรนท่าทีจากเคยแข็งกร้าวเป็นประนีประนอมต่อชาติตะวันตกในเวลาต่อมา[12][13]
  • ยุทธวิธีการรบของอังกฤษ ที่ใช้ปืนเรือและหอรบริมฝั่งน้ำทั้งยิงจริงและข่มขู่ ถือเป็นต้นแบบให้ชาติตะวันตกชาติอื่นได้ใช้ในเวลาต่อมา อาทิ ฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ปากน้ำ หรือ วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112[14]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Wood, W.A.R. (1924). A History of Siam. London: T. Fisher Unwin, Ltd. pp. 276–277. สืบค้นเมื่อ 10 February 2022.
  2. Van Roy, Edward (2010). "Safe Haven: Mon Refugees at the Capitals of Siam from the 1500s to the 1800s" (PDF). Journal of the Siam Society. 98: 172–173. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 10 February 2022.
  3. Sophonpanich, Ithi. "The Anxieties of Empire: British Debate on the Failure of John Crawfurd's Mission to Siam, c. 1820-1830". Journal of the Siam Society: 135. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2023. สืบค้นเมื่อ 28 February 2023.
  4. Robertson, Thomas Campbell (1853). Political incidents of the First Burmese War. Harvard University: Richard Bentley. p. 252.
  5. Chopra, P.N. (2003). A Comprehensive History of India, Volume 3. India: Sterling Publishers Pvt. Ltd. p. 79. ISBN 8120725069.
  6. Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1967). History of Burma (2 ed.). London: Sunil Gupta. pp. 236–237.
  7. 7.0 7.1 Maung Htin Aung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press. pp. 212, 214–215.
  8. UK Retail Price Index inflation figures are based on data from Clark, Gregory (2017). "The Annual RPI and Average Earnings for Britain, 1209 to Present (New Series)". MeasuringWorth. สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
  9. 9.0 9.1 Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps – Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 113, 125–127. ISBN 978-0-374-16342-6.
  10. Webster, Anthony (1998). Gentlemen Capitalists: British Imperialism in South East Asia, 1770–1890. I.B. Tauris. pp. 142–145. ISBN 978-1-86064-171-8.
  11. B.R. Pearn, 'The War of 1824' in A History of Rangoon (Rangoon, 1939), pp. 111-129
  12. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาสดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔, พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลองศพ ท่านผู้หญิงวงษานุประพันธ์ (ตาด สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) (พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2481) หน้า 25
  13. The Crawfurd Papers (Bangkok, 1915) p. 20; Burney Papers Vol.1, pp. 1-7, 17-18, 28-37
  14. The Burney Papers, Vol.1, pp. 1-6, 23-26, D.G.E. Hall, Burma, pp. 97-105.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้