อาณาจักรพุกาม (อังกฤษ: Pagan Kingdom; พม่า: ပုဂံခေတ်) เป็นอาณาจักรโบราณในช่วง พ.ศ. 1392–1840 พุกามเป็นอาณาจักรและราชวงศ์แห่งแรกในประวัติศาสตร์ของชาวพม่า มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่า "ผิวคาม" (แปลว่า หมู่บ้านของชาวผิว) เป็นเมืองเล็ก ๆ ริมทิศตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี สภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง เป็นที่อยู่ของชาวผิว ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ในปี พ.ศ. 1587 พุกามถูกสถาปนาโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ พระองค์ทำสงครามกับชาวมอญที่อยู่ทางใต้ชนะ แล้วจึงสถาปนาชื่ออย่างเป็นทางการของพุกามว่า "อริมัททนาปุระ" (အရိမဒ္ဒနာပူရ หมายความว่า เมืองที่ปราบศัตรูราบคาบ) รอบ ๆ เมืองพุกาม มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ "มินนันตุ" (မင်းနန်သူရွာ) ซึ่งเป็นเขตเมืองโบราณ 4 แห่ง ล้อมรอบอยู่ด้วย

อาณาจักรพุกาม

ပုဂံခေတ်
ค.ศ. 849–ค.ศ. 1297
อาณาจักรพุกามประมาณ ค.ศ. 1210 สมัยพระเจ้านรปติสี่ตู่
อาณาจักรพุกามประมาณ ค.ศ. 1210
สมัยพระเจ้านรปติสี่ตู่
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงพุกาม (849–1297)
ภาษาทั่วไปภาษาพม่าโบราณ, ภาษามอญ, ภาษาปยู
ศาสนา
พุทธเถรวาทและมหายาน, วิญญาณนิยม, ศาสนาฮินดู
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1044–77
พระเจ้าอโนรธามังช่อ
• ค.ศ. 1084–1112
พระเจ้าจั่นซิตา
• ค.ศ. 1112–67
พระเจ้าอลองสิธู
• ค.ศ. 1174–1211
พระเจ้านรปติสี่ตู่
• ค.ศ. 1256–87
พระเจ้านรสีหบดี
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งสหภาพ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง
• เริ่มต้นปฏิทินพม่า
23 มีนาคม ค.ศ. 640
• ก่อตั้งอาณาจักร
23 ธันวาคม ค.ศ. 849
• เริ่มต้นใช้ตัวอักษรพม่า
ค.ศ. 984 และ ค.ศ. 1035
• เริ่มสร้างจักรวรรดิ
ค.ศ. 1050–60
• ช่วงรุ่งเรืองสูงสุด
ค.ศ. 1174–1250
• มองโกลรุกรานครั้งแรก
ค.ศ. 1277–87
17 ธันวาคม ค.ศ. 1297
• มองโกลรุกรานครั้งที่สอง
ค.ศ. 1300–01
ประชากร
• ค.ศ. 1210
1.5 ถึง 2 ล้านคน
สกุลเงินจัต
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรศรีเกษตร
อาณาจักรสุธรรมวดี
ราชวงศ์เรมโร
อาณาจักรมยีนไซ่ง์
อาณาจักรหงสาวดี
ราชวงศ์เรมโร
รัฐฉาน

ในรัชสมัยพระเจ้าจั่นซิตาพระเจ้าพุกามพระองค์ที่ 4 เป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ชาวมอญที่อยู่หงสาวดีทางตอนใต้ ได้ทำสงครามชนะพุกามและครอบครองดินแดนของพุกาม พระองค์จึงรวบรวมชาวพม่าตีโต้คืน จึงสามารถยึดพุกามกลับมาไว้ได้

อาณาจักรพุกามเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดทางด้านศิลปวิทยาการในสมัยพระเจ้าอลองสิธูใน พ.ศ. 1687 พระองค์ได้โปรดให้สร้างเจดีย์ชื่อ "เจดีย์ตะบะญุ" (သဗ္ဗညု ဘုရား แปลว่า เจดีย์แห่งความรู้แจ้ง) ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพุกามไว้

พระเจ้าพุกามพระองค์สุดท้ายคือพระเจ้านรสีหบดี สร้างเจดีย์องค์สุดท้ายแห่งพุกามเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1819 และเมื่อสร้างเจดีย์องค์นี้เสร็จได้มีผู้ทำนายว่าอาณาจักรพุกามจะถึงกาลอวสาน ซึ่งต่อมาก็เป็นจริงดังนั้น เมื่อกองทัพราชวงศ์หยวนยกทัพบุกครั้งแรกในปี พ.ศ. 1820 และในปี พ.ศ. 1840 อาณาจักรพุกามก็ล่มสลายอย่างสิ้นเชิง รวมระยะเวลาทั้งสิ้นสี่ร้อยกว่าปี

อาณาจักรพุกามหลังปี พ.ศ. 1830 ถูกมองโกลยึดครองและแบ่งดินแดนออกเป็น 2 มณฑล[1] คือ

  • มณฑลเจิ้งเหมี่ยน (จีน: 征緬; เวด-ไจลส์: Cheng-Mien) โดยรวมรัฐทางเหนือของพม่าเข้าด้วยกันมีตะก้อง เป็นศูนย์กลางภายใต้การปกครองของข้าหลวงจีน มีทหารมองโกลประจำ
  • มณฑลเหมี่ยนชุง (จีน: 緬中; เวด-ไจลส์: Mien-Chung) อยู่ทางภาคกลางของพม่า มีพุกามเป็นศูนย์กลางจนปี พ.ศ. 1832 จึงได้แต่งตั้งพระเจ้าจะซวา เป็นกษัตริย์ปกครองพุกาม ในฐานะประเทศราชของจีน

