สงครามพม่า–สยาม (พ.ศ. 2137–2148)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สงครามพม่า-สยาม (พ.ศ. 2137-2148) (พม่า: ယိုးဒယား-မြန်မာစစ် (၁၅၄၈); อังกฤษ: Burmese-Siamese War (1594-1605)) สงครามการต่อสู้ระหว่าง ราชวงศ์ตองอู ของพม่าและ อาณาจักรอยุธยา ของ สยาม ผลของสงครามครั้งนี้สยามได้รับชัยชนะด้วยการเข้ายึดเมือง ทวาย และ ตะนาวศรี[2]
สงครามพม่า-สยาม | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามพม่า-สยาม | |||||||||
แผนที่แสดงให้เห็นถึงการเดินทัพของสยามในพม่า: : แดง: การบุกของสยามในปี ค.ศ. 1594 น้ำตาล: การบุกของสยามและการถอยทัพในปี ค.ศ. 1595-1596 เหลือง: การบุกรุกของสยามในปี ค.ศ. 1599-1602 | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ราชวงศ์ตองอู | อาณาจักรอยุธยา | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
พระเจ้านันทบุเรง † มังรายกะยอชวาที่ 2 † (พระเจ้าอังวะ) พระเจ้านยองยาน เมงเยสีหตู (พระเจ้าตองอู) ตะโดธรรมราชาที่ 3 (พระเจ้าแปร) นะฉิ่นเหน่าง์ นรธาเมงสอ สมิงอุบากอง สมิงพระตะบะ |
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ พระยาจักรี พระยาพระคลัง พระยาศรีไสยณรงค์ พระยาเทพอรชุน พระยารามคำแหง พระยาศรีไสล | ||||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
กองทัพอาณาจักรพม่า รวมทั้ง: |
| ||||||||
กำลัง | |||||||||
300,000 | 250,000 |
เบื้องหลัง
แก้10 ปีของสงครามตั้งรับนับแต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพเมื่อ ค.ศ. 1584 หรือ พ.ศ. 2127 สยามได้รับอิสรภาพโดยสมบูรณ์พร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของ มังกะยอชวา พระมหาอุปราช ด้วยพระหัตถ์ของสมเด็จพระนเรศวร ระหว่างกระทำ ยุทธหัตถี ในสงครามยุทธหัตถี เมื่อ ค.ศ. 1592 หรือ พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรได้เดินหน้าบุกเข้ายึด ทวาย และ ตะนาวศรี พร้อมกับช่วย ชาวมอญ ก่อกบฏต่อพม่าใน ค.ศ. 1595 หรือ พ.ศ. 2138[1]: 148–149
การรบในรัฐมอญ
แก้การรบที่ทวายและตะนาวศรี (พ.ศ. 2135)
แก้ใน ค.ศ. 1592 หรือ พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรได้ส่งกองทัพไปตีเมืองทวายและตะนาวศรี โดยทัพแรกภายใต้การบังคับบัญชาของพระยาจักรีคุมทหาร 50,000 นายเข้าตีเมืองตะนาวศรี ส่วนทัพที่ 2 ภายใต้การบังคับบัญชาของพระยาพระคลังนำทหาร 50,000 นายเข้ายึดเมืองทวาย ซึ่งทวายและตะนาวศรีเคยเป็นเมืองขึ้นของสยามในยุคสุโขทัยแต่ได้เสียให้กับพม่า ในระหว่างนั้นเจ้าเมืองตะนาวศรีล่วงรู้ถึงแผนของสยามจึงได้ส่งข่าวไปยังพระเจ้านันทบุเรง เพื่อให้มีพระบัญชาส่งทหารลงมาช่วยโจมตีสยาม[1]: 139–140
ตะนาวศรีต่อต้านการล้อมอยู่ 15 วัน ส่วนทวายต่อต้านการล้อมอยู่ 20 วัน ก่อนที่สยามจะประสบความสำเร็จในการยึดเมืองทั้งสองแห่ง ทั้งสองเมืองยินยอมอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาเช่นเดียวกับในอดีต[1]: 140 [3][4]
