จักรพรรดิเต้ากวัง
จักรพรรดิเต้ากวัง (จีน: 道光; พินอิน: Dàoguāng) พงศาวดารไทยเรียก เตากวาง[1] เป็นจักรพรรดิองค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ชิง และจักรพรรดิชิงองค์ที่ 6 ที่ปกครองประเทศจีนโดยชอบธรรม ครองสิริราชสมบัติจากปี ค.ศ. 1820 ถึงปี ค.ศ. 1850 รัชสมัยของพระองค์เกิด ภัยภายนอก กบฏภายใน นั่นคือ สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และจุดเริ่มต้นของ กบฏไท่ผิง ที่เกือบจะล้มราชวงศ์ นักประวัติศาสตร์ โจนาธาน สเปนซ์ อธิบายเกี่ยวกับจักรพรรดิเต้ากวังว่ามีลักษณะ เป็นคนดีแต่ไร้ประสิทธิภาพ[2]
เต้ากวัง | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง | |||||||||||||
ครองราชย์ | 3 ตุลาคม ค.ศ. 1820 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850 (29 ปี 145 วัน) | ||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเจียชิ่ง | ||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิเสียนเฟิง | ||||||||||||
พระราชสมภพ | 16 กันยายน ค.ศ. 1782 พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง เหมียนหนิง หมิ่นหนิง | ||||||||||||
สวรรคต | 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850 พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง | (67 ปี)||||||||||||
จักรพรรดินี | จักรพรรดินีเซี่ยวมู่เฉิง จักรพรรดินีเซี่ยวเซิ่นเฉิง จักรพรรดินีเซี่ยวเฉฺวียนเฉิง จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง | ||||||||||||
| |||||||||||||
ราชวงศ์ | ชิง | ||||||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเจียชิ่ง | ||||||||||||
พระราชมารดา | จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย |
พระราชประวัติ
แก้จักรพรรดิเต้ากวังประสูติใน พระราชวังต้องห้าม ในปี ค.ศ. 1782 เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล) เมื่อพระองค์กลายเป็นจักรพรรดิ อักษรตัวแรกของพระนามของพระองค์ถูกเปลี่ยนจาก เหมี่ยน เป็น หมิ่น เพื่อหลีกเลี่ยงอักษรเหมี่ยนที่ค่อนข้างธรรมดา ความแปลกใหม่นี้ได้รับการแนะนำโดย พระอัยกาของพระองค์ จักรพรรดิเฉียนหลง ที่เชื่อว่าไม่ควรมีภาษาจีนที่ใช้กันทั่วไป เนื่องมาจากธรรมเนียมการตั้งพระนามต้องห้ามในราชวงศ์มาช้านาน
จักรพรรดิเต้ากวัง เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของ องค์ชายหย่งเยี่ยน พระราชโอรสองค์ที่ 15 และรัชทายาทของ จักรพรรดิเฉียนหลง แม้ว่าพระองค์จะเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ของ องค์ชายหย่งเยี่ยน แต่พระองค์เป็นลำดับแรกในการสืบราชบัลลังก์หลังจาก องค์ชายหย่งเยี่ยน ขึ้นเป็นรัชทายาทเพื่อสืบทอดราชบัลลังก์ของพระอัยกา เพราะพระมารดาของพระองค์ พระชายาฉี่ถ่าล่า เป็นพระชายาเอกขององค์ชายหย่งเยี่ยน ขณะที่พระเชษฐาองค์ใหญ่ของพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนนั้นเป็นโอรสที่ประสูติแต่นางสนมของ องค์ชายหย่งเยี่ยน
พระบรมวงศานุวงศ์
แก้- พระราชบิดา: จักรพรรดิเจี่ยชิ่ง
- พระราชมารดา: จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
- ฮองเฮา (皇后)
- จักรพรรดินีเซี่ยวมู่เฉิง (孝穆成皇后) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
- จักรพรรดินีเซี่ยวเซิ่นเฉิง (孝慎成皇后) จากสกุลถงเจีย (佟佳)
- จักรพรรดินีเซี่ยวเฉฺวียนเฉิง (孝全成皇后) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
- จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง (孝静成皇后) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
- หวงกุ้ยเฟย (皇貴妃)
- จวงซุ่นหวงกุ้ยเฟย (莊順皇貴妃) จากสกุลอูยา (烏雅)
- กุ้ยเฟย (貴妃)
- ถงกุ้ยเฟย (彤貴妃) จากสกุลซูมู่หลู่ (舒穆魯)
- เจียกุ้ยเฟย (佳貴妃) จากสกุลกัวเจีย (郭佳)
- เฉิงกุ้ยเฟย (成貴妃) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
