กองทัพอาณาจักรพม่า

กองทัพอาณาจักรพม่า (พม่า: တပ်မတော် [taʔmədɔ̀]) เป็นกองกำลังทหารพม่าราชาธิปไตย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ถึง ศตวรรษที่ 19. ในสมัยอาณาจักรพุกาม, อาณาจักรอังวะ, อาณาจักรตองอู และ อาณาจักรคองบอง ตามลำดับ เป็นกองกำลังทหารที่สำคัญในอุษาคเณย์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กองทัพอาณาจักรพม่าพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิอังกฤษ ที่มีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัย

กองทัพอาณาจักรพม่า
မြန်မာ့ဘုရင့်တပ်မတော်
Tatmadaw
ธงพม่า สมัยราชวงศ์อลองพญา (พ.ศ. 2295–2428)
ประจำการ849–1885
ประเทศ อาณาจักรพม่า
รูปแบบทหารบก, ทหารเรือ
บทบาทกองทัพ
กำลังรบ70,000 นาย
ปฏิบัติการสำคัญการรุกรานจากมองโกล
สงครามสี่สิบปี
สงครามหงสาวดี-ตองอู
สงครามพม่า–สยาม
สสงครามโก้นบอง–หงสาวดี
สงครามจีน-พม่า
สงครามพม่า-อังกฤษ
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญพระเจ้าจานสิตา, มังรายกะยอชวา, พระเจ้าบุเรงนอง, พระเจ้าอลองพญา, มังมหานรธา, อะแซหวุ่นกี้, มหาพันธุละ

กำลังพลในแต่ละหน่วย มีกำลังจำนวนหนึ่งพันนาย มีหน้าที่ในการรักษาพระนคร และ ดูแลพระราชวังหลวง โดยใช้ระบบไพร่ แต่ในยามศึกนั้น ใช้การเกณฑ์ทหารจากชายฉกรรจ์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากระบบ ahmudan กำลังทัพประกอบด้วย ทหารคชานึก, ทหารม้า, ทหารปืนใหญ่ และ ทหารเรือ[1]

ขณะเดียวกันกองทัพต้องทำสงครามกับดินแดนเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะช่วงที่ชาติยุโรปครอบครองดินแดนต่างๆ เช่น โปรตุเกส และ ฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 ถึง ศตวรรษที่ 19 แต่มิอาจหยุดยั้งการทัพของกองทัพบริเตนของอังกฤษ ช่วงศตวรรษที่ 19 หลังสงครามพม่า-อังกฤษ กองทัพอาณาจักรพม่าถูกยุบเลิกพร้อมกับการยกเลิกระบบกษัตริย์ในพม่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1886

กองทัพพม่ามีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ทัตมาดอว์ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกกองทัพแห่งสหภาพพม่าในปัจจบัน

อ้างอิง

แก้
  1. Lieberman 2003: 154–156

บรรณานุกรม

แก้
  • Burney, Col. Henry (August 1840). Four Years' War between Burmah and China. The Chinese Repository. Vol. 9. Canton: Printed for Proprietors.
  • Charney, Michael W. (1994). Southeast Asian Warfare 1300–1900. Leiden: Brill. ISBN 9789004142404.
  • Dijk, Wil O. (2006). Seventeenth-century Burma and the Dutch East India Company, 1634–1680 (illustrated ed.). Singapore: NUS Press. ISBN 9789971693046.
  • Fraser-Lu, Sylvia (2001). Splendour in wood: the Buddhist monasteries of Burma. Weatherhill. ISBN 9780834804937.
  • Hack, Karl; Tobias Rettig (2006). Colonial armies in Southeast Asia (illustrated ed.). Psychology Press. ISBN 9780415334136.
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
  • Hardiman, John Percy (1901). Sir James George Scott (บ.ก.). Gazetteer of Upper Burma and the Shan States, Part 2. Vol. 3. Yangon: Government printing, Burma.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Johnston, William M. (2000). Encyclopedia of monasticism. Vol. 1. Taylor & Francis. ISBN 9781579580902.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Seekins, Donald M. (2006). Historical dictionary of Burma (Myanmar), vol. 59 of Asian/Oceanian historical dictionaries. Vol. 59 (Illustrated ed.). Sacredcrow Press. ISBN 978-0-8108-5476-5.
  • Steinberg, David I. (2009). Burma/Myanmar: what everyone needs to know. Oxford University Press. ISBN 9780195390681.
  • Tarling, Nicholas (2000). The Cambridge History of South-East Asia, Volume 1, Part 2 from c. 1500 to 1800 (reprint ed.). Cambridge University Press. ISBN 9780521663700.