หลังจากพระยาจักรีได้เข้ายึดเมืองตะนาวศรีก็เดินทางไปยึดเมือง มะริด พร้อมกับเรือที่ท่าเรืออาทิ เรือสลุป 3 ลำและเรืออื่น ๆ อีก 150 ลำ เขาได้ส่งพระยาเทพอรชุนไปยังทวายโดยทางเรือเพื่อไปช่วยพระยาพระคลังหากพม่าเคลื่อนทัพมา ส่วนพระยาจักรีเคลื่อนพล 30,000 นายไปยังทวายโดยทางบก และทิ้งทหารรักษาการณ์ไว้ 10,000 คนที่เมืองตะนาวศรีภายใต้การนำของพระยาศรีไสยณรงค์ ขณะเดียวกันพระยาพระคลังได้ส่งเรือรบ 100 ลำและทหาร 5,000 นายภายใต้การนำของพระยาพิชัยสงครามและพระยารามคำแหงไปช่วยพระยาจักรี[1]: 141
พม่าได้ส่งเรือรบ 200 ลำและทหารอีก 10,000 นายภายใต้การบัญชาของ สมิงอุบากอง และ สมิงพระตะบะ ลงมาช่วยแต่กองเรือของพม่ากลับถูกล้อมอยู่ท่ามกลางกองเรือของสยามที่เคลื่อนมาจากทางเหนือและทางใต้ เรือพม่าหลายลำจมลง เรือบางลำแล่นหนีไป สมิงอุบากอง ถูกสังหารและทหาร 500 นายถูกจับกุม[1]: 141–142
ยึดเมาะตะมะ (พ.ศ. 2137)
แก้ใน ค.ศ. 1594 เจ้าเมือง เมาะตะมะ พระยาลาว สังเกตเห็นเจ้าเมือง เมาะลำเลิง พระยาพะโรกำลังมาเข้ากับทางฝ่ายสยามซึ่งในเวลานั้นผู้นำชาวมอญอาศัยอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา พระยาพะโรเกิดมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับพระยาลาว จึงได้ส่งข่าวมายังสมเด็จพระนเรศวรเพื่อขอความช่วยเหลือ ทำให้สมเด็จพระนเรศวรได้ส่งทหารไป 3,000 นายภายใต้การนำของพระยาศรีไสล กองทหารพม่าที่เมาะตะมะถอยทัพออกไป พระเจ้านันทบุเรงจึงรับสั่งให้พระเจ้าตองอูยกกองทัพลงมาปราบปรามจราจล แต่กองทัพดังกล่าวก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพสยามและมอญ หัวเมืองมอญทั้งหลายจึงเข้ามาอยู่ในการควบคุมของสยาม[1]: 145–147
การรุกรานภาคกลางของพม่า (พ.ศ. 2137-2145)
แก้การล้อมหงสาวดีครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2137-2139)
แก้ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1594 สมเด็จพระนเรศวรได้ยกทัพจำนวน 12,000 นายมุ่งหน้าไปยัง หงสาวดี[5] ตามคำแนะนำของมอญที่ เมาะตะมะ สมเด็จพระนเรศวรปิดล้อมหงสาวดีอยู่ 3 เดือนก่อนจะได้รับข่าวว่า พระเจ้าตองอู, พระเจ้าอังวะ และพระเจ้าแปร ได้ยกทัพมาช่วยหงสาวดีทำให้พระองค์ต้องล่าถอยไปพร้อมกับเชลยศึกอีกหลายคน[1]: 148–150
การล้อมหงสาวดีครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2142-2143)
แก้ใน ค.ศ. 1599 สมเด็จพระนเรศวรได้ตัดสินพระทัยที่จะบุกหงสาวดีอีกครั้งพร้อมทหาร 100,000 นาย แต่คราวนี้พระองค์เป็นพันธมิตรกับพระเจ้ายะไข่ และพระเจ้าตองอู อย่างไรก็ตามพระเจ้าตองอู เกิดกลัวขึ้นมาว่าถ้าสมเด็จพระนเรศวรยึดหงสาวดีได้แล้วอาณาจักรของพระองค์คงจะต้องเป็นเมืองขึ้นต่อไป ดังนั้นพระเจ้าตองอูกับพระเจ้ายะไข่จึงวางแผนยึดหงสาวดีก่อนที่ทัพของสมเด็จพระนเรศวรจะยกมาถึง ผลที่ตามมาคือพระเจ้าตองอูรวบรวมทรัพย์สินที่มีค่าทั้งหมดในหงสาวดี รวมทั้งพระเจ้านันทบุเรงส่งไปยังเมืองตองอู กองทัพของยะไข่ปล้นและเผาสิ่งที่เหลืออยู่ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกทัพมาถึงก็พบว่าเมืองร้างและถูกไฟไหม้หมดแล้ว[1]: 151–162
การล้อมเมืองตองอู (พ.ศ. 2143)
