สงครามช้างเผือก
สงครามพม่า-สยามใน พ.ศ. 2106 - 2107 หรือ สงครามช้างเผือก เป็นสงครามระหว่างราชวงศ์ตองอูแห่งประเทศพม่ากับอาณาจักรอยุธยาแห่งประเทศสยาม เป็นสงครามที่สองในช่วง 20 ปีที่พม่ากับสยามสู้รบกับจนถึงศตวรรษที่ 19 สาเหตุของสงครามมาจากพระเจ้าบุเรงนองบังคับให้อาณาจักรอยุธยาสวามิภักดิ์ต่อการปกครองของพระองค์ ในแผนที่จะสร้างจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังพระเจ้าบุเรงนองครองราชย์ 13 ปี จึงมีการโจมตีสยามครั้งที่สอง โดยครั้งแรกทำสำเร็จหลังการล้อมเมืองพระนครศรีอยุธยา สยามกลายเป็นรัฐบริวารของราชวงศ์ตองอูจนถึงการก่อกบฎ พ.ศ. 2111 ที่อยุธยาได้รับเอกราชในช่วงสั้น ๆ[4]
สงครามช้างเผือก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามพม่า–สยาม | |||||||
ทหารที่สู้กันบนช้างศึกในสงครามระหว่างสงครามพม่า–สยามตอนปลาย มีการอ้างว่า ช้างเผือกศึกเฉกเช่นตัวนี้ เป็น เหตุแห่งสงคราม พ.ศ. 2106 - 2107 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
อาณาจักรอยุธยา | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กองทัพหลวงสยาม ทหารรับจ้างโปรตุเกส ทหารับจ้างลูซอน[1] |
| ||||||
กำลัง | |||||||
70,000 นาย |
หลักฐานพม่า: ชายมากกว่า 120,000 คน[3] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
มาก | น้อย |
บทนำ
แก้หลังจากก่อสงครามกับราชวงศ์ตองอู สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงรับสั่งสร้างป้อมที่เมืองหลวงเพื่อรับการโจมตีจากพม่าในภายหลัง สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้สิ้นสุดลงที่สยามชนะในด้านการป้องกันและยังคงความเป็นเอกราช อย่างไรก็ตาม ความทะเยอทะยานในเรื่องดินแดนของพระเจ้าบุเรงนองกระตุ้นให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเตรียมตัวสำหรับศึกครั้งถัดไป ได้แก่ เกณฑ์ผู้ชายทุกคนไปรบ เตรียมกำลังและทรัพยากรไว้สำหรับสงครามขนาดใหญ่ และ ช้างเผือก 7 เชือกเพื่อความเป็นสิริมงคล
ในขณะเดียวกัน การโจมตีที่เมืองเชียงใหม่กับอาณาจักรล้านนาในบริเวณใกล้เคียงของพระเจ้าบุเรงนองประสบความสำเร็จใน พ.ศ. 2099 ทำให้พระองค์ได้สมญานามว่า "ผู้ชนะสิบทิศ" และทำให้อาณาจักรของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเผชิญกับดินแดนศัตรูในทิศเหนือและตะวันตก[5]
ความขัดแย้ง
แก้การโจมตีภายใน
แก้ด้วยอำนาจและอิทธิพลของพระเจ้าบุเรงนองที่สูงขึ้น พระองค์จึงสั่งช้างเผือก 2 เชือกจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไปเป็นบรรณาการของราชวงศ์ตองอู แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิปฏิเสธ ทำให้พระองค์นำทัพมาโจมตีอาณาอยุธยาครั้งที่สอง พระเจ้าบุเรงนองทรงคุ้นเคยพื้นที่สยามดีเพราะเคยนำทัพไปพร้อมกับพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เข้าประเทศสยามผ่านบริเวณด่านเจดีย์สามองค์ในจังหวัดกาญจนบุรีปัจจุบัน ส่วนกองทัพแยกเข้าทางด่านแม่ละเมาในจังหวัดตากปัจจุบัน
กองทัพของพระเจ้าบุเรงนองมีชาย 60,000 คน, ม้า 2400 ตัว, ช้าง 360 เชือก และกองทัพจากล้านนา[2] กองทัพเหล่านี้เดินขบวนไปที่เมืองหลวงอยุธยา แต่เดินทางถึงเมืองพิษณุโลกก่อน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ผู้ครองเมืองพิษณุโลก เผชิญกับกองทัพขนาดใหญ่ เป็นต้นเหตุทรยศสยามและลงนามสันถวไมตรีกับพระเจ้าบุเรงนอง ทำให้กองทัพของพระองค์ใหญ่กว่าเดิม
ต่อมา กองทัพพม่าเดินทางไปถึงอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งอยู่ในช่วงเสื่อมโทรม อยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยาในฐานะรัฐบริวารเป็นเวลากว่า 200 ปี พวกเขารู้ว่าไม่มีหวังในการปกป้องอาณาจักรของตน จึงแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าบุเรงนองแทนใน พ.ศ. 2106
กองทัพของพระเจ้าบุเรงนองสามารถยึดอำเภอสวรรคโลกและจังหวัดพิจิตรได้โดยไม่มีความลำบาก แล้วเดินทางไปยังอยุธยาอย่างเต็มตัว
