จักรพรรดิถงจื้อ
จักรพรรดิถงจื้อ (จีน: 同治帝; พินอิน: Tóngzhì; 27 เมษายน ค.ศ. 1856 – 12 มกราคม ค.ศ. 1875)[1] พงศาวดารไทยเรียก พระเจ้าถ้องตี้[2][3] ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 4 พรรษา ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์ได้เพียง 12 ปี พระองค์ก็จัดได้ว่าเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง แต่ก็ถูกซูสีไทเฮายึดอำนาจไว้ ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ เพราะพระนาง ซูสีไทเฮาเห็นว่า พระองค์นั้นไร้ซึ่งความสามารถ วัน ๆ ก็เอาแต่แอบหนีออกไปเที่ยวนอกวัง
จักรพรรดิถงจื้อ 同治帝 | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861 – 12 มกราคม ค.ศ. 1875 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเสียนเฟิง | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิกวังซฺวี่ | ||||||||||||||||
อุปราช | |||||||||||||||||
พระราชสมภพ | 27 เมษายน ค.ศ. 1856 (咸豐六年 三月 二十三日) พระที่นั่ง Chuxiu พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง | ||||||||||||||||
สวรรคต | 12 มกราคม ค.ศ. 1875 (同治十三年 十二月 五日) หอหย่างซิน พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง | (18 ปี)||||||||||||||||
ฝังพระศพ | สุสาน Hui สุสานหลวงตะวันออกแห่งราชวงศ์ชิง | ||||||||||||||||
พระมเหสี | จักรพรรดินีเซี่ยวเจ๋ออี้ (สมรส 1872) | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | อ้ายซินเจว๋หลัว | ||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ชิง | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเสียนเฟิง | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | ซูสีไทเฮา |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้ฉุน เป็นราชโอรสองค์เดียวในจักรพรรดิเสียนเฟิงกับพระสนมเย่เฮ่อน่าหลาค.ศ. 1872 เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อมีพระชนมพรรษาได้สิบเจ็ดพรรษา พระพันปีหลวงทั้งสองพระองค์ต่างมีพระราชประสงค์จะให้ได้ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีที่ตนคัดสรรเอาไว้แล้วด้าน พระพันปีหลวงฉีอันนั้น ทรงหมายพระเนตรสตรีแมนจูผู้มากคุณสมบัตินางหนึ่งจากสกุล “อาลู่เท่อ” (พินอิน: Alute) ด้าน พระพันปีหลวงฉือสีนั้น มีพระราชดำริจะให้สมเด็จพระจักรพรรดิได้อภิเษกสมรสกับข้าหลวงในพระองค์นางหนึ่งจากสกุล “ฟูจา” (พินอิน: Fuja) สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อมีพระราชวินิจฉัยเลือกพระนางอาลู่เท่อเป็นพระอัครมเหสี โดยโปรดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมรสขึ้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1872 ส่วนสตรีที่พระพันปีหลวงฉือสีทรงเลือกสรรไว้นั้น โปรดรับเอาไว้เป็น พระชายา
โดยพระนาม "ถงจื้อ" (同治) มีความหมายว่า "สองพระนางฟังราชการ ขุนนางช่วยกันปกครอง" (อันหมายถึง พระพันปีหลวงฉืออันและพระพันปีหลวงฉือสีว่าราชการหลังม่าน โดยมีเหล่าขุนนางช่วยบริหารราชการ) อีกความเห็นหนึ่งเห็นว่า พระนามมาจากคำสอนของขงจื้อมีความหมายว่า"ระเบียบและมั่งคั่ง" ( วิธีปกครองมีหลายวิธี กล่าวถึงที่ทำให้ชาติรุ่งเรืองสรุปได้เป็น 2 คำ คือระเบียบและมั่งคั่ง ส่วนการปกครองที่นำชาติสู่ความย่อยยับ สรุปได้ 2 คำเช่นกันคือยุ่งเหยิงและโกลาหล )
