หงส์
หงส์ | |
---|---|
หงส์ขาว (Cygnus olor) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Anseriformes |
วงศ์: | Anatidae |
วงศ์ย่อย: | Anserinae |
เผ่า: | Cygnini |
สกุล: | Cygnus Bechstein, 1803 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
หงส์ (นิยมใช้แพร่หลายมากกว่า หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย
หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย[1]
หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่[2]
- หงส์ดำ (Cygnus atratus)
- หงส์แตร (Cygnus buccinator)
- หงส์ทุนดรา (Cygnus columbianus)
- หงส์กู่ (Cygnus cygnus)
- หงส์ขาวคอดำ (Cygnus melancoryphus)
- หงส์ขาว (Cygnus olor) เป็นชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด
หงส์ เป็นนกที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีระยะการฟักไข่ประมาณ 35-37 วัน ขณะที่ฟักไข่นั้น จะมีอุปนิสัยดุมาก เพื่อปกป้องไข่ ลูกหงส์เมื่อคลอดออกมาแล้ว จะมียังมีขนขึ้นไม่เต็ม และจะไม่มีลักษณะเหมือนตัวเต็มตัว
โดยปกติแล้ว หงส์ไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย เป็นนกที่มนุษย์ไม่ใช้เป็นอาหาร แต่จะเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามได้ โดยมักเลี้ยงตามสระน้ำต่าง ