พงศาวดารโยนก เป็นเรื่องพงศาวดารไทยในฝ่ายเหนือซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเรื่องต้นพระราชพงศาวดารสยามของพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) รวบรวมและเรียบเรียงจากการตีพิมพ์ลงใน หนังสือพิมพ์วชิรญาณ ระหว่าง ร.ศ. 117–118 (พ.ศ. 2441–2442) เป็นตอน ๆ ต่อมาได้รวบรวมและเรียบเรียงใหม่เป็นเล่มเดียว เมื่อ พ.ศ. 2450 ในนาม เรื่องพงษาวดารโยนก ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแก้ไขและเปลี่ยนชื่อเป็น พงษาวดารลาวเฉียง เนื่องจากตอนนั้นล้านนามีฐานะเป็นมณฑลลาวเฉียง พิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2460

เนื้อหาประกอบด้วย ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ตำนานชื่อสิงหนวัติ ตำนานเมืองหริภุญไชยและจามเทวีวงศ์ ตำนานหิรัญนครเชียงแสน ตำนานพิงควงศ์ ชินกาลมาลินีพงศาวดารเมืองเชียงใหม่ ตำนานเชียงราย ตำนานเมืองน่าน ตำนานพระแก้ว และตำนานพระธาตุดอยตุง เป็นต้น[1] ภายในหนังสือจะมีการแบ่งเป็นภาค 6 ภาคดังนี้ ชื่อสุวรรณโคมคำ ว่าด้วยขอมสมัย ชื่อโยนก ว่าด้วยไทยสมัย ชื่อหริภุญไชย ว่าด้วยจามสมัย ชื่อพิงควงศ์ ว่าด้วยลาวสมัย เมงค์วงศ์ ว่าด้วยรามัญและภุกามสมัย และชื่อทิพวงศ์ ว่าด้วยสยามสมัย[2]

การตีพิมพ์ แก้

  • พิมพ์ครั้งแรกโดยการตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ใน หนังสือพิมพ์วชิรญาณ ระหว่าง พ.ศ. 2441–2442
  • เรื่องพงษาวดารโยนก พ.ศ. 2450
  • พงษาวดารลาวเฉียง ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 5 พ.ศ. 2460
  • สำนักพิมพ์ชูสินตีพิมพ์ พ.ศ. 2475
  • พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2504 สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร
  • พงศาวดารโยนก พ.ศ. 2507 สำนักพิมพ์คลังวิทยา
  • พงศาวดารโยนก พ.ศ. 2514 สำนักพิมพ์แพร่พิทยา
  • พงศาวดารโยนก พระยาประชากิจกรจักร พ.ศ. 2557 สำนักพิมพ์ศรีปัญญา

อ้างอิง แก้

  1. "พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ". กรมศิลปากร.
  2. "พงศาวดารโยนก". หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่.