ตะโดธรรมราชาที่ 3
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 3 (พม่า: သတိုးဓမ္မရာဇာ, ออกเสียง: [ðədó dəma̰ jàzà]; หรือรู้จักกันในพระนามว่า เมงจีหน่อง (မင်းကြီးနှောင်း, [mɪ́ɴdʑí n̥áʊɴ]); ประมาณ 1571 – 1597) ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าแปรในฐานะเมืองออกของ พระเจ้านันทบุเรง ผู้เป็นพระราชบิดาระหว่าง พ.ศ. 2132 ถึง 2138 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชมังกะยอชวา พระเจ้านันทบุเรง ทรงแต่งตั้ง เมงเยจอสวา พระเจ้าอังวะ พระราชบุตรองค์ที่ 2 เป็นพระมหาอุปราชา แทนมังกะยอชวา พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 3 ที่ทรงออกศึกยุทธหัตถีกับพระเชษฐามังกะยอชวา ทรงน้อยพระทัย ที่พระบิดามิทรงเห็นความสำคัญ จึงประกาศพระองค์เป็นเอกราชระหว่าง พ.ศ. 2138 ถึง 2140 ระหว่างที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ยกทัพมาหมายจะตี กรุงหงสาวดี ขณะนั้นทรงไล่ตีหัวเมืองต่างๆ และคิดตั้งตนเป็นใหญ่ แต่ก็กระทำไม่สำเร็จ เพราะถูกขุนนางคนสนิท ชื่อ ยานแนง โยนพระองค์ตกจากเรือพระที่นั่ง ในขณะที่กำลังยกทัพเรือไปตีอังวะ จนพระองค์จมน้ำสวรรคต
พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 3 သတိုးဓမ္မရာဇာ เมงจีหน่อง | |
---|---|
พระเจ้าแปร (เอกราช) | |
ครองราชย์ | 26 มีนาคม พ.ศ. 2138 – 15 กันยายน พ.ศ. 2140 |
ก่อนหน้า | ตะโดธรรมราชาที่ 1 |
ถัดไป | ยานแนง |
พระเจ้าแปร (ประเทศราช) | |
ครองราชย์ | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2132 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2138 |
ก่อนหน้า | ตะโดธรรมราชาที่ 2 |
ถัดไป | ตะโดธรรมราชาที่ 4 |
ประสูติ | ประมาณ พ.ศ. 2114 หงสาวดี อาณาจักรตองอู |
สวรรคต | 15 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 5 กันยายน] 2140 วันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน Thadingyut 959 ME (26 พรรษา) แปร อาณาจักรแปร |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตองอู |
พระบิดา | พระเจ้านันทบุเรง |
พระมารดา | หงสาวดีมิบะยา |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
ต้นพระชนม์
แก้พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 3 ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2114 ในรัชสมัยของ พระเจ้าบุเรงนอง ผู้เป็นพระอัยกาหรือ 2 ปีหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2112 โดยเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของพระอุปราชมังชัยสิงห์ (นันทบุเรง)ที่ประสูติแต่พระนางหงสาวดีมิบะยา พระราชธิดาของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และ พระนางธัมมเทวีแห่งตองอู มีพระนามเดิมว่า เมงจีหน่อง หรือ มังคยีหน่อง (မင်းကြီးနှောင်)[1] ทรงเจริญพระชันษา อยู่ในพระราชวังกัมโพชธานี วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2124 พระเจ้าบุเรงนอง เสด็จสวรรคต พระเจ้านันทบุเรง ขึ้นเถลิงราชสมบัติ เป็นพระเจ้ากรุงหงสาวดี[2][3]
พระเจ้าแปรในฐานะประเทศราช
แก้เส้นทางการขึ้นครองราชย์