สวรรคต
แก้และต่อมาก็ประชวรพระโรคซิฟิลิส ซึ่งโบราณเรียก “โรคสำหรับบุรุษ” เกิดจากการสัมผัสหรือร่วมประเวณีกับผู้ป่วยโรคนี้ พระพันปีหลวงฉือสีจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้คณะแพทย์หลวงเข้าตรวจพระอาการ พบว่าสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรพระโรคซิฟิลิสจริงเมื่อทรงทราบแล้วพระพันปีหลวงฉือสีทรงเตือนให้คณะแพทย์เก็บงำความข้อนี้เอาไว้ เพราะเรื่องดังกล่าวย่อมเป็นความอื้อฉาวน่าอดสูขนานใหญ่ คณะแพทย์จึงจัดทำรายงานเท็จเกี่ยวกับพระอาการแทน โดยรายงานว่าสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรไข้ทรพิษ และถวายการรักษาตามพระอาการไข้ทรพิษ อันไข้ทรพิษนั้นมีลักษณะและอาการแต่ผิวเผินคล้ายคลึงกับโรคซิฟิลิส และชาวจีนยังนิยมว่าผู้ป่วยเป็นเป็นไข้ทรพิษถือว่ามีโชค อย่างไรก็ดี เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรนั้น พระพันปีหลวงฉือสีได้ทรงประกาศในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระจักรพรรดิว่า สมเด็จพระจักรพรรดิประชวรไข้ทรพิษ ถือเป็นมงคลแก่บ้านเมืองและในระหว่างการรักษาพระองค์นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระพันปีหลวงฉือสีและ พระพันปีหลวงฉีอันเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อน ซึ่งนับได้ว่าพระพันปีหลวงฉือสีกลับเข้าดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกครั้งโดยที่คณะแพทย์ถวายการรักษาพระอาการไข้ทรพิษเพื่อตบตาผู้คน แต่ความจริงแล้วทรงเป็นซิฟิลิส สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อจึงเสด็จสวรรคตในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1875
พระราชกรณียกิจ
แก้ระหว่างที่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองใน ค.ศ. 1873— ค.ศ. 1875 ได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการปฏิสังขรณ์พระราชวังหยวนหมิงหยวน (จีน: 圆明园; พินอิน: Yuán Míng Yuán; “พระราชวิสุทธอุทยาน”; อังกฤษ: Tactfully Pure Garden) ที่ถูกกองผสมนานาชาติเผาทำลายไปในสงครามฝิ่น โดยทรงปรารภว่าเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นของขวัญแด่พระพันปีหลวงทั้งสองพระองค์ ทั้งนี้ พระราชวังหยวนหมิงหยวนตั้งอยู่ตอนเหนือของกรุงปักกิ่ง และได้รับการขนานนามจากนานาชาติว่าเป็น "ที่สุดแห่งสวน" ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า ความจริงแล้วสมเด็จพระจักรพรรดิมีพระราชประสงค์จะให้พระพันปีหลวงฉือสีเสด็จแปรพระราชฐานไปให้ไกลจากพระราชวังหลวง เพื่อที่จะได้ทรงบริหารพระราชภาระได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดคอยควบคุมอีกต่อไป และ ในระยะดังกล่าว พระคลังมหาสมบัติร่อยหรอลงไปจนเหลือเพียงน้อยนิดเนื่องเพราะใช้จ่ายไปการสงครามกับต่างชาติและการปราบปรามอั้งยี่ซ่องโจรภายใน สมเด็จพระจักรพรรดิจึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้คณะกรรมการบริหารพระคลังมหาสมบัติกระทำการใด ๆ ให้ได้มาสู่พระคลังซึ่งเงินและทรัพย์สิน กับทั้งรับสั่งให้พระบรมวงศ์ ข้าราชการชั้นสูง และผู้มีบรรดาศักดิ์ทั้งปวงช่วยกันบริจาคเงินและทรัพย์สินให้แก่พระคลัง ในการนี้ ยังได้ทรงติดตามและตรวจสอบผลการดังกล่าวด้วยพระองค์เองด้วย