แก้เมื่อเมงเยสีหตูซึ่งเป็นพระเจ้าตองอู ปฏิเสธที่จะส่งพระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์ผู้พ่ายแพ้แห่งหงสาวดีมาถวายแก่สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระนเรศวรจึงตัดสินพระทัยโจมตีเมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรปิดล้อมเมืองและขุดคลองเพื่อระบายน้ำในคูเมือง หลังจากพยายามหลายครั้งสมเด็จพระนเรศวรก็ไม่สามารถตีเมืองได้ ผ่านมาสองเดือนพระองค์จึงตัดสินพระทัยถอนทัพเนื่องจากขาดแคลนเสบียงที่จะล้อมเมืองต่อไปได้[1]: 162–166
บทสรุป
แก้นะฉิ่นเหน่าง์ ปลงพระชนม์ พระเจ้านันทบุเรง และ มังรายกะยอชวา ขณะที่ทั้งสองพระองค์กำลังถูกคุมขังในเมืองตองอู เจ้าชายนยองยานปราบดาภิเษกพระองค์เป็นพระเจ้าอังวะเพื่อตอบโต้พระเจ้าตองอูและพระเจ้าแปร สยามกลายเป็นภัยคุกคามของพม่าเป็นเวลาสี่ปี จนกระทั่งพระเจ้าอังวะปรารถนาทำศึกเพื่อพิชิตรัฐชานและกำลังยกทัพไปเมืองแสนหวี สมเด็จพระนเรศวรจึงยกกองทัพ 200,000 นายไปเพื่อตอบโต้ เมื่อพระองค์ยกทัพมาถึงบริเวณ อำเภอฝาง ของ จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน พระองค์ได้ประชวรและสวรรคตหลังจากนั้นสามวัน พระอนุชาของพระองค์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์นามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ[1]: 173–180
อาณาจักรสยามสมัยนี้มีขอบเขตกว้างใหญ่และเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดสมัยหนึ่ง[1]: 178
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 Rajanubhab, D., 2001, Our Wars With the Burmese, Bangkok: White Lotus Co. Ltd., ISBN 9747534584
- ↑ 2.0 2.1 Fernquest, SOAS, pp. 51–52
- ↑ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, Page 118-121
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล, Page 147
- ↑ Maha Yazawin Vol. 3 2006: 95–96
บรรณานุกรม
แก้- Dupuy, R. Ernest; Dupuy, Trevor N. (1993). The Harper Encyclopedia of Military History (4th ed.). New York: HarperCollins Publishers. ISBN 0-06-270056-1.
- Fernquest, Jon (Spring 2005). "The Flight of Lao War Captives from Burma Back to Laos in 1596: A Comparison of Historical Sources". SOAS Bulletin of Burma Research. SOAS, University of London. 3 (1). ISSN 1479-8484.
- Kala, U (1720). Maha Yazawin Gyi (ภาษาพม่า). Vol. 3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
- Kohn, George Childs (1999). Dictionary of Wars. London: Routledge.
- Rajanubhab, Damrong (2001). Our Wars With the Burmese. Bangkok,Thailand: White Lotus. ISBN 9747534584.
- Royal Chronicles of Ayutthaya (Phongsawadan Krung Si Ayutthaya) Doctor Bradley or Two-Volume Version (1864) – formerly called Krom Phra Paramanuchit Chinorot Version.
- Wood, W.A.R. (1924). A History of Siam. London: T. Fisher Unwin Ltd. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.