จักรพรรดิเจียชิ่ง

จักรพรรดิเจียชิ่ง (จีนตัวย่อ: 嘉庆; จีนตัวเต็ม: 嘉慶; พินอิน: Jiāqìng 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) พงศาวดารไทยเรียก เกียเข้ง[1] เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ชิงและจักรพรรดิชิงองค์ที่ 5 ที่ปกครองแผ่นดินจีนโดยชอบธรรม จากปี ค.ศ. 1796 ถึงปี ค.ศ. 1820 พระองค์ดำเนินคดี เหอเชิน จอมทุจริตซึ่งเป็นคนโปรดของพระราชบิดา และพยายามคืนความสงบเรียบร้อยภายในจักรวรรดิต้าชิง ควบคุมการลักลอบขน ฝิ่น ภายในประเทศจีน

เจียชิ่ง
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
ครองราชย์9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796 – 2 กันยายน ค.ศ. 1820
(24 ปี 206 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิเฉียนหลง
ถัดไปจักรพรรดิเต้ากวง
ผู้สำเร็จราชการจักรพรรดิเฉียนหลง (1796-1799)
พระราชสมภพ13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1760(1760-11-13)
Old Summer Palace, Beijing
หย่งเยี่ยน
สวรรคต2 กันยายน ค.ศ. 1820(1820-09-02) (59 ปี)
Chengde summer palace, modern Hebei
ฝังพระศพสุสานหลวงตะวันตกแห่งราชวงศ์ชิง
จักรพรรดินีจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
พระราชบุตรMianmu, Prince Mu
Princess Zhuangjing
องค์ชายเหมียนหนิง
Princess Zhuangjing
Princess Huian
Miankai, Prince Dun
Mianxin, Prince Rui
Mianyu, Prince Hui
รัชศก
1796 - 1821 - Jiāqìng 嘉慶
พระสมัญญานาม
จักรพรรดิ Shòutiān Xìngyùn Fūhuà Suīyóu Chóngwén จิงหวู่ กวงอู Xiàogōng Qínjiǎn Duānmǐn Yīngzhé Ruì
受天興運敷化綏猷崇文經武光裕孝恭勤儉端敏英哲睿皇帝
พระอารามนาม
Qing เหรินจง
清仁宗
ราชสกุลHouse of Aisin-Gioro
พระราชบิดาจักรพรรดิเฉียนหลง
พระราชมารดาจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญประหาร เหอเชิน

พระราชประวัติ

แก้

จักรพรรดิเจียชิ่งประสูติใน พระราชวังฤดูร้อนเดิม 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมือง ปักกิ่ง พระนามส่วนพระองค์คือ หย่งเยี่ยน (永琰) ต่อมาเปลี่ยนเป็น หย่งเยี่ยน (顒琰) เมื่อทรงเป็นจักรพรรดิ ตัวอักษรจีน คำว่า หย่ง ในพระนามของพระองค์เปลี่ยนจาก 永 เป็น 顒 ความแปลกใหม่นี้ได้รับการแนะนำโดยจักรพรรดิเฉียนหลง ที่เชื่อว่าไม่ควรมีภาษาจีนที่ใช้กันทั่วไป เนื่องมาจากธรรมเนียมการตั้งพระนามต้องห้ามในราชวงศ์มาช้านาน

เจ้าชายหย่งเยี่ยนเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชมารดาของพระองค์คือ พระมเหสีหลิง บุตรสาวของ เว่ย ชิงไท่ (魏清泰) ขุนนางชาวฮั่นซึ่งครอบครัวได้รวมเข้ากับ แปดกองธง ของแมนจูมาเป็นเวลานานเป็นส่วนหนึ่งของกองธงฮั่น

จักรพรรดิเฉียนหลงเดิมมีพระราชโอรสอีก 2 พระองค์ในพระทัยสำหรับการสืบทอดต่อจากพระองค์ แต่ทั้ง 2 พระองค์สิ้นพระชนม์อย่างรวดเร็วด้วยโรคภัยต่าง ๆ เพราะฉะนั้นในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1773 พระองค์เลือกเจ้าชายหย่งเยี่ยนเป็นผู้สืบทอดของพระองค์เป็นการลับ ในปี ค.ศ. 1789 จักรพรรดิเฉียนหลงสถาปนาเจ้าชายหย่งเยี่ยนเป็น เจี่ยชินหวัง (嘉親王)

เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์

แก้

ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1795 ปีที่ 60 ในรัชสมัยของพระองค์ จักรพรรดิเฉียนหลงประกาศความตั้งพระทัยที่จะสละราชบัลลังก์เพื่อเจี่ยชินหวัง พระองค์ตัดสินพระทัยครั้งนี้เพราะพระองค์รู้สึกว่าเป็นการหมิ่นพระเกียรติที่จะปกครองนานกว่าพระอัยกาของพระองค์ จักรพรรดิคังซี ที่ครองบัลลังก์มา 61 ปี เจี่ยชินหวังเสด็จขึ้นครองบัลลังก์และรับศักราช เจียชิ่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1796 ดังนั้นพระองค์จึงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ว่าจักรพรรดิเจียชิ่ง อย่างไรก็ตาม ตลอด 3 ปีจักรพรรดิเจียชิ่งเป็นเพียงจักรพรรดิในนามเพราะการตัดสินพระทัยยังคงกระทำโดยพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งกลายเป็น ไท่ช่างหวัง (พระเจ้าหลวง) หลังการสละราชบัลลังก์ของพระองค์

