พะโค,[1] บะโก[1] (พม่า: ပဲခူးမြို့; มอญ: ဗဂေါ) หรือ หงสาวดี (พม่า: ဟံသာဝတီ; มอญ: ဟံသာဝတဳ หงสาวะโตย) เป็นเมืองหลักของภาคพะโค ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม่า

พะโค

หงสาวดี
เมือง
พะโคตั้งอยู่ในประเทศพม่า
พะโค
พะโค
ที่ตั้งเมืองพะโคในประเทศพม่า
พิกัด: 17°20′12″N 96°28′47″E / 17.33667°N 96.47972°E / 17.33667; 96.47972
ประเทศ พม่า
ภาค ภาคพะโค
จังหวัดพะโค
อำเภอพะโค
ก่อตั้งค.ศ. 1152
ความสูง13 ฟุต (4 เมตร)
ประชากร
 (ค.ศ. 2014)
 • ทั้งหมด254,424 คน
ประชากรศาสตร์
 • กลุ่มชาติพันธุ์พม่า, มอญ, ไทใหญ่, พม่าเชื้อสายจีน, พม่าเชื้อสายอินเดีย, กะเหรี่ยง
 • ศาสนาพุทธ
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)

ประวัติ แก้

 
พระนอนชเวตาลย่อง หนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองพะโค ความยาว 177 ฟุต (54 เมตร) สร้างปี ค.ศ. 994 สมัยกษัตริย์มอญ

พะโคหรือหงสาวดีตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำพะโค เป็นเมืองของชาวมอญมาก่อนในอดีต พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เคยเสด็จเข้ามาทำพิธีเจาะพระกรรณที่ฐานพระธาตุมุเตาขณะที่ยังอยู่ในเขตของมอญอยู่ ก่อนที่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จะทำสงครามยึดครองหงสาวดีจากชาวมอญ ในปี พ.ศ. 2082 และสถาปนาเป็นศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์ตองอู เดิมเมืองหงสาวดีเก่ายุคมอญอยู่บริเวณตะวันออกของพระธาตุมุเตา ต่อมาจึงย้ายและสร้างให้ใหญ่กว่าเดิมในยุคพม่า

หงสาวดีเจริญรุ่งเรืองสุดในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง เนื่องจากพระองค์ให้ทรงสร้างพระราชวังของพระองค์ที่ชื่อ กัมโพชธานี ซึ่งนับเป็นพระราชวังใหญ่โตมีประตูทางเข้าออกถึง 10 ประตู สร้างโดยเกณฑ์ข้าทาสจากเมืองขึ้นต่าง ๆ โดยหนึ่งในนั้นมีเมืองเชียงใหม่และอยุธยารวมอยู่ด้วย จนถึงสมัยพระเจ้านันทบุเรงหลังศึกยุทธหัตถีแล้ว นัดจินหน่องได้ผูกมิตรกับเมืองยะไข่และอยุธยาเพื่อเข้าตีหงสาวดี แต่มหาเถรเสียมเพรียมได้ยุยงให้ตองอูไม่เข้ากับอยุธยา ดังนั้นเมื่อทัพตองอูมาถึงหงสาวดีก็ได้เข้าตีและล้อมเมืองเอาไว้ เมื่อทางหงสาวดีทราบข่าวว่าพระนเรศวรปราบทหารตามแนวชายแดนสำเร็จแล้วจึงเปิดประตูเมืองรับทัพตองอู พระเจ้านันทบุเรงมอบสิทธิ์ขาดในการบัญชาการทัพแก่นัดจินหน่องและเชิญพระเจ้านันทบุเรงไปประทับ ณ ตองอู เพื่อเตรียมรับทัพพระนเรศวร ตองอูได้กวาดต้อนพลเรือนและทรัพย์สินไปยังตองอู ทิ้งเมืองให้ยะไข่ปล้นและเผาเมือง ส่วนพระนเรศวรมาถึงหงสาวดีก็เหลือแต่เมืองที่ถูกเผาแล้ว พระนเรศวรจึงยกทัพไปตีตองอูต่อ หลังจากนั้น ศูนย์กลางอำนาจของพม่าได้ย้ายไปยังอังวะ, อมรปุระ และมัณฑะเลย์ตามลำดับ จนถึงวันที่พม่าเสียเอกราชให้แก่อังกฤษ

