สงครามจีน–พม่า

(เปลี่ยนทางจาก สงครามจีน-พม่า)

สงครามจีน–พม่า (พม่า: တရုတ်-မြန်မာ စစ်, จีน: 中緬戰爭, 清緬戰爭) หรือ การบุกพม่าของราชวงศ์ชิง หรือ การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง (อังกฤษ: Qing invasions of Burma, Myanmar campaign of the Qing Dynasty)[9] เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างราชวงศ์ชิงของจีนและราชวงศ์โก้นบองของพม่า จีนภายใต้จักรพรรดิเฉียนหลงเปิดการรุกรานพม่า 4 ครั้งระหว่างปี 2308 ถึง 2312 ซึ่งถือเป็น 1 ใน สิบการทัพใหญ่ของพระองค์ อย่างไรก็ตาม สงครามที่คร่าชีวิตทหารจีนไปกว่า 70,000 นายและผู้บังคับบัญชา 4 นาย[10] ได้รับการอธิบายว่าเป็น "สงครามชายแดนที่หายนะที่สุดที่ราชวงศ์ชิงเคยเผชิญมา"[9] และเป็นสงครามที่ "รับประกันเอกราชของพม่า"[11]

สงครามจีน–พม่า
ส่วนหนึ่งของ สิบการทัพใหญ่

สงครามจีน-พม่า ซึ่งกินระยะเวลาถึง 4 ปี
วันที่ธันวาคม พ.ศ. 2308 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312
สถานที่
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาน, รัฐกะชีน, มณฑลยูนนาน, พม่าตอนบน
ผล

พม่าได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม
ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์โก้นบอง
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ราชวงศ์ชิง จักรพรรดิเฉียนหลง
ราชวงศ์ชิง หลิว จ่าว
ราชวงศ์ชิง หยาง อิงจวี
ราชวงศ์ชิง หมิงรุ่ย [1]
ราชวงศ์ชิง เอ๋อเอ่อร์เติงเอ๋อ
ราชวงศ์ชิง อาหลี่กุย [1]
ราชวงศ์ชิง ฟู่ เหิง [1]
ราชวงศ์ชิง อาหลี่กุ่น 

ราชวงศ์ชิง อากุ้ย

พระเจ้ามังระ
อะแซหวุ่นกี้
มหาซีตู
เนเมียวสีหตู
บาลามินดิน
เนเมียวสีหบดี
เต็งจามินกอง

ปีแยร์เดอมิลารด์
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพแปดกองธง

ราชวงศ์ชิง กองธงเขียว

มองโกล

กองทัพไทใหญ่
กองทัพอาณาจักรพม่า
ทหารเกณฑ์ชาวพม่าและไทใหญ่
กำลัง

ครั้งที่ 1 ทั้งหมด: ทหารราบ 5,000, ทหารม้า 1,000[note 1]

  • กองธงเขียว 3,500[2]
  • กองกำลังผสมไทใหญ่

ครั้งที่ 2
ทั้งหมด: ทหารราบ 25,000, ทหารม้า 2,500[note 1]

  • กองธงเขียว 14,000 นาย[3]
  • กองกำลังผสมไทใหญ่

ครั้งที่ 3
ทั้งหมด: 50,000[4]

  • แปดกองธงและมองโกล 30,000[5]
  • กองธงเขียว 12,000
  • กองกำลังผสมไทใหญ่

ครั้งที่ 4
ทั้งหมด: 60,000[6]

  • แปดกองธงและมองโกล 40,000[2]
  • กองธงเขียว และ กองกำลังผสมไทใหญ่

ครั้งที่ 1 ทั้งหมด: ไม่ทราบ

  • ทหารราบ 2,000, ทหารม้า 200 (กองทัพอาณาจักรพม่า)[note 1]
  • กองหนุนไทใหญ่เมืองกองตน