หลังการสวรรคตของจักรพรรดิเฉียนหลงในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1799 จักรพรรดิเจียชิ่งเข้าควบคุมราชสำนักและดำเนินคดี เหอเชิน ขุนนางคนโปรดของพระราชบิดา เหอเชินถูกตั้งข้อหาทุจริตและใช้อำนาจโดยมิชอบ เขาถูกปลดออกจากตำแหน่ง ทรัพย์สินของเขาถูกยึด และมีพระบัญชาให้ฆ่าตัวตาย ลูกสะใภ้ของเหอเชิน เจ้าหญิงกู้หลุนเหอเซี่ยว พระขนิษฐาต่างพระมารดาของจักรพรรดิเจียชิ่งรอดพ้นจากการลงโทษและได้รับทรัพย์สินเล็กน้อยจากที่ดินของเหอเชิน

ในเวลานั้น จักรวรรดิต้าชิงเผชิญหน้าความผิดปกติภายในที่สำคัญที่สุดคือกลุ่มกบฏบัวขาวขนาดใหญ่ (1796–1804) และแม้ว (1795–1806)

เปลี่ยนชื่อเวียดนาม

แก้

จักรพรรดิเจียชิ่งปฏิเสธคำขอของ จักรพรรดิซา ล็อง ผู้ปกครองเวียดนามที่จะเปลี่ยนชื่อประเทศของพระองค์เป็น นามเวียด พระองค์เปลี่ยนชื่อแทนเป็น เวียดนาม[2] พงศาวดารของเวียดนามมีจดหมายโต้ตอบทางการทูตเกี่ยวกับการตั้งชื่อ[3]

ต่อต้านศาสนาคริสต์

แก้

ประมวลกฎหมายต้าชิง มาตราหนึ่งเรื่อง ข้อห้ามเกี่ยวกับพ่อมดและแม่มด (禁止師巫邪術) ในปี ค.ศ. 1811 มีการเพิ่มประโยคโดยอ้างอิงถึงศาสนาคริสต์ แก้ไขเมื่อ ค.ศ. 1815 และ ค.ศ. 1817 แก้ไขรูปแบบครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1839 ภายใต้ จักรพรรดิเต้ากวัง และยกเลิกในปี ค.ศ. 1870 ภายใต้ จักรพรรดิถงจื้อ มีการตัดสินประหารชีวิตชาวยุโรปเพราะเผยแพร่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ในหมู่ชาวจีนฮั่นและชาวแมนจู คริสเตียนที่ไม่กลับใจถูกส่งไปยังเมืองมุสลิมใน ซินเจียง ให้เป็นทาสผู้นำมุสลิม[4]

สวรรคตและการฝังพระศพ

แก้

ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1820 จักรพรรดิเจียชิ่งเสด็จสวรรคตที่ สถานที่พักร้อนและหมู่วัดในเฉิงเต๋อ (熱河行宫) 230 กิโลเมตร (140 ไมล์) ตะวันออกเฉียงเหนือของ ปักกิ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ราชสำนักมาพำนักพักร้อน ชิงฉือเกา หรือ ต้นฉบับประวัติศาตร์ราชวงศ์ชิง ไม่ได้บันทึกสาเหตุการสวรรคต บางคนกล่าวว่าพระองค์สวรรคตหลังจากถูกฟ้าผ่า แต่บางทฤษฎีว่าพระองค์สวรรคตด้วยพระโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากจักรพรรดิมีพระวรกายค่อนข้างอ้วน พระองค์ถูกสืบทอดราชบัลลังก์โดยโอรสองค์ที่สองของพระองค์ เจ้าชายเหมียนหนิง ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในพระนาม จักรพรรดิเต้ากวัง

จักรพรรดิเจียชิ่งถูกฝังอยู่กลาง สุสานหลวงตะวันตกแห่งราชวงศ์ชิง 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ปักกิ่ง

