สงครามพม่า–สยาม
(เปลี่ยนทางจาก สงครามพม่า-สยาม)
สงครามพม่า–สยาม คือรายการของสงครามการต่อสู้กันระหว่างพม่ากับสยามจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19[1][2]
ตองอู–อยุธยา
แก้ลำดับ | ชื่อ | ผล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ (ค.ศ. 1547–1549) | สยามป้องกันสำเร็จ | การล้อมอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พม่ายึดทวายจากสยามในปี ค.ศ. 1547–1548[3][4] และบุกสยามในปี ค.ศ. 1548–1549 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการยึดกรุงศรีอยุธยา[5] |
2 | สงครามช้างเผือก (ค.ศ. 1563–1564) | พม่าชนะ | การล้อมอยุธยาครั้งที่สอง สยามกลายเป็นเมืองประเทศราชของพม่า[6] |
3 | การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1568–1569) | พม่าชนะ | การล้อมอยุธยาครั้งที่สาม สยามกลายเป็นเมืองประเทศราชของพม่าอีกครั้ง[7] |
4 | สงครามยุทธหัตถี (ค.ศ. 1584–1593) | สยามชนะ | การล้อมอยุธยาครั้งที่สี่ สยามได้เอกราช (ค.ศ. 1584) พม่าบุกสยามห้าครั้งแต่พ่ายกลับไป[8][9] |
5 | สงครามพม่า–สยาม (ค.ศ. 1593–1600) | สยามชนะ | การบุกพม่าครั้งที่หนึ่งของสยาม สยามพิชิตชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดรวมถึงเมาะตะมะ สยามได้อาณาจักรล้านนาเป็นเมืองประเทศราช (ค.ศ. 1602)[10][11][12] |
6 | สงครามพม่า–สยาม (ค.ศ. 1609–1622) | พม่าชนะ | สงครามฟื้นฟูสมัยญองยาน พม่ายึดคืนเมาะตะมะ ทวาย (ค.ศ. 1613) และล้านนา (ค.ศ. 1614)[13][14] |
7 | สงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664) | พม่าป้องกันสำเร็จ | การบุกพม่าครั้งที่สองของสยาม สยามยึดชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนถึงเมาะตะมะ ในปี ค.ศ. 1662 ก่อนถูกขับไป ในปี ค.ศ. 1663 สยามบุกชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนและล้านนาอีกครั้ง ยึดเชียงใหม่ กองกำลังสยามออกจากเชียงใหม่ในปี ค.ศ. 1664[15][16][17][18] |
8 | สงครามพม่า–สยาม (ค.ศ. 1675–1676) | พม่าป้องกันสำเร็จ สยามป้องกันสำเร็จ |
พม่าป้องกันอ่าวตะนาวศรีตอนบนสำเร็จ (ค.ศ. 1675) สยามชนะการบุกของพม่า (ค.ศ. 1675–1676) |
9 | สงครามพม่า–สยาม (ค.ศ. 1700–1701) | สยามป้องกันสำเร็จ | สยามชนะการบุกของพม่า |
โก้นบอง–อยุธยา
แก้ลำดับ | ชื่อ | ผล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | สงครามพระเจ้าอลองพญา (ค.ศ. 1759–1760) | บทสรุปไม่แน่ชัด | การปิดล้อมอยุธยาครั้งที่ห้า พม่ายึดคืนชายฝั่งตะนาวศรีจนถึงทวายและมะริด พม่าปิดล้อมอยุธยาแต่ภายหลังยกทัพกลับเนื่องจากพระมหากษัตริย์พม่าทรงพระประชวร[19][20] |
2 | การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1765–1767) | พม่าชนะ | การปิดล้อมอยุธยาครั้งที่หก พม่าบุกสยามและปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา สิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา[21][22] |
โก้นบอง–ธนบุรี
แก้ลำดับ | ชื่อ | ผล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | สงครามอะแซหวุ่นกี้ (ค.ศ. 1775–1776) | สยามป้องกันสำเร็จ | สยามปกครองล้านนา ล้านนาประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1775 ด้วยความช่วยเหลือจากสยาม พม่าบุกล้านนาและสยาม ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้ามังระ พม่าถอนทัพออกจากสยาม ปล่อยให้สยามปกครองล้านนา สิ้นสุดการปกครองของพม่ากว่าสองศตวรรษ[23] |
โก้นบอง–รัตนโกสินทร์
แก้ลำดับ | ชื่อ | ผล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | สงครามเก้าทัพ (ค.ศ. 1785–1786) | สยามป้องกันสำเร็จ | สยามชนะการบุกของพม่า[24][25] |
2 | สงครามตีเมืองทวาย (ค.ศ. 1788) | พม่าป้องกันสำเร็จ | สยามบุกทวายและชายฝั่งตะนาวศรีแต่ไม่สำเร็จ |
3 | ยุทธการที่ทวาย (ค.ศ. 1792–1794) | พม่าป้องกันสำเร็จ | สยามบุกคืนชายฝั่งตะนาวศรีตอนล่างแต่ไม่สำเร็จ (ทวายและมะริด)[26][27] |