ครั้งที่ 2
ทั้งหมด: ไม่ทราบ

  • ทหารราบ 4,500, ทหารม้า 200[note 1]
  • ทหารเมืองกองตน

ครั้งที่ 3
ทั้งหมด: ~ทหารราบ 30,000, ทหารม้า 2,000[note 2]


ครั้งที่ 4

ทั้งหมด: ~40,000[note 3]
ความสูญเสีย

'ครั้งที่ 2: ~20,000
'ครั้งที่ 3: 30,000+[note 4]
'ครั้งที่ 4: 20,000+[7]
ทั้งหมด: 70,000+

ถูกจับ 2,500 [8]
ไม่ทราบจำนวน แต่น้อย

การสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างการทำสงครามของอาณาจักรโก้นบองกับอาณาจักรอยุธยา และยาวไปจนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2310 ในพงศาวดารพม่าระบุว่า พระเจ้ามังระมีพระราชสาส์นให้นายทหารและแม่ทัพในสงครามคราวนี่เร่งรีบกระทำการ และรีบเดินทางกลับอังวะเพื่อที่จะเตรียมการรับสงครามคราวนี้[ต้องการอ้างอิง]

เหตุแห่งสงครามมาจากความขัดแย้งระหว่างพม่ากับจีนในเรื่องหัวเมืองไทใหญ่ ซึ่งกองทัพพม่าได้ยกเข้าดินแดนไทใหญ่และรุกคืบไปเรื่อยๆ ทำให้พวกเจ้าฟ้าไทใหญ่ได้ไปขอความช่วยเหลือจากจีน ซึ่งทั้งสองมีพรมแดนติดต่อกันระหว่างจีนกับพม่าทางมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ซึ่งเคยมีปัญหามาก่อนตั้งแต่ยุคพระเจ้าบุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอู โดยในครั้งนี้ราชวงศ์ชิงซึ่งปกครองโดยจักรพรรดิเฉียนหลง ได้ส่งกองทหารจากแปดกองธงอันเกรียงไกรเข้าทำลายพม่าแต่ก็ต้องผิดหวังทุกครั้ง โดยในระหว่างสงคราม หลิวเจ้าแม่ทัพกองธงเขียว (บุกครั้งที่ 1) หยางอิงจวี่แห่งกองธงเขียว (บุกครั้งที่ 2) รวมถึงพระนัดดาหมิงรุ่ยแห่งกองธงเหลือง (ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้) ขุนพลเอกแห่งราชวงศ์ชิงผู้พิชิตมองโกลและเติร์ก (บุกครั้งที่ 3) ต้องฆ่าตัวตายหนีความอัปยศเพราะความพ่ายแพ้ โดยในการบุกครั้งที่ 4 จักรพรรดิเฉียนหลงได้เรียกเสนาบดีระดับสูงให้มารวมตัวกันครั้งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์ ประกอบด้วยองค์มนตรีฟู่เหิงแห่งกองธงเหลืองขลิบซึ่งเป็นลุงของหมิงรุ่ยผู้มีประสบการณ์ในการรบกับมองโกลมาแล้วอย่างโชกโชน พร้อมด้วยเสนาบดีอีกหลายนายเช่น เสนาบดีกรมกลาโหมอากุ้ยแห่งกองธงขาว(ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นบิดาบุญธรรมของจักรพรรดิเจี่ยชิ่งเช่นเดียวกับฟู่เหิง) [12] แม่ทัพใหญ่อาหลีกุ่น รวมทั้งเอ้อหนิงสมุหเทศาภิบาลมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว (ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกรมกลาโหม) ให้เตรียมการบุกพม่าเป็นครั้งที่ 4 และทำพิธีส่งกองทัพนี้อย่างยิ่งใหญ่โดยจักพรรดิเฉียนหลงเป็นประธานในพิธี กองทัพนี้ประกอบไปด้วยกำลังพลจากทั้งแปดกองธงและกองธงเขียว ในครั้งนี้กองทัพต้าชิงสามารถรุกเข้าไปในดินแดนของพม่าได้ลึกพอสมควร แต่กองทัพของเนเมียวสีหบดีก็กลับมาได้ทัน สงครามเป็นไปอย่างดุเดือดสุดท้ายกองทัพพม่าสามารถล้อมกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้ แต่อะแซหวุ่นกี้ได้ตัดสินใจยุติสงครามที่เปล่าประโยชน์ครั้งนี้ลง ด้วยการบีบให้กองทัพต้าชิงซึ่งติดอยู่ในวงล้อมตัดสินใจเจรจา