สัญลักษณ์ของเมือง แก้

สัญลักษณ์เป็นรูปหงส์คู่ มีตำนานของชาวมอญเล่าว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองหงสาวดีที่สมัยก่อนยังคงเป็นชายหาดริมทะเล พระพุทธเจ้าทรงเห็นหงส์สองตัวว่ายน้ำเล่นกัน จึงทำนายออกมาว่าภายหลังจะเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ชาวมอญจึงถือเอาตำนานเรื่องนี้มาเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของเมือง นอกจากนี้ตำนานยังกล่าวว่าหงส์คู่นั้นตัวเมียขี่ตัวผู้ จึงมีคำทำนายว่าต่อไปผู้หญิงจะเป็นใหญ่ ซึ่งผู้หญิงคนนั้นคือ พระนางเชงสอบู กษัตรีย์ของชาวมอญนั่นเอง

อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของหงสาวดี คือ พระธาตุชเวมอดอ หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า พระธาตุมุเตา เป็นพระธาตุที่อยู่คู่กับเมืองมานาน เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าภายในได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ เล่ากันว่าเมื่อครั้งใดที่พระเจ้าบุเรงนองจะออกทำศึกจะทรงสักการะขอพรจากพระธาตุนี้ทุกครั้ง และเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จมายังที่หงสาวดีนี้ก็ได้ทำการสักการะพระธาตุนี้ด้วย

ปัจจุบัน พะโคเป็นเมืองที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศพม่าด้วยความที่เป็นเมืองท่องเที่ยว มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของพะโค (ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.6
(88.9)
34.0
(93.2)
36.2
(97.2)
38.1
(100.6)
34.3
(93.7)
30.1
(86.2)
29.7
(85.5)
29.6
(85.3)
30.8
(87.4)
30.7
(87.3)
32.2
(90)
31.0
(87.8)
32.4
(90.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.8
(60.4)
17.2
(63)
20.2
(68.4)
23.1
(73.6)
23.4
(74.1)
22.7
(72.9)
22.7
(72.9)
22.6
(72.7)
22.8
(73)
23.0
(73.4)
20.9
(69.6)
16.9
(62.4)
20.9
(69.6)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 1.3
(0.051)
2.7
(0.106)
13.5
(0.531)
44.1
(1.736)
333.9
(13.146)
654.0
(25.748)
716.9
(28.224)
653.4
(25.724)
436.3
(17.177)
183.7
(7.232)
48.7
(1.917)
1.3
(0.051)
3,089.8
(121.646)
แหล่งที่มา: Norwegian Meteorological Institute[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. "Myanmar Climate Report" (PDF). Norwegian Meteorological Institute. pp. 23–36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2018. สืบค้นเมื่อ 30 November 2018.

บรรณานุกรม แก้

  • Aung-Thwin, Michael A. (2005). The Mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
  • Aung-Thwin, Michael A. (2017). Myanmar in the Fifteenth Century. Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-6783-6.
  • Nyein Maung, บ.ก. (1972–1998). Shay-haung Myanma Kyauksa-mya [Ancient Burmese Stone Inscriptions] (ภาษาพม่า). Vol. 1–5. Yangon: Archaeological Department.
  • Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2005 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
  • Phayre, Major-General Sir Arthur P. (1873). "The History of Pegu". Journal of the Asiatic Society of Bengal. Calcutta. 42: 23–57, 120–159.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Schmidt, P.W. (1906). "Slapat des Ragawan der Königsgeschichte". Die äthiopischen Handschriften der K.K. Hofbibliothek zu Wien (ภาษาเยอรมัน). Vienna: Alfred Hölder. 151.

อ่านเพิ่ม แก้

ก่อนหน้า พะโค ถัดไป
โดนวู่น   เมืองหลวงอาณาจักรหงสาวดี
(ค.ศ. 1369 – มกราคม ค.ศ. 1539)
  สิ้นสุด
ตองอู   อาณาจักรตองอู
(มกราคม ค.ศ. 1539 – 30 เมษายน ค.ศ. 1550)
  อังวะ
พะโค   เมืองหลวงอาณาจักรหงสาวดี
(มิถุนายน ค.ศ. 1550 – 12 มีนาคม ค.ศ. 1552)
  สิ้นสุด
ตองอู   อาณาจักรตองอู
(12 มีนาคม ค.ศ. 1552 – 19 ธันวาคม ค.ศ. 1599)
  อังวะ
อังวะ   อาณาจักรตองอู
(14 พฤษภาคม ค.ศ. 1613 – 25 มกราคม ค.ศ. 1635)
  อังวะ
สถาปนา   เมืองหลวงอาณาจักรหงสาวดีใหม่
(พฤศจิกายน ค.ศ. 1740 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1757)
  สิ้นสุด

พิกัดภูมิศาสตร์: 17°20′N 96°29′E / 17.333°N 96.483°E / 17.333; 96.483