นะฉิ่นเหน่าง์

(เปลี่ยนทางจาก นัดจินหน่อง)

นะฉิ่นเหน่าง์ (พม่า: နတ်သျှင်နောင်, [naʔ ʃɪ̀ɰ̃ nàʊɰ̃]; ค.ศ. 1579–1613) หรือ นักสาง นักส้าง ตามพงศาวดารไทย ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าตองอู (สีหตู) อันเป็นพระอนุชาของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง นะฉิ่นเหน่าง์นั้นเป็นที่เลื่องลือในพม่าว่าเป็นมีความสามารถด้านการกวีสูงอย่างยิ่งและมีความรอบรู้ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ต่อมานะฉิ่นเหน่าง์ได้ปกครองเมืองตองอูต่อจากพระราชบิดา ต่อมาได้เป็นผู้วางยาพิษปลงพระชนม์พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง

นะฉิ่นเหน่าง์
နတ်သျှင်နောင်
อนุสาวรีย์นะฉิ่นเหน่าง์กับพระนางราชธาตุกัลยาที่ตองอู
กษัตริย์แห่งตองอู
ครองราชย์11 สิงหาคม [ตามปฎิทินเก่า: 1 สิงหาคม] 1609 – 4 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 23 สิงหาคม] 1610
ราชาภิเษก21 สิงหาคม [ตามปฎิทินเก่า: 11 สิงหาคม] 1609
แรม 6 ค่ำ เดือน Wagaung 971 ME[1]
ก่อนหน้าเมงเยสีหตูที่ 2
ถัดไป(ยุบเลิก)
ประสูติประมาณ. มกราคม ค.ศ. 1579[note 1]
ตองอู
สวรรคต9 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 30 มีนาคม] 1613 (34 พรรษา)
วันอังคาร แรม 6 ค่ำ เดือน Tagu ตอนปลาย 974 ME[note 2]
สิเรียม
ชายาพระนางราชธาตุกัลยา
พระราชบุตรพระราชโอรส 6 พระองค์และพระราชธิดา 3 พระองค์โดยพระสนม[2]
พระนามเต็ม
สีหสุระ
ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาเมงเยสีหตูที่ 2
พระราชมารดาเมงเกงสอ

ในช่วงนั้นเครือข่ายอำนาจของพม่าแตกออกเป็นสามขั้วคือ อังวะ แปร และตองอู พระเจ้าอังวะคือ พระเจ้าอะเนาะเพะลูน ได้ยึดเมืองแปรได้ นะฉิ่นเหน่าง์เห็นว่าเมืองตองอูคงไม่อาจสามารถต่อสู้กับอังวะได้จึงสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยาซึ่งในสมัยนั้นมี สมเด็จพระเอกาทศรถปกครองอยู่ ต่อมาพระเจ้าอังวะได้บุกเมืองตองอู นะฉิ่นเหน่าง์ได้ขอความช่วยเหลือต่อกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเอกาทศรถทรงให้นายพลฟีลีปึ ดึ บรีตู ทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสยกทัพไปช่วย แต่ไปไม่ทันเมืองตองอูก็แตกซะก่อน นะฉิ่นเหน่าง์จึงหนีไปที่เมืองสิเรียมกับนายพลฟีลีปึ ดึ บรีตูและเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ พระเจ้าอังวะสั่งให้ฟีลีปึ ดึ บรีตูส่งตัวนะฉิ่นเหน่าง์มาให้ตน แต่นายพลฟีลีปึไม่ยอม พระเจ้าอังวะจึงเข้าโจมตีเมืองสิเรียมในปี พ.ศ. 2156 แล้วจับนายพลฟีลีปึ ดึ บรีตูไปตรึงกางเขนและบังคับให้นะฉิ่นเหน่าง์มานับถือพุทธแต่ไม่ยอมจึงถูกประหารชีวิต[3][4]

เรื่องพระสังขทัต แก้

ในพงศาวดารไทยในตอนศึกเมืองรุมเมืองคัง ได้กล่าวถึงกองทัพของพระสังขทัตที่ยกมาตีเมืองรุมเมืองคัง ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงว่าเป็นใครมาจากไหน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าคือโอรสพระเจ้านันทบุเรงที่ได้เป็นพระเจ้าแปร ต่อมาทรงเปลี่ยนสันนิษฐานเป็นนะฉิ่นเหน่าง์ในพระนิพนธ์หนังสือไทยรบพม่า และในหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้เชื่อกันว่าพระสังขทัตคือนะฉิ่นเหน่าง์ แต่พงศาวดารเกตุมดีตองอูระบุว่านะฉิ่นเหน่าง์มีอายุได้ 13 ปี ในสงครามยุทธหัตถี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในศึกเมืองรุมเมืองคัง นะฉิ่นเหน่าง์จะมีอายุประมาณ 2-3 ปี ทำให้พระสังขทัตไม่น่าจะเป็นคนเดียวกันกับนะฉิ่นเหน่าง์

ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระสังขทัตควรเป็นพระเจ้าเมาะตะมะสิริสุธรรมราชา พระราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนองกับพระนางราชเทวี ซึ่งมีพระนามเดิมว่าสังฆทัตถ (သင်္ဃဒတ္ထ) หรือ สังฆาทัตถ (သင်္ဃာ ဒတ္ထ) อันมีความใกล้เคียงกับชื่อพระสังขทัตในพงศาวดารไทยมาก[5][6][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]

พงศาวลี แก้

หมายเหตุ แก้

  1. พระองค์ทรงเสด็จพระราชสมภพในช่วงธันวาคม ค.ศ. 1578 ถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1579 (Sein Lwin Lay 2006: 337): ตอนกองทัพพม่าเดินขบวนไปที่สยาม พระองค์มีพระชนมพรรษา 13 พรรษา จาก (Hmannan Vol. 3 2003: 93) กองทัพเริ่มโจมตีในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1592 (ขึ้น 2 ค่ำ เดือน Natdaw 954) เมื่อมังกยอชวาถูกฆ่าในสนามรบ กองทัพจึงล่าถอยหลังวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1593 จาก (Htin Aung 1967: 137) ตอนขากลับ พระองค์มีพระชนมพรรษา 14 พรรษา (ในปีที่ 15) นั่นหมายความว่าในช่วงการโจมตี พระองค์พึ่งเข้าสู่วัย 14 พรรษา
  2. (Hmannan Vol. 3 2003: 169) กล่าวว่า พระองค์ถูกประหารชีวิตด้วยการเสียบประจานในวันเสาร์ แรม 3 ค่ำ เดือน Tagu 975 ME (6 เมษายน ค.ศ. 1613) พระองค์สวรรคตในสามวันต่อมาตาม (Sein Lwin Lay 2006: 323).

อ้างอิง แก้

  1. Hmannan Vol. 3 2003: 114
  2. Hmannan Vol. 3 2003: 170
  3. Maung Htin Aung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press. pp. 137–140
  4. Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 78–79. ISBN 978-0-374-16342-6, 0-374-16342-1.
  5. วิพากษ์ประวัติศาสตร์
  6. สงสัยเรื่องอายุของนัดจินหน่องและการรบที่เมืองคัง

บรรณานุกรม แก้

  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Royal Historical Commission of Burma (1829–1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
  • Sein Lwin Lay, Kahtika U (2006). Mintaya Shwe Hti and Bayinnaung: Ketumadi Taungoo Yazawin (ภาษาพม่า) (2nd printing ed.). Yangon: Yan Aung Sarpay.