สงครามสิ้นสุดลงด้วยการเจรจาและบรรลุสนธิสัญญาก้องโตน โดยยึดเอาแนวเขตพรมแดนเดิม[13] โดยทั้งสองฝ่ายต่างอ้างชัยชนะในสงครามครั้งนี้ และสงครามครั้งนี้ยังทำให้พระเกียรติยศของพระเจ้ามังระเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หลังจากก่อนหน้านี้กองทัพของพระองค์ก็สามารถพิชิตอยุธยาได้ในเวลาไล่เลี่ยกัน รวมถึงอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพฝ่ายพม่าเริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมา ก่อนที่จะมีบทบาทสำคัญต่อมาอีกหลายครั้งในภายหลังทั้งทางด้านการเมืองและการศึกสงคราม

การบุกทั้ง 4 ครั้งของต้าชิง แก้

  • การบุกครั้งที่ 1 ต้าชิงเลือกใช้กองธงเขียวของมณฑลหยุนหนาน ผสมกับกองกำลังไทใหญ่โดยมีหลิวเจ้าเป็นแม่ทัพ ซึ่งหลิวเจ้าถูกเนเมียวสีหตู แสร้งทำเป็นแพ้ หลิวเจ้าหลงกลตามไป ถูกกองทัพของเนเมียวสีหตูซุ่มโจมตีจนพ่ายแพ้
  • การบุกครั้งที่ 2 ต้าชิงยังเลือกส่งหยางอิงจวี่แห่งกองธงเขียว มาผสมกับกองกำลังไทใหญ่เช่นเดิมหมายพิชิตพม่าให้ได้ แต่บาลามินดินสามารถต้านทานการบุกของต้าชิงที่เมืองก้องโตนได้อย่างเด็ดขาด ประกอบกับการดักซุ่มโจมตีตัดเสบียงของเนเมียวสีหตู ทำให้กองทัพต้าชิงพ่ายแพ้เป็นครั้งที่ 2
  • การบุกครั้งที่ 3 จักรพรรดิเฉียนหลง เห็นแล้วว่ากองธงเขียวไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ จึงได้ส่งกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงศ์ชิงในยุคนั้นอย่างกองทัพแปดกองธง และยังส่งแม่ทัพที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์ชิงอย่าง หมิงรุ่ยแห่งกองธงเหลือง ผู้พิชิตมองโกลและซินเจียงมาแล้ว โดยแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน แต่ครั้งนี้กองทัพต้าชิงก็ต้องมาเจอกับแม่ทัพที่ฝีมือดีที่สุดคนหนึ่งแห่งยุคอย่างอะแซหวุ่นกี้ ที่สามารถวางแผนล่อกองทัพต้าชิงมายังจุดที่ต้องการได้ โดยแสร้งทำเป็นแพ้ให้กองทัพต้าชิงบุกลึกเข้ามาเผชิญหน้ากับพระเจ้ามังระ หมิ่งรุ่ยไม่สามารถเอาชนะได้ทำให้กองทัพถูกตรึงเอาไว้แถบชานเมืองอังวะ ในขณะนั้นเองพระเจ้ามังระได้ตัดสินใจส่งกองกำลังพิเศษของพระองค์นำโดยเนเมียวสีหตู และเตงจามินกองออกไปทำส่งครามกองโจรตัดเสบียงที่ส่งมาจากเมืองแสนหวีอย่างได้ผล ทำให้กองทัพของหมิงรุ่ยที่บุกลึกเข้ามาเริ่มอดอาหาร ส่วนอะแซหวุ่นกี้ก็นำทัพกลับมาตีตลบหลังสามารถยึดเมืองแสนหวี และเมืองต่างๆกลับคืนมาได้หมด ทำให้เส้นทางเสบียงของหมิ่งรุ่ยถูกตัดขาด อีกทางบาลามินดินก็สามารถใช้กำลังทหาร 7,000 นาย ต้านทานกองทัพต้าชิง 20,000 นาย เอาไว้ได้ที่เมืองก้องโตน สุดท้ายกองทัพต้าชิงที่บุกทางเส้นนี้ต้องถอยเนื่องจากเสียหายอย่างหนัก ในตอนนี้ทัพรองแตกพ่าย ทัพหนุนถูกทำลาย เส้นทางเสบียงถูกตัดขาด หมิงรุ่ยรู้จุดจบของศึกครั้งนี้ทันที แต่เขาก็เลือกที่จะสู้เป็นครั้งสุดท้ายพร้อมทหารแปดกองธงที่ยังภักดีต่อเขา แต่แล้วกองทัพของพระเจ้ามังระและอะแซหวุ่นกี้ก็สามารถพิชิตกองทัพของหมิงรุ่ยลงได้ในยุทธการเมเมียว คำสั่งสุดท้ายของหมิงรุ่ยคือให้ทหารที่เหลือไม่ถึง1พันนายยอมแพ้ ส่วนหมิงรุ่ยเลือกที่จะจบชีวิตตนอย่างมีเกียรติในแผ่นดินอังวะนั่นเอง
