สงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664)

สงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664) เป็นสงครามระหว่างราชวงศ์ตองอูแห่งพม่าและกรุงศรีอยุธยาของไทยในช่วง ค.ศ. 1662–1664

สงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664)
ส่วนหนึ่งของ สงครามพม่า–ไทย
วันที่ราว ค.ศ. 1662–1664
สถานที่
ผล พม่ามีชัยในการตั้งรับ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
เหมือนเดิมก่อนเกิดสงคราม
คู่สงคราม
ราชวงศ์ตองอู กรุงศรีอยุธยา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าปเย สมเด็จพระนารายณ์
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพบกพม่า
กองทัพเรือพม่า
รวมถึง:

กองทัพล้านนา

กองทัพไทย
รวมถึง:

ทหารอาสาชาวมอญ
กำลัง
ไม่ทราบ ไม่ทราบ

ภูมิหลัง แก้

 
ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ใน ค.ศ. 1664 กองทัพแมนจูซึ่งอยู่นอกกำแพงเมืองจีนบุกเข้ายึดเป่ย์จิงเมืองหลวงของราชวงศ์หมิง ประกาศล้มเลิกราชวงศ์หมิง และจัดตั้งราชวงศ์ชิงขึ้นแทนที่[1] ภายในสองปีถัดมา ขณะที่ราชวงศ์ชิงพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ภาคเหนือของจีนนั้น จู โหยวหลาง (朱由榔) จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงใต้กับผู้ภักดีที่ยังเหลือก็พยายามรวมตัวกันอยู่ทางใต้ ครั้นปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 1659 องค์ชายตัวหนี (多尼) แห่งราชวงศ์ชิงนำทัพเข้ายึดยฺหวินหนาน (雲南) ไว้ได้ ทำให้จู โหยวหลาง หลีกลี้เข้าสู่พม่าซึ่งอยู่ใกล้เคียงและเวลานั้นมีผู้ปกครอง คือ พระเจ้าปีนดะเลแห่งราชวงศ์ตองอู[2]

การรุกรานครั้งแรก แก้

ใน ค.ศ. 1660 กองทัพจีนบุกถึงอังวะเพื่อตามจับตัวจู โหยวหลาง และใน ค.ศ. 1661 พระอนุชาของพระเจ้าปีนดะเลยึดอำนาจ ถอดพระเจ้าปีนดะเลออกจากราชสมบัติ แล้วขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนาม พระเจ้าปเย สมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงเล็งเห็นว่า อาจเป็นโอกาสที่อำนาจของพม่าในล้านนาเริ่มคลอนแคลน ควรจะส่งทัพไปโจมจับล้านนามาเป็นเมืองขึ้น จึงทรงดำเนินการตามนั้น แม้การทัพครั้งนี้จะทำได้เพียงยึดลำปางและเมืองเล็กเมืองน้อยแห่งอื่น ๆ แต่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1662 ก็เบนเข็มไปเมาะตะมะ ครั้งนี้ยึดชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนได้ โชคยังดีสำหรับพม่าที่ปัญหากับจีนได้สิ้นลง จึงส่งทัพบกทัพเรือมายึดเมาะตะมะและทวายคืนได้ภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1662 แล้วยกตามตีทัพอยุธยาที่ถอยหนีไป แต่ถูกอยุธยาตีโต้บริเวณกาญจนบุรี เสียหายยับเยิน[3][4]

การรุกรานครั้งที่สอง แก้

กรุงศรีอยุธยาส่งทัพไปยึดล้านนาอีกครั้ง การบุกเข้านครเชียงใหม่ครั้งนี้ทำให้เหล่าผู้ปกครองชาวพม่าในล้านนาต้องตื่นตระหนก ทัพอยุธยายึดเชียงใหม่ได้ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1663 ทัพหนุนพม่าที่มาช่วยล่าช้าก็ถูกตีแตกจนต้องร่นหนี ครั้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1663 อยุธยารุกเข้าตะนาวศรีเป็นสองทาง คือ เมาะตะมะกับมะละแหม่งทางเหนือ และทวายทางใต้ ทัพพม่าต้านการโจมตีจากอยุธยาไว้ได้จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1664 ซึ่งเข้าฤดูฝน ทำให้อยุธยาก็ถอยกลับไป

ขณะเดียวกัน ทัพอยุธยาที่ประจำอยู่ในเชียงใหม่ถูกล้อมกักไว้ในเมืองร้างเมืองหนึ่ง และถูกกองกำลังต่อต้านลอบโจมตีทุกครั้งที่ก้าวออกนอกเมือง จนปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1664 ทัพอยุธยาจึงกวาดครัวอพยพกลับไปอยุธยา[5]

ผลสืบเนื่อง แก้

เหตุการณ์เหล่านี้นับเป็นการศึกใหญ่ครั้งสุดท้ายระหว่างตองอูกับอยุธยาจนถึง ค.ศ. 1760 กระนั้น ก็มีการปะทะกันประปรายในช่วง ค.ศ. 1675–1676 และ ค.ศ. 1700–1701

อ้างอิง แก้

  1. Keay, John (2008). China: A History. Harper. p. 410.
  2. Dennerline 2002, p. 117.
  3. Phayre 1967: 139
  4. Harvey 1925: 198
  5. Hmannan Vol. 3 2003: 277

บรรณานุกรม แก้