พระนางราชธาตุกัลยา
พระนางราชธาตุกัลยา (พม่า: ရာဇ ဓာတု ကလျာ, ออกเสียง: [jàza̰ dàdṵ kələjà]; 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1559 – พฤศจิกายน ค.ศ. 1603) เป็นพระวรชายาในพระมหาอุปราชาใน ค.ศ. 1586 ถึง 1593 และพระชายาในพระมหาอุปราชแห่งตองอูเป็นเวลาเจ็ดเดือนใน ค.ศ. 1603 พระนางเป็นที่รู้จักจากพระสิริโฉมที่งดงามซึ่งนะฉิ่นเหน่าง์ พระสวามีองค์ที่ 2 ได้นิพนธ์บทกวีถึงความงามของพระนาง[1]
พระนางราชธาตุกัลยา ရာဇ ဓာတု ကလျာ | |
---|---|
พระราชานุสาวรีย์นะฉิ่นเหน่าง์กับราชธาตุกัลยาที่ตองอู | |
พระชายาในพระมหาอุปราชแห่งเกตุมะดี | |
ดำรงพระยศ | 21 มีนาคม [ตามปฎิทินเก่า: 11 มีนาคม] 1603 – พฤศจิกายน ค.ศ. 1603 |
ราชาภิเษก | 21 มีนาคม [ตามปฎิทินเก่า: 11 มีนาคม] 1603 |
ก่อนหน้า | พระนางเมงเกงสอ |
ถัดไป | ไม่ทราบ |
พระวรชายาในพระมหาอุปราชา | |
ดำรงพระยศ | ป. พฤศจิกายน ค.ศ. 1586 – 8 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 29 มกราคม] 1593 |
ก่อนหน้า | พระนางนะชีนแมดอ |
ถัดไป | ไม่ทราบ |
ประสูติ | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1559 วันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน นะดอ 921 ME พะโค จักรวรรดิตองอู |
สิ้นพระชนม์ | พฤศจิกายน ค.ศ. 1603 เดือน ดะซองโม่น 965 ME (ประมาณ 44 พรรษา) ตองอู |
คู่อภิเษก | มังกยอชวา (ค.ศ. 1586–1593, พระองค์สวรรคต) นะฉิ่นเหน่าง์ (ค.ศ. 1603) |
พระราชบุตร | ไม่มี |
ราชวงศ์ | ตองอู |
พระราชบิดา | พระเจ้าบุเรงนอง |
พระราชมารดา | พระนางราชเทวี |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระประวัติช่วงต้น
แก้พระนางราชธาตุกัลยาประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1559 ที่พะโค เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนองที่ประสูติจากพระนางราชเทวี[2] พระนางมีพระนามว่า ราชธาตุกัลยา เพราะพระนางเสด็จพระราชสมภพในวันที่การอุทิศพระธาตุในเจดีย์มหาเจดีย์ที่พะโคครั้งแรก[2][note 1] จากทางฝั่งของพระมารดา พระนางสืบเชื้อสายจากอาณาจักรอังวะโดยพระนางมีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระบิดาพระมารดาเดียวกันอีก 2 พระองค์ พระเชษฐาคือ นรธาเมงสอ และพระอนุชา สิริสุธรรมราชา[3] ซึ่งทั้งสามพระองค์เจริญพระชนม์ที่พระราชวังกัมโพชธานีในหงสาวดี และได้เลื่อนขึ้นเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1563 เมื่อพระมารดาได้รับการสถาปนาเป็นพระมเหสีองค์ที่ 3 และองค์สุดท้ายของพระเจ้าบุเรงนอง[4]
พระนางได้รับการศึกษาในพระราชวังซึ่งพระนางโปรดการแต่งกลอน (และต่อมากลายเป็นกวีที่มีชื่อเสียง)[5] เมื่อพระชนมายุ 15 พรรษาพระนางได้เข้าพิธีชินบยู หรือพิธีเจาะหูของเด็กผู้หญิงเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1574[6]
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้บรรณานุกรม
แก้- Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
- Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
- Ohn Shwe, U; Natshinnaung (1920). Natshinnaung Yadu Collection (ภาษาพม่า) (1966, 3rd printing ed.). Yangon: Hanthawaddy.
- Rhys Davids, Thomas William; William Stede (1993). Pali–English Dictionary (reprint ed.). Delhi: Motilal Banarsidass. ISBN 9788120811447.
- Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.