  • การบุกครั้งที่ 4 จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่งต่อความพ่ายแพ้ของหมิงรุ่ยยอดแม่ทัพแห่งราชวงศ์ชิง ครั้งนี้พระองค์ทรงเรียกองคมนตรีฟู่เหิงนักการทหารผู้ยิ่งใหญ่แห่งต้าชิง กลับมารับตำแหน่งผู้บัญชาการ รวมถึงเสนาบดีกลาโหมอากุ้ย แม่ทัพใหญ่อาหลีกุน และเอ้อหนิงข้าหลวงใหญ่แห่งยูนานและกุ้ยโจว ซึ่งล้วนแต่เจนจบในพิชัยสงครามให้มารวมตัวกันเพื่อหวังพิชิตพม่าเป็นครั้งที่ 4 โดยคุมกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงศ์ชิงอย่างแปดกองธงมาอีกครั้งเพื่อจะสยบพระเจ้ามังระให้ได้ แต่ก็เป็นอีกครั้งที่ต้าชิงต้องมาเจอกับยอดแม่ทัพของพระเจ้ามังระอย่าง อะแซหวุ่นกี้ บาลามินดิน เนเมียวสีหตู รวมถึงเนเมียวสีหบดีที่กลับมาจากการศึกกับอยุธยา ซึ่งทั้งสี่คนนับเป็นหัวใจหลักที่สามารถต้านทานการบุกทั้งทางบกและทางทะเลของต้าชิงเอาไว้ได้ โดยครั้งนี้พระเจ้ามังระได้ส่งกองทัพไปรบแถบชายแดน เพื่อไม่ให้กองทัพต้าชิงรวมตัวกันได้ในพื้นที่ภาคกลางเหมือนการบุกครั้งที่3 การบุกครั้งนี้แม้ฝ่ายจีนจะพยายามอย่างมากในการเข้ายึดเมืองก้องโตนอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ แต่ก็เป็นอีกครั้งที่บาลามินดินสามารถต้านทานกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้ ส่วนอีกด้านหนึ่งกองทัพจีนก็รุกคืบได้ช้ามาก เนื่องจากอะแซหวุ่นกี้ได้ส่งเนเมียวสีหตูคอยทำสงครามปั่นป่วนแนวหลังของต้าชิงเอาไว้ และด้วยความชำนาญการรบแบบจรยุทธของเนเมียวสีหตูนี้เองทำให้กองทัพจีนประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เพราะต้องคอยพะวงหลังตลอดการศึก ถึงอย่างนั้นอะแซหวุ่นกี้เองก็มีกำลังไม่มากพอที่จะเอาชนะต้าชิงในตอนนี้ จนจุดเปลี่ยนสำคัญได้มาถึงเมื่อกองทัพของเนเมียวสีหบดีเสร็จศึกกับอยุธยา ทำให้อะแซหวุ่นกี้ที่ตอนนี้มีกำลังพลมากพอ สามารถเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากที่คอยตั้งรับอย่างเหนียวแน่น เป็นการรุกตอบโต้อย่างเด็ดขาดโดยสั่งทหารเข้าโจมตีจุดสำคัญของต้าชิงพร้อมๆกัน จนทำให้กองทัพต้าชิงที่กระจายตัวอยู่ต้องถอยร่นมารวมตัวกัน จากนั้นอะแซหวุ่นกี้จึงใช้วิธีโอบล้อมโจมตีกองทัพต้าชิงโดยค่อยๆบีบเข้ามาเรื่อยๆ การสู้รบครั้งนี้เป็นไปอย่างดุเดือด สุดท้ายกองทัพต้าชิงถูกกองทัพของพม่าล้อมเอาไว้ได้ แม้ชัยชนะจะอยู่ต่อหน้าแล้ว แต่อะแซหวุ่นกี้ก็เลือกจบสงครามครั้งนี้ลง ด้วยการบีบกองทัพต้าชิงที่ติดอยู่ในวงล้อมให้ตัดสินใจเจรจา เกิดเป็นสนธิสัญญาก้องโตน เป็นการจบสงครามระหว่าง พระเจ้ามังระ กับ จักรพรรดิเฉียนหลง ลงในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312
 
