ฟู่เหิง

(เปลี่ยนทางจาก ฟู่ เหิง)

ฟู่เหิง (จีน: 傅恒; พินอิน: Fùhéng;; พม่า: ဖူဟင်း;;), ยอดนักการทหารและนักปกครองแห่ง กองธงขลิบเหลือง (กองธงที่สำคัญที่สุดแห่งราชวงค์ชิง ขึ้นตรงต่อองค์จักรพรรดิ) โดยตัวฟู่เหิงยังมีอีกฐานะหนึ่งเป็นน้องชายของ จักรพรรดินีเสี้ยวเสียนฉุน จักรพรรดิเฉียนหลงทรงโปรดปรานฟู่เหิงผู้นี้มากทั้งเรื่องสติปัญญาและความรอบคอบในการทำงานโดยมักจะสอบถามความคิดเห็นจากเขาก่อนตัดสินใจในหลายๆเรื่อง ซึ่งฟู่เหิงเองก็ไม่ทำให้พระองค์ผิดหวังเลยไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือการทหาร จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดปรานเขาถึงขนาดยกย่องว่าเป็นเหมือนน้องชายอีกคนหนึ่ง อีกสิ่งที่แสดงถึงความใส่ใจในตัวฟู่เหิงคือการแต่งตั้งลูกชายของเขาอย่าง ฟู่คังอัน ให้มีบรรดาศักดิ์เป็นกู้ซานเป้ยจื่อเปรียบเสมือนโอรสบุญธรรมอีกคนของพระองค์ [1]

ฟู่เหิง
ฟู่เหิง
ชื่อพื้นเมือง
傅恒
เสียชีวิตกรกฎาคม พ.ศ. 2312
รับใช้ราชวงศ์ชิง
ชั้นยศบิดาบุญธรรมของจักรพรรดิเจียชิ่ง
สภาองคมนตรี
มหาบัณฑิต
เสนาบดีกรมกลาโหม
เสนาบดีสภาแห่งต้าชิง
ราชองครักษ์แห่งองค์รัชทายาท
หน่วยกองธงเหลืองขลิบ
บังคับบัญชาสงครามเสฉวน (พ.ศ. 2290-2297)
สงครามซินเจียงอุยกูร์ (พ.ศ. 2298-2300)
สงครามต้าชิง-พม่า (พ.ศ. 2311–2312)

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของเขาคือ สงครามจีน-พม่า ซึ่งต้าชิงต้องพ่ายแพ้ไปแล้วถึง 3 ครั้งแถมยังต้องเสีย หมิงรุ่ย ยอดนักการทหารซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของเขาไปอีกคน ในครั้งนี้จักรพรรดิเฉียนหลงจึงได้ตัดสินใจระดมเสนาบดีครั้งใหญ่ที่สุดในยุคพระองค์ และยังส่งกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงค์ชิงในยุคนั้นอย่างทัพแปดกองธงหวังพิชิตพระเจ้ามังระให้จงได้ โดยพระองค์ได้แต่งตั้งฟู่เหิงให้เป็นผู้นำทัพในศึกครั้งนี้ และทำพิธีส่งกองทัพนี้อย่างยิ่งใหญ่ต่อหน้าพระบรมวงศานุวงศ์แห่งต้าชิงด้วยพระองค์เอง [2]

สงครามจีน-พม่า

แก้

"ข้าพระองค์เป็นทหาร หลักการใช้ทหารที่ข้าพระองค์ยึดถือมาตลอดก็คือ เมื่อเป็นฝ่ายรุกจงบุกตะลุยอย่างแหลมคมและหนักแน่นปานขุนเขา ยามนำทัพ แม่ทัพจงควบม้านำหน้าทหารสู่สมรภูมิ" [3] นี่คือหนึ่งในคำพูดที่ฟู่เหิงแห่งตระกูลฟู่ฉ่าได้กล่าวเอาไว้ เขาคือยอดนักการทหารที่ดีที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น โดยครั้งนี้ฟู่เหิงเป็นผู้คุมกำลังผสมอันเกรียงไกรของต้าชิงที่ประกอบด้วยทัพแปดกองธง, ทัพฮั่นกองธงเขียว, ทัพไทใหญ่ และทัพเรือฮกเกี้ยน โดยเขาเป็นผู้นำทัพทางบกเข้าโจมตีอาณาจักรอังวะของพม่าอย่างดุเดือด ผสานกับอากุ้ยที่นำทัพเรือ แต่ในครั้งนี้ต้าชิงเองก็ต้องมาเจอกับยอดนักการทหารของพม่าซึ่งสามารถต้านทานกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้ในทุกสมรภูมิ อีกทั้งยังใช้ทั้งธรรมชาติและชัยภูมิได้อย่างสมบูรณ์แบบจนสุดท้ายกองทัพต้าชิงต้องตกอยู่ภายใต้วงล้อมของพม่า แต่ถึงอย่างนั้นฟู่เหิงก็ไม่ได้หวาดหวั่นและยังคงนำทหารไปเผชิญหน้ากับกองทัพอังวะอย่างองอาจเพื่อไม่ให้ทหารที่เหลือเสียขวัญไปมากกว่านี้ สมเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่แห่งต้าชิงแม้รู้ว่าครั้งนี้อาจต้องตายก็ตามที แต่จนแล้วจนรอดอะแซหวุ่นกี้ก็ไม่ได้สั่งทหารเข้าโจมตีทำแต่เพียงล้อมเอาไว้ อีกด้านหนึ่งอากุ้ยก็สามารถโน้มน้าวแม่ทัพต้าชิงทั้งหลายให้เห็นด้วยกับการเจรจาเนื่องจากเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่าย เพราะต่างฝ่ายก็สูญเสียมามากเกินพอแล้ว สุดท้ายก็มีการลงนามในสนธิสัญญากองตน เป็นการปิดฉากสงครามจีน-พม่าลงในวันที่ ลงในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312 [4]

ฟู่เหิงต้องมาเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับต้าชิงได้ไม่นาน ซึ่งสร้างความเศร้าโศกให้แก่จักรพรรดิเฉียนหลงเป็นอย่างมากที่ต้องมาเสียแม่ทัพคนโปรดอย่างฟู่เหิงไป และตำหนิเหล่าแม่ทัพนายกองที่ส่งไปบุกพม่าครั้งนี้อย่างรุนแรง [5]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-25. สืบค้นเมื่อ 2018-06-15.
  2. เรียบเรียงโดยคุณ Worapong Keddit และคุณศรีสรรเพชญ์ | พงศาวดารราชวงศ์ชิง (清史稿)[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
  3. คุณ Worapong Keddit | พงศาวดารราชวงศ์ชิง (清史稿) เล่มที่ 301 บรรพที่ 88[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
  4. Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 103–104.
  5. Charles Patterson Giersch (2006). Asian borderlands: the transformation of Qing China's Yunnan frontier. Harvard University Press. pp. 100–110.