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้
  • พระราชบิดา: จักรพรรดิเฉียนหลง
  • พระราชมารดา: จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน
  • ฮองเฮา (皇后)
  • หวงกุ้ยเฟย (皇貴妃)
    • กงซุ่นหวงกุ้ยเฟย (恭順皇貴妃) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
    • เหออวี้หวงกุ้ยเฟย (和裕皇貴妃) จากสกุลหลิวเจีย (劉佳)
  • เฟย (妃)
    • หัวเฟย (華妃) จากสกุลโฮ่วเจีย (侯佳)
    • ซูเฟย (恕妃) จากสกุลว๋านเหยียน (完顏)
    • จวงเฟย (莊妃) จากสกุลหวัง (王)
    • ซิ่นเฟย (信妃) จากสกุลหลิวเจีย (劉佳)
  • ผิน (嬪)
    • เจี่ยนผิน (簡嬪) จากสกุลกวนเจีย (關佳)
    • ซุ่นผิน (遜嬪) จากสกุลเฉินเจีย (沈佳)
    • เอินผิน (恩嬪) จากสกุลอูยา (烏雅)
    • หรงผิน (榮嬪) จากสกุลเหลียง (梁)
    • ฉุนผิน (淳嬪) จากสกุลต่งเจีย (董佳)
    • อันผิน (安嬪) จากสกุลซูหวานหนีกัวเอ่อร์เจีย (蘇完尼瓜爾佳)
  • พระราชโอรส
    • องค์ชายไม่ปรากฏพระนาม (1779–1780) มู่จวิ้นอ๋อง (穆郡王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในเหออวี้หวงกุ้ยเฟย
    • องค์ชายเหมียนหนิง (綿寧,1782–1850) จื้อชินอ๋อง (智親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิ;พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
    • องค์ชายเหมียนข่าย (綿恺,1795–1838) ตุนเค่อชินอ๋อง (惇恪親王,1819-1838) พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
    • องค์ชายเหมียนซิน (綿忻,1805–1828) รุ้ยหวยชินอ๋อง (瑞懷親王,1819-1828) พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
    • องค์ชายเหมียนหยู (綿愉,1814–1865) ฮุ่ยตวนชินอ๋อง (惠端親王,1820-1865) พระโอรสในกงซุ่นหวงกุ้ยเฟย
  • พระราชธิดา
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1780–1783) พระธิดาในเจี่ยนผิน
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1780–1783) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
    • องค์หญิงจวงจิ้งเหอซั่วกงจวู่ (莊敬和硕公主,1781–1811) พระธิดาในเหออวี้หวงกุ้ยเฟย
    • องค์หญิงจวงจิ้งกู้หลุนกงจวู่ (莊静固伦公主,1784–1811) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
    • องค์หญิงฮุ่ยอันเหอซั่วกงจวู่ (慧安和硕公主,1786–1795) พระธิดาในซุ่นผิน
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1789–1790) พระธิดาในหัวเฟย
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1793–1795) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1805) พระธิดาในกงซุ่นหวงกุ้ยเฟย
    • องค์หญิงฮุ่ยมิ่นกู้หลุนกงจวู่ (慧愍固伦公主,1811–1815) พระธิดาในกงซุ่นหวงกุ้ยเฟย

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Woodside 1971, p. 120.
  3. Jeff Kyong-McClain; Yongtao Du (2013). Chinese History in Geographical Perspective. Rowman & Littlefield. pp. 67–. ISBN 978-0-7391-7230-8.
  4. Robert Samuel Maclay (1861). Life among the Chinese: with characteristic sketches and incidents of missionary operations and prospects in China. Carlton & Porter. p. 336. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06. mohammedan slaves to beys.

(ขอ)​เพิ่มเติม

จักรพรรดิ​ ลำดับที่ (หรือรัชกาลที่)​ 7

แห่ง ราชวงศ์​ชิง ของ จักรวรรดิ​ต้าชิง

(โดยชาวแมนจู)​ Qìng Royal

ตรงกับ​ช่วง ศตวรรษ​ ที่ 18 โดยทรง

เป็น​ จักรพรรดิ​ เลือดผสม บิดา เป็น

ชาวแมนจู และ มารดา เป็น ชาวฮั่น

.... ในรัชสมัยนี้ มี​เหตุการณ์​ที่ไม่สู้ดี

เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์​ ทั้งจาก

ขุนนาง เชื้อพระวงศ์​ .... ฯลฯ

ที่ไม่เกรงกลัว ต่อ องค์​ฮ่องเต้ หรือ

จักรพรรดิ​ จึงได้กระทำการต่างๆ

ให้เกิดความเดือดร้อน ​ทั่วแผ่นดิน

ด้วยเหตุนี้​ จึงได้มีการก่อกบฏ​ โดย

ชาวฮั่นที่ต้องการปกครองตนเอง

ซึ่งไม่ต้องการทนกับการต้องถูก

ปกครอง โดยชาวแมนจู ได้เกิด

ที่มาของ คำว่า "ต้านชิงกู้หมิง"

.... แม้จะพยายามทำหน้าที่ให้ดี

เพียงใด แต่บางอย่างไม่สามารถ

เปลี่ยนแปลงได้ จึงได้สวรรคต

ด้วยยังทุกข์​ในพระทัย เฉกเช่น

โอรสสวรรค์​ หรือ สมมติ​เทพ อีก

มากมาย ....

[*]​ขอบคุณ​ ที่มา ของ ข้อมูล​ ค่ะ

https://www.blockdit.com/posts/5e21166c489b2b0cb0716293

ก่อนหน้า จักรพรรดิเจียชิ่ง ถัดไป
จักรพรรดิเฉียนหลง    
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2339 - พ.ศ. 2363)
  จักรพรรดิเต้ากวง