การเดินทัพในสงครามจีน-พม่าครั้งที่3
หมิงรุ่ยแบ่งกองทัพบุกพม่า 2 ทาง

ความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย แก้

  • ฝ่ายจักรพรรดิเฉียนหลง พระองค์ต้องสูญเสียมหาบัณฑิตแห่งต้าชิงฟู่เหิง, แม่ทัพใหญ่อาหลีกุน และเสนาบดีกลาโหมที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์ชิงอย่างหมิงรุ่ยไปในศึกครั้งนี้ ที่สำคัญแม้พระองค์จะมีทหารกองธงเขียว(ทหารชาวฮั่น) อยู่นับล้านนาย แต่การต้องสูญเสียทหารแปดกองธง(ทหารอาชีพแมนจู) ที่ได้ชื่อว่าเป็นกองทัพดีที่สุดของราชวงศ์ชิงเกือบแสนนาย จากที่มีอยู่สองแสนห้าหมื่นนาย[14] คือความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์
  • ฝ่ายพระเจ้ามังระ พระองค์ต้องสูญเสียกำลังพลหลักไปเกือบสองหมื่นนายตลอดการศึกทั้งสี่ครั้ง แม้จะน้อยกว่าฝั่งต้าชิงมากแต่เมื่อเทียบอัตราส่วนของจำนวนประชากรแล้วก็นับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์เช่นเดียวกัน

ต่างอ้างชัยชนะ แก้

  • ฝ่ายพระเจ้ามังระ อ้างชัยชนะเนื่องจากสามารถชนะสงครามได้ทุกครั้ง สามารถครอบครองอาณาเขตต่างๆได้ตามเดิม และปกป้องแผ่นดินเอาไว้ได้