การล้อมอยุธยาและสงบศึก
แก้กองทัพพระเจ้าบุเรงนองเดินทัพมาที่อยุธยา โดยพวกเขารอที่ป้อมสยามริมอ่าวเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ได้รับอนุเคาระห์จากเรือรบ 3 ลำกับกองปืนใหญ่โปรตุเกสที่ท่าเรือ ฝ่ายรุกจึงยึดเรือและกองปืนใหญ่ของโปรตุเกส และทำลายป้อมสยามในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2107[6]
ด้วยกองทัพใหม่ 60,000 คนรวมกับทหารจากพิษณุโลก พระเจ้าบุเรงนองเดินทางถึงกำแพงเมืองอยุธยา ใช้ปืนใหญ่ยิงกระหน่ำ แต่กำแพงไม่พังทลาย ทำให้ฝ่ายพม่าไม่สามารถยึดเมืองอยุธยาได้ แต่สั่งให้กษัตริย์สยามออกมาจากเมืองพร้อมธงขาว เพื่อเจรจาสันติภาพ เมื่อเห็นว่าราษฎรของพระองค์ไม่สามารถต้านทางได้นานกว่านี้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงเจรจาสันติภาพ แต่ต้องแลกด้วยสิ่งที่มีค่าอย่างมาก
ในข้อแลกเปลี่ยนสำหรับล่าถอยของกองทัพพม่า พระเจ้าบุเรงนองนำตัวเจ้าชายราเมศวร (พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ), พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามกลับพม่าในฐานะเชลย และช้างเผือกสยาม 4 เชือก ถึงแม้ว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ผู้ทรยศ ถูกปล่อยไว้ในฐานะผู้ปกครองพิษณุโลกและอุปราชสยาม อาณาจักรอยุธยาตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอู โดยต้องส่งช้าง 20 เชือก และเงิน 300 ชั่งให้พม่าทุกปี ฝ่ายพม่าได้เข้าถึงท่าเรือเพื่อเก็บภาษีที่มะริดและสยาม ความต้องการช้างสองเชือกของพระเจ้าบุเรงนองเพิ่มขึ้นเป็น 4 เชือก ท้ายที่สุด จึงมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพที่วัดหน้าพระเมรุ ทำให้เกิดความสงบเป็นเวลา 4 ปี[7]
หลักฐานพม่ากล่าวว่า พระเจ้าบุเรงนองกลับไปยังพะโคพร้อมกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิในฐานะเชลย ก่อนแต่งตั้งสมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในฐานะกษัตริย์ประเทศราชอยุธยา และปล่อยกองทหารรักษาการณ์ 3,000 นาย หลักฐานพม่ายังกล่าวอีกว่า หลังถูกส่งไปที่พะโคมาหลายปี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกลายเป็นพระและพระเจ้าบุเรงนองอนุญาตให้พระองค์กลับไปยังอยุธยา[8] อย่างไรก็ตาม หลักฐานไทยไม่ค่อยกล่าวว่าสมเด็จพระมหินทราธิราช พระโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชย์เพราะพระราชบิดาของพระองค์สละราชสมบัติและกลายเป็นพระหลังสงครามนี้[8]
ผลที่ตามมา
แก้การสงบศึกอยู่ได้ไม่นาน ใน พ.ศ. 2111 ฝ่ายอยุธยาก่อกบฎต่อผู้นำพม่า หลังคำแนะนำของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชอ่อนแอเกินกว่าที่จะหยุดกบฎ พระเจ้าบุเรงนองจึงต้องนำทัพมาที่อยุธยาอีกครั้ง ก่อให้เกิดสงครามกับสยามอีกครั้ง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Pires, Tomé (1944). Armando Cortesao (translator) (ed.). A suma oriental de Tomé Pires e o livro de Francisco Rodriguez: Leitura e notas de Armando Cortesão [1512 - 1515] (in Portuguese). Cambridge: Hakluyt Society.
- ↑ 2.0 2.1 Maha Yazawin Vol. 2 2006: 266–268
- ↑ "Ayutthaya: Capital of a Kingdom part 3". Infothai. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2015. สืบค้นเมื่อ 15 March 2016.
- ↑ "Burmese–Siamese War (1563–1564)". WordPress. 5 April 2012. สืบค้นเมื่อ 15 March 2016.
- ↑ "Chedi Phukaothong or Chedi Phukhao Thong (เจดีย์ภูเขาทอง)". Wikimapia. 2016. สืบค้นเมื่อ 15 March 2016.
- ↑ (Hmannan Vol. 2 2003: 353): Monday, 11th waning of Tabodwe 925 ME = 7 February 1564
- ↑ "Bayinnaung". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 March 2016.
- ↑ 8.0 8.1 Damrong Rajanubhab, 2012: 20.