ยุทธการที่ทวาย เป็นความขัดแย้งระหว่างกองทัพพม่าภายใต้ ราชวงศ์โก้นบอง และกองทัพสยาม ภายใต้ ราชวงศ์จักรี เหนือเมือง ทวาย และชายฝั่งตะนาวศรี

ยุทธการที่ทวาย
ส่วนหนึ่งของ สงครามพม่า-สยาม

เขียว หมายถึง เส้นทางเดินทัพของพม่า
แดง หมายถึง เส้นทางเดินทัพของสยาม
วันที่มีนาคม พ.ศ. 2335 - มีนาคม พ.ศ. 2337
สถานที่
ผล พม่าได้ชัยชนะ
พม่าเข้าควบคุมอ่าวตะนาวศรี
คู่สงคราม
ราชวงศ์โก้นบอง (พม่า) ราชวงศ์จักรี (สยาม)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าปดุง
เจ้าชาย ตะโดเมงสอ
เนเมียวกะยอดินสีหตู
หวุ่นจีมหาชัยสุระ
Nemyo Gonna Kyawthu
Mingyi Thinkaya
Balayanta Kyawdin
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี)
เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)
พระยาจ่าแสนยากร
พระยายมราช (บุนนาค)
กำลัง
50,000 40,000

สยามภายใต้การปกครองของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พยายามอ้างสิทธิในชายฝั่งตะนาวศรีและ ทวาย และ มะริด ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของสยามระหว่างสมัย กรุงศรีอยุธยา[1]การแปรพักตร์ของเจ้าเมืองทวายชาวพม่าในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2335 เปิดโอกาสให้ทวายและมะริดมาอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชวางแผนที่จะขยายพระราชอาณาเขตเข้าสู่ พม่าตอนล่าง ขณะเดียวกัน พระเจ้าปดุง ของพม่า ตั้งพระทัยที่จะให้ชายฝั่งตะนาวศรีมาอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า โดยส่งพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ เจ้าชาย ตะโดเมงสอ ที่พระมหาอุปราชามาตอบโต้การบุกของสยาม ในที่สุดกองทัพสยามก็พ่ายแพ้ในยุทธการที่ทวายในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2337 และล่าถอยไปผลของสงครามครั้งนี้ส่งผลให้ชายฝั่งตะนาวศรีตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นการถาวร กลายเป็น เขตตะนาวศรี ในทุกวันนี้

เบื้องหลัง

แก้

ชายฝั่งตะนาวศรีเป็นสมรภูมิแห่งการแย่งชิงการปกครองระหว่าง สยาม และ พม่า ตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 16[1]ชายฝั่งตะนาวศรีแบ่งเป็นสองส่วนโดยทางเหนือมีศูนย์กลางอยู่ที่ ทวาย และทางใต้มีศูนย์กลางอยู่ที่ ตะนาวศรี ที่ปาก แม่น้ำตะนาวศรี มีเมืองท่า มะริด เป็นท่าเรือแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญของสยามระหว่างรัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Keat Gin Ooi (2004). Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor. ABC-CLIO.