บทสรุปของสงคราม แก้

  • ฝ่ายราชวงศ์ชิง ในสงครามจีน-พม่านี้นับเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของราชวงศ์ชิง และถือเป็นรอยด่างเล็กๆของจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของโลกจักรพรรดิเฉียนหลง แต่ถึงแม้จะไม่สามารถสยบพม่าได้อย่างราบคาบ แต่นั้นก็ทำให้พม่าเห็นถึงศักยภาพในการระดมกองทัพขนาดใหญ่ ที่สามารถสั่นคลอนราชวงศ์โก้นบองได้ตลอดเวลา
  • ฝ่ายราชวงศ์โก้นบอง เป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดและสูญเสียมากที่สุดในยุคของพระเจ้ามังระ แต่นั้นก็ทำให้ได้เห็นถึงความแข็งแกร่งของพระองค์ รวมถึงการใช้คนแบ่งงานให้แม่ทัพแต่ละนายได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ แม้จะสูญเสียทหารไปมากแต่ก็สามารถรักษาแผ่นดินเอาไว้ได้ ถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่พระองค์ฝากไว้ให้ราชวงศ์โก้นบอง หลังจากสิ้นยุคพระองค์ไปแล้วขีดความสามารถทางการทหารของพม่าก็ไม่เคยกลับไปอยู่จุดสูงสุดได้อีกเลย[15]

หมายเหตุ แก้

  • จำนวนทหารที่อ้างอิงข้างต้นนั้นเป็นการอิงจากพงศาวดารฝ่ายจีนแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนในบันทึกของฝ่ายพม่านั้นกล่าวว่ากองทัพจีนในครั้งที่ 3 มีจำนวนเกิน 100,000 นาย ส่วนครั้งที่ 4 นั้นอาจมีถึง 150,000-200,000 นาย ส่วนฝ่ายพม่าก็บอกถึงจำนวนที่ใช้รับศึกในครั้งนี้มีถึง 70,000 นายในช่วงแรก และเพิ่มเป็น 120,000 นายหลังการกลับมาถึงของเนเมียวสีหบดี
  • หมิงรุ่ยในพงศาวดารพม่าบันทึกไว้ว่าเป็นราชบุตรเขยของจักรพรรดิเฉียนหลง แต่ในบันทึกของฝ่ายจีนกล่าวว่าหมิงรุ่ยเป็นแต่เพียงหลานของฟู่เหิงซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องชายของจักรพรรดินีเสี้ยวเสียนฉุน ฮองเฮาองค์แรกของจักรพรรดิเฉียนหลง โดยลูกของฟู่เหิงอย่าง ฟู่คังอันได้รับแต่งตั้งให้มียศเสมอด้วยบุตรบุญธรรมของจักรพรรดิเฉียนหลง
  • สงครามครั้งนี้มีเสนาบดีกลาโหมของจีนร่วมมาทำศึกด้วยถึง 4 นายประกอบด้วย ฟูเหิง (ภายหลังสละสิทธิเป็นองคมนตรี) หมิงรุ่ย (คนที่สอง), อากุ้ย (คนที่สามได้รับแต่งตั้งหลังหมิงรุ่ยตาย), เอ้อหนิง (คนที่สี่ได้รับแต่งตั้งหลังอากุ้ยตาย)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Giersch 2006, p. 103.
  2. 2.0 2.1 Giersch 2006, p. 101.
  3. Qing Chronicles.
  4. Haskew 2008, pp. 27–31.
  5. Giersch 2006, p. 102.
  6. Htin Aung 1967, pp. 180–183.
  7. George C. Kohn 2006, p. 82.
  8. Harvey 1925, p. 258.
  9. 9.0 9.1 Dai 2004, p. 145.
  10. Giersch 2006, pp. 101–110.
  11. Whiting 2002, pp. 480–481.
  12. Asian Studies เอเชียศึกษา & ชมรมผู้สนใจข้อมูลราชวงศ์ชิง | พงศาวดารราชวงศ์ชิง (清史稿) เล่มที่ 318 บรรพที่ 105
  13. Woodside 2002, pp. 256–262.
  14. 来源明細
  15. Ba Than (1951) (in Burmese). History of Burma (7th ed.). Yangon: Sarpay Beikman Press
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 (Burney 1840, pp. 171–173); from Burmese sources; figures adjusted down by one magnitude per G.E. Harvey's analysis in his History of Burma (1925) in the section Numerical Note (pp. 333–335).
  2. ~20,000 at the beginning, plus additional 10,000 men and 2000 cavalry towards the end
  3. (Burney 1840, pp. 180–181) and (Harvey 1925, pp. 333–335). Burney citing Burmese sources gives the Chinese strength as 500,000 foot and 50,000 cavalry and states the Burmese strength to be 64,000 foot and 1200 cavalry. These numbers are certainly exaggerated. Per Harvey (pp. 333–335), the Burmese numbers should be reduced by an order of magnitude, which gives the Chinese strength as about 55,000 which is in line with the 60,000 figure from Chinese sources. Moreover, the Burmese figure of ~65,000 was also exaggerated though probably not by a factor of ten. Per Harvey's analysis, the most the Konbaung kings could have raised was 60,000, even that in early 19th century when they had a larger empire than Hsinbyushin's. Hsinbyushin could not have raised 60,000 since Burma had been at war since 1740 and many able men had already perished. The most he could have raised was no more than 40,000.
  4. The number is derived from the fact that only a few dozens of the 30,000 strong main army managed to return back to Yunnan. (See e.g. (Myint-U 2006, pp. 102–103).) This figure does not include casualties suffered by the northern army.