4 | สงครามพม่าตีเชียงใหม่ (ค.ศ. 1797–1798) | สยามป้องกันสำเร็จ | พม่าบุกล้านนาและล้อมเชียงใหม่ แต่พระเจ้ากาวิละขอกำลังเสริมจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึ่งช่วยให้ยึดเมืองคืนมาได้[28] |
5 | สงครามเชียงแสน (ค.ศ. 1802–1805) | สยามชนะ | พม่าบุกล้านนาแต่พ่ายแพ้อีกครั้ง สยามและล้านนาโจมตีและขับพม่าออกจากที่มั่นที่เชียงแสน[29] |
6 | สงครามพม่าตีเมืองถลาง (ค.ศ. 1809–1812) | สยามป้องกันสำเร็จ | พม่าบุกถลางแต่ไม่สำเร็จ และถูกขับในปี ค.ศ. 1810 และ 1812[30][31] |
7 | สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1824–1826) | อังกฤษชนะ | ความขัดแย้งส่วนใหญ่ระหว่างพม่าและอังกฤษ สยามในฐานะพันธมิตรของอังกฤษได้ทำสนธิสัญญาเบอร์นี กับบริษัทอินเดียตะวันออกและช่วยอังกฤษรบพม่าชั่วครู่หนึ่ง[32][33][34] |
8 | สงครามเชียงตุง (ค.ศ. 1849–1855) | พม่าป้องกันสำเร็จ | สยามพยายามบุกเชียงตุงและเชียงรุ่งระหว่างสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง เจ้าฟ้าเชียงตุงยืนหยัดไว้จนกระทั่งกองทัพพม่าจัดการขับทัพสยามออกไปในปี พ.ศ. 1855[35][36] |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ Harvey, pp. xxviii-xxx
- ↑ James, p. 302
- ↑ Harvey 1925: 158
- ↑ Hmannan Vol. 2 2003: 238–239
- ↑ Damrong, pp. 14–26.
- ↑ Damrong, pp. 27–41.
- ↑ Damrong, pp. 42–64.
- ↑ Harvey 1925: 181
- ↑ Damrong, pp. 65–144.
- ↑ Damrong, pp. 145–179.
- ↑ Fernquest, pp. 51–52.
- ↑ Wood, p. 144.
- ↑ Hmannan Vol. 3 2003: 175–178
- ↑ Harvey 1925: 189
- ↑ Harvey 1925: 198
- ↑ Hmannan Vol. 3 2003: 277
- ↑ Damrong, pp. 220–239.
- ↑ Wood, pp. 191–194.
- ↑ Damrong, pp. 240–311.
- ↑ Wood, pp. 240–242.
- ↑ Damrong, pp. 312–357.
- ↑ Wood, pp. 243–250.
- ↑ Wood, pp. 263–267.
- ↑ Wood, p. 273.
- ↑ Symes, pp. 96–97.
- ↑ Phayre 1967: 218–219
- ↑ Symes, p. 97-98.
- ↑ Ongsakul, p. 155.
- ↑ Ongsakul, p. 150.
- ↑ Skinner, pp. 59–61.
- ↑ Gerini, pp. 81–82.
- ↑ Wood, pp. 276–277
- ↑ Turton, p. 119-20
- ↑ Van Roy, p. 172-73
- ↑ Hardiman, Vol. 1 1901: 38, and Vol. 2 1901: 408–409
- ↑ Ratchasomphan, Wyatt 1994: 119
- บรรณานุกรม
- Fernquest, Jon (Spring 2005). "The Flight of Lao War Captives from Burma Back to Laos in 1596: A Comparison of Historical Sources". SOAS Bulletin of Burma Research. SOAS, University of London. 3 (1). ISSN 1479-8484.
- Hardiman, John Percy (1901). Sir James George Scott (บ.ก.). Gazetteer of Upper Burma and Shan States Part 2. Vol. 1. Government Press, British Burma.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- James, Helen (2004). "Burma-Siam Wars and Tenasserim". ใน Keat Gin Ooi (บ.ก.). Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 2. ABC-CLIO. ISBN 1-57607-770-5.
- Rajanubhab, Damrong (2001). Chris Baker (บ.ก.). Our Wars with the Burmese: Thai-Burmese Conflict 1539–1767. แปลโดย Aung Thein. White Lotus Co. Ltd. ISBN 974-7534-58-4.
- Steinberg, David Joel (1987). David Joel Steinberg (บ.ก.). In Search of South-East Asia. Honolulu: University of Hawaii Press.
- Siam Society (1904). The Journal of the Siam Society. Vol. 1–3. Bangkok: Siam Society.
- Symes, Michael (Spring 2006). "An Account of an Embassy to the Kingdom of Ava, Sent by the Governor-General of India, in the year of 1795". SBBR. SOAS, University of London. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-01. สืบค้นเมื่อ 2019-07-25.
- Wyatt, David K. (2003). History of Thailand (2 ed.). Yale University Press. ISBN 978-0-300-08475-7.