แก้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ปี พ.ศ. 2131 พระยานครน้อย กษัตริย์ล้านช้างที่ถูกปลดออกจากราชสมบัติเสด็จสวรรคต[4] ทำให้อาณาจักรล้านช้างว่างกษัตริย์โดยสมบูรณ์ และเกิดการแย่งชิงอำนาจกัน ขุนนางอำมาตย์ล้านช้างได้ส่งพระราชสาส์น มาขอไถ่ตัวพระหน่อแก้วกุมาร พระราชโอรสของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ที่ถูกจับมาเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ให้กลับไปครองล้านช้าง แต่พระเจ้านันทบุเรง ทรงเห็นว่าหากส่งไป อาจทำให้ล้านช้างคิดการเป็นกบฏได้ จึงทรงจะให้เมงจีหน่องไปปกครองอาณาจักรล้านช้างแทน แต่ยังมิทันจะได้เสด็จไป ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม[5] ปีเดียวกัน เมื่อพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 แห่งเมืองแปร พระราชอนุชาของพระเจ้าบุเรงนองสวรรคต ปีต่อมาคือ พ.ศ. 2132 พระเจ้านันทบุเรงทรงเปลี่ยนความคิด แล้วจึงทรงสถาปนาเจ้าชายเมงจีหน่องเป็นพระเจ้าแปร ทรงพระนาม ตะโดธรรมราชา ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2132 ขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 18 พรรษา[6]
ขณะการครองราชย์
แก้พระเจ้าแปรองค์ใหม่ยังทรงพระเยาว์นัก ทำให้ขุนนางชั้นสูงในเมืองแปรและโอรสของพระเจ้าตะโดธรรมราชาองค์ก่อน 2 พระองค์ คือ เมงชเวเมี๊ยต เจ้าเมืองแตงดา กับ เมงเยอุศนะ เจ้าเมืองซะลี่น ไม่ยอมรับในตัวพระองค์ แต่พระองค์ยังมีพระโอรสอีก 2 พระองค์ คือ ชินเนเมียว และ ชินเนตุน ที่ยอมรับพระเจ้าแปรองค์ใหม่ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2133 พระเจ้าแปร ส่งกองทัพ 20,000 ไปช่วยพระมหาอุปราชมังกะยอชวารบกับกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระองค์ทรงนำทัพ 10,000 ร่วมกับทัพเมืองตองอู นำโดยนัดจินหน่อง[7] ยกไปปราบพวกกบฎโมกอง และได้รับชัยชนะในช่วงต้นปี พ.ศ. 2134 และเสด็จกลับถึงหงสาวดีในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2134[8] แต่ไม่มีการฉลองชัยชนะ เพราะทัพฝ่ายพระมหาอุปราชาพ่ายศึกกลับมาจากอยุธยา[9]
สงครามยุทธหัตถี
แก้พระเจ้านันทบุเรงทรงมีพระบัญชา ระดมไพร่พล 500,000 ให้ยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชามังกะยอชวาเป็นแม่ทัพ สมทบกับพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 3 นัดจินหน่อง มังจาปะโร พระยาพะสิม และพระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอ ยกทัพไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชาได้กระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าแปรกับนัดจินหน่อง เข้าชนช้างกับพระนเรศวร ป้องกันพระศพพระมหาอุปราชา แล้วถอยทัพออกจากเขตกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแปรได้เป็นแม่ทัพแทนพระเชษฐา ทรงเห็นว่าควรยกทัพกลับ นำพระศพกลับหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมาก จากการสิ้นพระชนม์ในศึกยุทธหัตถีของพระมหาอุปราชา
ความขัดแย้งกับหงสาวดี