แต่ก็มีผู้ขอพระราชทานให้ทรงงดการปฏิสังขรณ์พระราชวังหยวนหมิงหยวนเสีย ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิไม่ทรงสบพระราชอารมณ์อย่างยิ่ง มีพระบรมราชโองการให้ปลดเจ้าชายกงซึ่งทรงร่วมเข้าพระนามด้วย ออกเสียจากฐานันดรศักดิ์ในพระราชวงศ์ กลายเป็นสามัญชน ไม่กี่วันถัดจากนั้นได้มีพระบรมราชโองการให้ปลด เจ้าชายเตวิน (จีน: 惇; พินอิน: Dūn) , เจ้าชายฉุน, เจ้าชายอี้จวน (พินอิน: Yizuan) , เจ้าชายอี้ฮุย (พินอิน: Yihui) , เจ้าชายชิง (พินอิน: Qing) ตลอดจนข้าราชการและรัฐบุรุษคนอื่น ๆ ที่เข้าชื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาดังกล่าว เช่น พลเอกเจิงกั๋วฝัน, หลี่หงจัง, เหวินเสียง (จีน: 文祥; พินอิน: Wén Xiáng) ฯลฯ ออกจากจากฐานันดรศักดิ์ในพระราชวงศ์ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่ทางราชการทั้งสิ้น พระองค์ทรง ถูกพระราชนนี บังคับพระราโชวาทแนะนำให้ทรงยกเลิกพระบรมราชโองการปลดพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเหล่านั้นเสีย เป็นเหตุให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเสียพระราชหฤทัยนักที่ไม่อาจทรงบริหารพระราชอำนาจได้อย่างเด็ดขาด และทรงระบายพระราชอารมณ์ด้วยการเสด็จประทับโรงหญิงนครโสเภณี
พระบรมวงศานุวงศ์
แก้- พระราชบิดา: จักรพรรดิเสียนเฟิง
- พระราชมารดา:สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวชินเสี่ยน
- ฮองเฮา (皇后)
- เซี่ยวเจ๋ออี้ฮองเฮา (孝哲毅皇后) จากสกุลอาหลู่เท่อ (阿魯特)
- หวงกุ้ยเฟย (皇貴妃)
- ซูเซิ่นหวงกุ้ยเฟย (淑慎皇贵妃) จากสกุลฟู่ฉา (富察)
- จวงเหอหวงกุ้ยเฟย (莊和皇貴妃) จากสกุลอาหลู่เท่อ (阿魯特)
- จิ้งอี้หวงกุ้ยเฟย (敬懿皇贵妃) จากสกุลเฮ่อเซ่อหลี่ (赫舍里)
- หรงฮุ่ยหวงกุ้ยเฟย (榮惠皇貴妃) จากสกุลซีหลินเจวี๋ยหลัว (西林覺羅)
- พระราชโอรสและพระราชธิดา
- ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของจักรพรรดิถงจื้อ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "Tongzhi | emperor of Qing dynasty | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-17.
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 เรื่องพระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
ข้อมูล
แก้- Zhang Caitian; Wu Changshou. . ใน Zhao Erxun; และคณะ (บ.ก.). 《清史稿》 [Draft History of Qing] (ภาษาจีนตัวเต็ม).
- Sterling Seagrave, Dragon Lady ISBN 0-679-73369-8.
- Daily life in the Forbidden City, Wan Yi, Wang Shuqing, Lu Yanzhen. ISBN 0-670-81164-5.
- Forbidden City: The Great Within, Second Edition. May Holdsworth, Caroline Courtauld. ISBN 962-217-792-1.
อ่านเพิ่ม
แก้- Jung Chang, Empress Dowager Cixi: The Concubine Who Launched Modern China, (2013) ISBN 978-0-307-27160-0.
- Mary Clabaugh Wright. The Last Stand of Chinese Conservatism: The T'ung-Chih Restoration, 1862-1874. (Stanford: Stanford University Press, 1957).
- Hummel, Arthur W. Sr., บ.ก. (1943). . Eminent Chinese of the Ch'ing Period. United States Government Printing Office.
ก่อนหน้า | จักรพรรดิถงจื้อ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิเสียนเฟิง | จักรพรรดิจีน (พ.ศ. 2404 - 2416) |
จักรพรรดิกวังซวี้ |