รายพระนามพระเจ้าพุกาม

แก้
  • ราชวงศ์พุกามตอนต้น
  1. ปยีน-บย่า (Pyinbya) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1389–1419
  2. ตานแนะ (Tannet) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1419–1447
  3. ซะเลงะคเว่ (Sale Ngahkwe) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1447–1477
  4. เต้นโค (Theinhko) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1477–1499
  5. ญองอู ซอยะฮาน (Nyaung-u Sawrahan) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1499–1544
  6. กูนซอ จองบยู (Kunhsaw Kyaungbyu) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1544-1564
  7. จีนโซ (Kyizo) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1564-1581
  8. โซะกะเต (Sokkate) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1581-1587
  • สมัยจักรวรรดิ
  1. พระเจ้าอโนรธามังช่อ (Anawrahta) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1587-1620
  2. พระเจ้าซอลู (Sawlu) หรือ มังลูลาน (Man Lulan) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1620-1627
  3. พระเจ้าจั่นซิตา (Kyanzittha) หรือ ถิลุงมัง (T’iluin Man) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1627-1655/1656
  4. พระเจ้าอลองสิธู (Alaungsithu) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1655/1656-1710
  5. พระเจ้านะระตู (Narathu) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1710-1714
  6. พระเจ้านรสิงขะ (Naratheinkha) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1714-1717
  7. พระเจ้านรปติสี่ตู่ (Narapatisithu) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1717-1754
  8. พระเจ้าไชยสิงขะ (Zeya Theinkha) หรือ พระเจ้าทีโลมีนโล (Htilominlo) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1754-1778
  9. นรสิงหอุซะนา (Naratheinga Uzana) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1774/1778-1778 (เทียบเท่าผู้ว่าการแทน)
  10. พระเจ้าจะซวา (Kyaswa) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1778-1792
  11. พระเจ้าอุซะนา (Uzana) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1792-1799
  12. พระเจ้านรสีหบดี (Narathihapati) ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1799-1830

พุกามในปัจจุบัน

แก้

ดูบทความหลักที่ พุกาม

ปัจจุบันพุกามเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของพม่า พุกามได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์หรือดินแดนแห่งเจดีย์ เพราะในช่วงรุ่งเรืองสูงสุดของอาณาจักรระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 มีวัด เจดีย์ และอาราม กว่า 10,000 แห่ง ถูกสร้างขึ้นบนที่ราบพุกามเพียงแห่งเดียว[2] ซึ่งยังคงมีวัดและเจดีย์กว่า 2,200 แห่งที่ยังคงอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน[3] ในปี พ.ศ. 2562 พุกามได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่[4]

หมายเหตุ

แก้
  1. อาณาจักรมองโกลได้เริ่มรุกรานและคุกคามพุกามมาตั้งแต่สมัยพระเจ้านรปติสินธุ หลังจากนั้นกษัตริย์อีก 3-4 พระองค์ถัดมาครองราชย์แต่เพียงสั้น ๆ ไม่ปรากฏผลงานที่โดดเด่น จนในที่สุดอาณาจักรพุกามก็ล่มสลายถึงที่สุดในสมัยพระเจ้านรสีหบดี ก็ตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์หยวนของกุบไลข่าน

อ้างอิง

แก้
  1. "อาณาจักรที่สำคัญของพม่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
  2. Stadtner 2011: 216
  3. Köllner, Bruns 1998: 117
  4. "Seven more cultural sites added to UNESCO's World Heritage List". UNESCO. 6 July 2019.

บรรณานุกรม

แก้
  • Aung-Thwin, Michael (1985). Pagan: The Origins of Modern Burma. Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 0-8248-0960-2.
  • Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
  • Charney, Michael W. (2006). Powerful Learning: Buddhist Literati and the Throne in Burma's Last Dynasty, 1752–1885. Ann Arbor: University of Michigan.
  • Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  • Cooler, Richard M. (2002). "The Art and Culture of Burma". Northern Illinois University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-22.
  • Dijk, Wil O. (2006). Seventeenth-century Burma and the Dutch East India Company, 1634–1680 (illustrated ed.). Singapore: NUS Press. ISBN 9789971693046.
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Kala, U (1720). Maha Yazawin Gyi (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Köllner, Helmut; Axel Bruns (1998). Myanmar (Burma) (illustrated ed.). Hunter Publishing. p. 255. ISBN 9783886184156.
  • Kyaw Thet (1962). History of Burma (ภาษาพม่า). Yangon: Yangon University Press.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Moore, Elizabeth H. (2007). Early Landscapes of Myanmar. Bangkok: River Books. ISBN 974-9863-31-3.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2004 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
  • Ricklefs, M.C.; Bruce McFarland Lockhart; Albert Lau; Portia Reyes; Maitrii Aung-Thwin; Bruce Lockhart (2010). A New History of Southeast Asia. Palgrave Macmillan. p. 544. ISBN 978-0230212145.
  • Royal Historical Commission of Burma (1829–1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
  • Than Tun (December 1959). "History of Burma: A.D. 1300–1400". Journal of Burma Research Society. XLII (II).
  • Than Tun (1964). Studies in Burmese History (ภาษาพม่า). Vol. 1. Yangon: Maha Dagon.
  • Wicks, Robert S. (1992). Money, markets, and trade in early Southeast Asia: the development of indigenous monetary systems to AD 1400. SEAP Publications. ISBN 9780877277101.

21°10′20″N 94°51′37″E / 21.17222°N 94.86028°E / 21.17222; 94.86028