เล่จู้นมิบะย่า

(เปลี่ยนทางจาก เลจุนมิบะยา)

เล่จู้นมิบะย่า (พม่า: လေးကျွန်း မိဖုရား) เป็นพระอัครชายาของมังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู (ครองราชย์ราว ค.ศ. 1549–1550, ค.ศ. 1555–1584) เมงเยสีหตูที่ 2 แห่งตองอู และนะฉิ่นเหน่าง์ ผู้สถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งตองอู เป็นพระโอรสและพระนัดดาของพระนาง

เล่จู้นมิบะย่า
လေးကျွန်း မိဖုရား
พระอัครชายามหาอุปราชแห่งตองอู
ดำรงพระยศมีนาคม ค.ศ. 1549 – 30 เมษายน ค.ศ. 1550
6 มิถุนายน ค.ศ. 1552 – มิถุนายน ค.ศ. 1584
ก่อนหน้าพระเชษฐภคินี/พระขนิษฐาในชีน-มโย่เมียะ
ถัดไปพระนางเมงเกงสอ
อัครมเหสีแห่งตองอู
ดำรงพระยศใน ค.ศ. 1535–1545
ประสูติคริสต์ทศวรรษ 1520
แปร
สวรรคตป. คริสต์ทศวรรษ 1580
ตองอู
คู่อภิเษกพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ (1535–1545)
มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู (1545–1584?)
พระราชบุตรเมงเยสีหตูที่ 2[1]
ตะโดธรรมราชา
มีนพยู
พระนางสิริราชเทวี
Min Htwe
ราชวงศ์แปร
พระราชบิดาพระเจ้าบาเยงทเว
พระราชมารดาChit Mi แห่งแปร
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระนางประสูติในราชวงศ์แปร (ซึ่งสืบทอดมาจากราชวงศ์อังวะ) โดยพระเจ้านรปติแห่งแปรให้พระองค์อภิเษกสมรสกับพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งราชวงศ์ตองอู ในคริสต์ทศวรรษ 1530 โดยขณะอยู่ที่ตองอู พระองค์เป็นมเหสีรองที่ประทับอยู่ในบ้านที่อยู่ใน สวนเล่จู้น ภายหลังได้รับพระนาม เล่จู้นมิบะย่า (แปลว่า "ราชินีเล่จู้น")[1]

พระนางให้กำเนิดโอรสธิดาแด่พระเจ้ามังฆ้องที่ 2 ถึง 5 พระองค์ โดยเมงเยสีหตูที่ 2 พระราชโอรสองค์โต อภิเษกสมรสกับพระนางเมงเกงสอ พระราชธิดาในพระเจ้าบุเรงนองกับพระนางจันทาเทวี[2] พระราชธิดาทั้งสามพระองค์อภิเษกสมรสกับพระเจ้านันทบุเรงใน ค.ศ. 1582[3]

พงศาวลี

แก้

ตารางพงศาวลีด้านล่างมาจากรายงานในพงศาวดาร มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว ซึ่งอ้างอิงถึงจารึกร่วมสมัย[note 1]

หมายเหตุ

แก้
  1. See (Hmannan Vol. 3 2003: 80) for the names of her maternal grandparents. See (Hmannan Vol. 2 2003: 82–84) for further ancestors.

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Maha Yazawin Vol. 3 2006: 83
  2. Maha Yazawin Vol. 3 2006: 118
  3. Maha Yazawin Vol. 3 2006: 77–78

บรรณานุกรม

แก้
  • Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Maha Sithu (1798). Myint Swe; Kyaw Win; Thein Hlaing (บ.ก.). Yazawin Thit (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2012, 2nd printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.