แก้หลังจากปลงพระศพพระมหาอุปราชาแล้ว พระเจ้านันทบุเรงทรงสถาปนาพระเชษฐาร่วมพระมารดาพระองค์ถัดมาคือ เมงเยจอสวา เป็นที่พระมหาอุปราชาแทนมังกะยอชวา ทำให้พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 3 ทรงน้อยพระทัยที่ทรงออกช่วยราชการงานศึก แต่กลับถูกละเลยจากพระราชบิดา แล้วหลังจากที่พระเจ้านันทบุเรง ทรงแพ้ศึกอยุธยาหลายครั้งหลายครา เมืองประเทศราชต่างพากันประกาศเอกราช ไม่ขึ้นตรงต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง มีพระบัญชาให้เมงเยจอสวา พระมหาอุปราชวังหน้าพระองค์ใหม่ ไปเกณฑ์ไพร่พลตามหัวเมืองมอญต่างๆ แม้แต่พระภิกษุก็ทรงให้จับสึกมาเป็นทหาร แม้ไพร่พลจากหัวเมืองมอญก็มิเพียงพอจะรักษาเมือง จึงให้ขึ้นไปเกณฑ์ไพร่พลตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ แต่ก็ต้องปะทะกับพระเจ้าแปรที่มาเกณฑ์ไพร่พลตามหัวเมืองของตนเช่นกัน พระเจ้านันทบุเรงทรงให้พระเจ้าแปรส่งไพร่พลที่เกณฑ์ได้พร้อมด้วยศัตราวุธมาให้กับทัพหงสาวดี พระเจ้าแปรยอมส่งไพร่พลให้ แต่ก็ทรงไม่พอพระทัยพระราชบิดาอย่างมาก และหลังจากทราบข่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะยกทัพมาตีหงสาวดี พระเจ้าแปรก็ทรงออกตีหัวเมืองเล็กหัวเมืองน้อยต่างๆ ซ่องสุมไพร่พล และไม่เคยส่งกำลังมาช่วยหงสาวดีอีก
พระเจ้าแปรยกทัพไปตีตองอู
แก้ในปี พ.ศ. 2137 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กรีฑาทัพเข้ามายึดหัวเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี จนมาถึงเมืองเมาะตะมะ พระยาลอ เจ้าเมืองเมาะตะมะ ขอกำลังจากหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง มีพระบัญชาให้ทัพเมืองแปร เมืองตองอู และเมืองเชียงใหม่ ยกไปช่วยกันทัพอยุธยา เพื่อไม่ให้ยกมาถึงหงสาวดี เมื่อพระเจ้าแปรทราบว่า พระเจ้าเมงเยสีหตู เจ้าเมืองตองอู ยกทัพออกจากตองอูแล้ว พระองค์จึงกรีฑาทัพไปตีตองอู วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2137 พระเจ้าแปรเข้าปิดล้อมเมืองตองอู แต่ก็ยากที่พระเจ้าแปรจะตีหักเอาเมืองได้ แม้ไพร่พลตองอูจะน้อยกว่า แต่เพราะเมืองตองอูอยู่ในชัยภูมิที่มีภูผาสูงชัน มีคูเมืองกว้างและลึก มีกำแพงสูงใหญ่ มีปืนใหญ่และปืนคาบศิลาตั้งอยู่บนเชิงกำแพงเมือง นัดจินหน่อง พระอุปราชเมืองตองอู ทรงบัญชาการรบกับทัพเมืองแปร หลังจากทรงล้อมเมืองแปรอยู่นั้น ทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าเมงเยสีหตูพ่ายศึก และทราบข่าวการล้อมเมืองตองอูของพระเจ้าแปรแล้ว และกำลังจะยกทัพกลับมา จึงทรงถอนทัพออกจากตองอู เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2137 เมื่อเสด็จกลับถึงเมืองแปร ก็ทรงประกาศเอกราช ไม่ขึ้นตรงต่อหงสาวดี
พระเจ้าแปรในฐานะเอกราช
แก้หลังจากทรงประกาศเอกราชแล้ว ได้เข้าครอบครองภูมิภาคตะวันตกตอนกลางของพม่า (ปัจจุบันส่วนใหญ่คือเขตมะกเว) รวมถึง เมืองมี่นโด้น เมืองแตงดา เมืองมเยเด เมืองตะแยะ เมืองสากู เมืองซะลี่น และเมืองปาขัน ได้กำลังพลเป็นอันมาก แต่มิได้จะทรงยกลงมาตีหงสาวดี พระองค์คิดจะยึดเอาเมืองฝั่งเหนือทั้งหมดแทน หลังจากทรงพ่ายแพ้ในการตีตองอู พระองค์เปลี่ยนพระทัยจะยกไปตีอังวะ เพราะมีเพียงขุนนางพระยาปกครอง ไพร่พลรักษาเมืองก็มีน้อย เมื่อพระเจ้าแปรยกทัพใกล้จะถึงอังวะ พระเจ้านันทบุเรง โปรดให้ญองยานเมง เจ้าเมืองญองยาน พระอนุชาของพระองค์ยกไปช่วยอังวะ ทัพของญองยานเมง สมทบกับทัพของพญายอทา กับ แล๊ตแหว่คยีเมี่ยนมู เจ้าเมืองอังวะ ยกทัพลงมาสกัดพระเจ้าแปร ทัพอังวะตีเมืองปาขันแตก ทัพพระเจ้าแปรต้องถอยร่นไปถึงเมืองซะลี่น และยกทัพกลับไปในที่สุด