- เฟย (妃)
- ผิน (嬪)
- พระสนมขั้นกุ้ยเหริน (貴人)
- พระสนมผิง (平貴人) จากสกุลจ้าว (趙)
- พระสนมหลี่ (李貴人) จากสกุลหลี่ (李)
- พระสนมน่า (那貴人) จากสกุลน่า (那)
- พระสนมติ้ง(定貴人) จากสกุลซุน (孫)
- พระสนมขั้นฉางไจ้ (常在)
- พระสนมม้าน (蔓常在)
- พระสนมขั้นตาอิ้ง (答应)
- พระสนมมู่ (睦答應) จากสกุลเฮ่อเซ่อหลี่ (赫舍里)
- นางข้าหลวง (官女子) จากสกุลหลิว (劉)
- พระราชโอรส
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | พระมารดา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | องค์ชายอี้เว่ย 奕緯 |
ค.ศ.1808 | ค.ศ.1831 | พระอัครชายาเหอ | สถาปนาเป็น อิ่นจื้อจวิ้นอ๋อง หลังสิ้นพระชนม์ |
2 | องค์ชายอี้กัง 奕綱, |
ค.ศ.1826 | ค.ศ.1827 | จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง | สถาปนาเป็น ซุ่นเหอจวิ้นอ๋อง หลังสิ้นพระชนม์ |
3 | องค์ชายอี้จี้ 奕繼 |
ค.ศ.1829 | ค.ศ.1830 | จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง | lสถาปนาเป็น ฮุ่ยจื้อจวิ้นอ๋อง หลังสิ้นพระชนม์ |
4 | องค์ชายอี้จู่ 奕詝 |
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1831 | 22 สิงหาคม ค.ศ. 1861 | จักรพรรดินีเซี่ยวฉวนเฉิง | ภายหลังเป็นจักรพรรดิ ครองราช 9 มีนาคม ค.ศ. 1850 - 22 สิงหาคม ค.ศ. 1861 |
5 | องค์ชายอี้ฉง 奕詝 |
23 กรกฎาคม ค.ศ. 1831 | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1889 | พระอัครชายาเซียง | ดำรงพระยศเหอชั่วตุนชินหวัง ค.ศ. 1846 - 1889 ทรงเป็นเจ้ากองธงแมนจูขลิบเหลือง |
6 | องค์ชายอี้ซิน 奕訢 |
11 มกราคม ค.ศ. 1833 | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1898 | จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง | ดำรงพระยศเหอซั่วกงจงชินอ๋อง 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1850-29 พฤษภาคม ค.ศ.1898 ทรงสามารถพูดสนทนาภาษาอังกฤษได้แตกฉาน |
7 | องค์ชายอี้เซฺวียน 奕譞 |
16 ตุลาคม ค.ศ.1840 | 1 มกราคม ค.ศ.1891 | จวงซุ่นหวงกุ้ยเฟย์ | ดำรงพระยศฉุนชินหวัง ค.ศ.1872-1891 เป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิกวังซวี่ และเป็นพระอัยกาของจักรพรรดิผู่อี๋ |
8 | องค์ชายอี้เหอ 奕詥 |
ค.ศ.1844 | ค.ศ.1868 | พระมเหสีจวงซุ่น | ดำรงพระยศจงตวนจวิ้นอ๋อง ค.ศ.1850-1868 |
9 | องค์ชายอี้ฮุ่ย 奕譓 |
ค.ศ.1845 | ค.ศ.1877 | พระมเหสีจวงซุ่น | ดำรงพระยศฝูจิ้งจวิ้นอ๋อง ค.ศ.1850-1877 |
- พระราชธิดา
- เจ้าหญิงตวนหมิ่นกู้หลุนกงจวู่ (端悯固伦公主,1813–1819) พระธิดาของจักรพรรดินีเซี่ยวเซิ่นเฉิง
- เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1825) พระธิดาของพระอัครชายาเซียง
- เจ้าหญิงตวนซุ่นกู้หลุนกงจวู่ (端顺固伦公主,1825–1835) พระธิดาของจักรพรรดินีเซี่ยวฉวนเฉิง
- เจ้าหญิงโซ่วอันกู้หลุนกงจวู่ (寿安固伦公主,1826–1860) พระธิดาของจักรพรรดินีเซี่ยวฉวนเฉิง
- เจ้าหญิงโซ่วจังเหอซั่วกงจวู่ (寿臧和硕公主,1829–1856) พระธิดาของพระอัครชายาเซียง
- เจ้าหญิงโซ่วเอินกู้หลุนกงจวู่ (寿恩固伦公主,1830–1859) พระธิดาของจักรพรรดินีเซี่ยวจิงเฉิง
- เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1840–1844) พระธิดาของพระราชเทวีถง
- เจ้าหญิงโซ่วซีเหอซั่วกู้หลุนกงจวู่ (寿禧和硕公主,1841–1866) พระธิดาของพระราชเทวีถง
- เจ้าหญิงโซ่วจวงกู้หลุนกงจวู่ (壽莊固倫公主,1842–1884) พระธิดาของพระมเหสีจวงซุ่น
- เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1844–1845) พระธิดาของพระราชเทวีถง
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของจักรพรรดิเต้ากวัง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Spence 1990, pp. 149, 166.
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเต้ากวัง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิเจี่ยชิ่ง | จักรพรรดิจีน (พ.ศ. 2363 — พ.ศ. 2393) |
จักรพรรดิเสียนเฟิง |