พระมหาอุปราช
พระมหาอุปราช[1] เป็นตำแหน่งรัชทายาท พบในประเทศพม่า กัมพูชา ล้านนา ลาว และสยาม
พม่า
แก้ในประเทศพม่า เรียกตำแหน่งรัชทายาทว่ามหาอุปราชาอโนก์ระปะอิมแซะมิน (မဟာဥပရာဇာအနောက်ရပအိမ်ရှေ့မင်း) เรียกโดยย่อว่า อิมแซะมิน (အိမ်ရှေ့မင်း, สัทอักษรสากล: [èiɴʃḛ mɪ́ɴ]) อินแปลว่าวัง แซะแปลว่าหน้า มินแปลว่าเจ้า รวมความแปลว่าเจ้าวังหน้า[2] เป็นพระอิสริยยศสูงสุดรองจากพระมหากษัตริย์ และจะได้สืบราชสมบัติต่อไป
กัมพูชา
แก้ตำแหน่ง อุปราช (เขมร: ឧបរាជ) หรือเรียกอย่างทางการว่า สมเด็จพระอุปราช (សម្តេចព្រះឧបរាជ) หรือ สมเด็จพระมหาอุปราช (សម្តេចព្រះមហាឧបរាជ្យ) เป็นตำแหน่งที่อยู่รองลงมาจากพระมหากษัตริย์แห่งกรุงกัมพูชา โดยทรงมีหน้าที่ควบคุมและจัดการข้าราชการน้อยใหญ่ [3]
ล้านนา
แก้ในล้านนา มีตำแหน่ง อุปราช หรือ เจ้าหอหน้า[2] ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสถาปนาขุนครามพระราชโอรสขึ้นเป็นเจ้าชัยสงครามและพระราชทานเครื่องยศอย่างมหาอุปราชให้ไปครองเมืองเชียงราย[4] การสถาปนาอุปราชยังมีสืบมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2318 (นับแบบปัจจุบัน) เมื่อล้านนามาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงตั้งนายก้อนแก้วเป็นพระยาอุปราชนครเชียงใหม่ นายน้อยต่อมต้อเป็นอุปราชลำพูน และเจ้าธรรมลังกาเป็นอุปราชนครลำปาง[5] ถึงปี พ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพระยาอุปราชทั้งสามหัวเมืองนั้นเป็นเจ้าอุปราชมานับแต่นั้น[6]
ลาว
แก้สมัยอาณาจักรล้านช้าง มีพระอุปยุวราช เป็นตำแหน่งรองจากพระมหากษัตริย์ แต่สูงกว่าอุปราช[7] และภาคอีสานของไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอุปฮาดเป็นตำแหน่งรองจากเจ้าเมือง[8]
สยาม
แก้กฎมนเทียรบาลซึ่งตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถระบุว่าพระราชกุมารอันเกิดแต่แม่ยั่วเมืองเป็นพระมหาอุปราช[9] ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง ที่ออกในปี พ.ศ. 1998 รัชกาลเดียวกันระบุว่าพระมหาอุปราชทรงศักดินา 100,000 ไร่ และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวถึงตำแหน่งพระมหาอุปราชครั้งแรกว่า ระหว่างที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าพระราชโอรสทรงลาผนวช แล้วได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชในปี จ.ศ. 847 (พ.ศ. 2028)[10]
ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา โปรดให้ตั้งสมเด็จพระสรศักดิเป็นพระมหาอุปราชที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นครั้งแรก[11] ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงอยู่ในฐานะพระมหาอุปราชรัชทายาทมานับแต่นั้น[12] จนกระทั่ง พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลิกธรรมเนียมตั้งพระมหาอุปราช แล้วสถาปนาตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารขึ้นแทน[13]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 887
- ↑ 2.0 2.1 ตำนานวังน่า, หน้า 1
- ↑ พจนานุกรมภาษาเขมร, หน้า 1643, ตีพิมพ์ในปี 2550
- ↑ พงศาวดารโยนก, หน้า 292
- ↑ พงศาวดารโยนก, หน้า 420-421
- ↑ พงศาวดารโยนก, หน้า 458
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1427
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1428
- ↑ ประชุมพระนิพนธ์ ภาค ๒, หน้า 179
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 400
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 318
- ↑ พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า), หน้า 24
- ↑ "ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าราชกุมารพระองค์ใหญ่ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 3 (ตอน 44): 368. 1 มีนาคม พ.ศ. 2429. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า). นนทบุรี : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2558. 127 หน้า. ISBN 978-616-283-232-1
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังน่า. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2462. [พิมพ์แจกในงานศพนางสุ่น ชาติโอสถ ปีมะแม พ.ศ. 2462]
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ประชุมพระนิพนธ์ ภาค ๒. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2494. 359 หน้า.
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- พระยาประชากิจกรจักร. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4