พระเจ้าแปรแม้จะทรงพ่ายแพ้ถึง 2 ครั้ง แต่ในขณะนั้น พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าตองอู พากันประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้าญองยานเมงก็ทรงยึดอังวะ และประกาศตัวเป็นอิสระเช่นกัน หงสาวดีจึงปราศจากพันธมิตร ฝ่ายพระเจ้าแปรซึ่งหมายใจจะขึ้นเป็นใหญ่ จึงเข้าหักเอาเมืองเล็กเมืองน้อย จนพระองค์ทรงรวบรวมกำลังพลได้ 50,000 ยกเข้ามาตีเมืองกาญจนบุรี หมายใจว่าหากเร่งเข้าตีโดยเร็ว ทัพอยุธยาจะตั้งรับมิทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นำทัพ 100,000 เข้าไปตีทัพพระเจ้าแปร ให้ขุนรามเดชะ ขุนพิมานมงคล เป็นทัพหน้า พระมหาเทพ คุมพล 10,000 อ้อมไปตีกระหนาบทัพพระเจ้าแปรด้านหลัง จนทัพพระเจ้าแปรแตกพ่าย และถอยทัพกลับไป หลังจากนั้น พระเจ้าแปร คิดจะหันไปเป็นพันธมิตรกับตองอูเพื่อร่วมกันตีอังวะ แม้พระเจ้าเมงเยสีหตู มิทรงไว้วางพระทัยพระเจ้าแปร แต่ก็ไม่อาจให้พระเจ้าญองยานเมง ขึ้นเป็นใหญ่ได้ จึงทรงตัดสินพระทัยร่วมกับพระเจ้าแปรจะยกไปตีอังวะ
สวรรคต
แก้วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2140 พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 3 เสด็จนำทัพเรือ 2000 ยกไปตีอังวะอีกครั้ง สบทบกับทัพตองอู ขุนนางคนสนิทของพระองค์ ชื่อ ยานแนง ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงของพระองค์ที่นั่งอยู่บนเรือพระที่นั่งเดียวกันกับพระเจ้าแปร เขาคิดการกบฏ และยึดเรือพระที่นั่ง จับพระเจ้าแปรโยนลงน้ำตกจากเรือพระที่นั่ง จนพระองค์จมน้ำสวรรคต ขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 26 พรรษา ชินเนเมียว และ ชินเนตุน พระโอรสของพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 ผู้เป็นเสนาบดี ก็ถูกยานแนงสังหารเช่นกัน
เหตุการณ์หลังจากนั้น
แก้ข่าวการสวรรคตของพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 3 แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว พระเจ้าเมงเยสีหตู จึงเปลี่ยนเส้นทางจากอังวะยกไปตีเมืองแปร เมงเยอุศนะ เจ้าเมืองซะลี่น ที่รักษาเมืองแปรแทนพระเจ้าแปร ส่งสาส์นไปขออ่อนน้อมต่อพระเจ้าญองยานเมง พระเจ้าญองยานส่งกองทัพมาช่วยแปรรบกับตองอูจนได้ชัยชนะ หลังจากนั้น พระเจ้าญองยานเมง ก็ตั้งยานแนงเป็นเจ้าเมืองแปร เพราะหากไม่ได้ยานแนง พระองค์คงไม่อาจต้านทัพที่ยกมาจากทั้งแปรและตองอูได้ ก่อนพระเจ้าญองยาน จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2148 พระองค์ทรงตรัสกับพระราชบุตรองค์โต คือ พระเจ้าอโนเพตลุน ว่าให้ไว้ชีวิตยานแนง และไม่ยกทัพไปตีเมืองแปร เมื่อทรงถามเหตุผล พระองค์จึงตอบว่า เพราะยานแนง ช่วยให้อังวะรอดจากศึกแปรและตองอู
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของตะโดธรรมราชาที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Maha Yazawin Vol. 3 2006: 103
- ↑ Lieberman 2003: 152
- ↑ Maha Yazawin Vol. 3 2006: 77
- ↑ (Maha Yazawin Vol. 3 2006: 89): Thadingyut 950 ME = 19 September to 17 October 1588
- ↑ (Maha Yazawin Vol. 3 2006: 89): Nadaw 950 ME = 17 November to 15 December 1588
- ↑ Maha Yazawin Vol. 3 2006: 89
- ↑ Maha Yazawin Vol. 3: 2006: 90
- ↑ (Maha Yazawin Vol. 3 2006: 91): Tagu 950/951 ME = 24 March to 21 April 1591
- ↑ Maha Yazawin Vol. 3: 2006: 91