แหล่งที่มา แก้

  • Burney, Col. Henry (August 1840). Four Years' War between Burmah and China. The Chinese Repository. Vol. 9. Canton: Printed for Proprietors.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Dai, Yingcong (2004). "A Disguised Defeat: The Myanmar Campaign of the Qing Dynasty". Modern Asian Studies. Cambridge University Press. doi:10.1017/s0026749x04001040.{{cite journal}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Fernquest, Jon (Autumn 2006). "Crucible of War: Burma and the Ming in the Tai Frontier Zone (1382–1454)". SOAS Bulletin of Burma Research. 4 (2).{{cite journal}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Giersch, Charles Patterson (2006). Asian borderlands: the transformation of Qing China's Yunnan frontier. Harvard University Press. ISBN 0-674-02171-1.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Haskew, Michael E., Christer Joregensen, Eric Niderost, Chris McNab (2008). Fighting techniques of the Oriental world, AD 1200–1860: equipment, combat skills, and tactics (Illustrated ed.). Macmillan. ISBN 978-0-312-38696-2.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Jung, Richard J. K. (1971). "The Sino-Burmese War, 1766–1770: War and Peace Under the Tributary System". Papers on China. Vol. 24.{{cite news}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • George C. Kohn (2006). Dictionary of wars. Checkmark Books. ISBN 0-8160-6578-0.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Kyaw Thet (1962). History of Union of Burma (ภาษาพม่า). Yangon: Yangon University Press.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Sir Arthur Purves Phayre (1884). History of Burma: including Burma proper, Pegu, Taungu, Tenasserim, and Arakan. From the earliest time to the end of the first war with British India. Trübner & co.
  • Whiting, Marvin C. (2002). Imperial Chinese Military History: 8000 BC – 1912 AD. iUniverse. pp. 480–481. ISBN 978-0-595-22134-9.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Woodside, Alexander (2002). Willard J. Peterson (บ.ก.). The Cambridge history of China: The Ch'ing Empire to 1800, Volume 9. United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-24334-6.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Draft History of Qing, Chapter 327, Biographies 114 《清史稿》卷327 列傳一百十四 (ภาษาจีน). China.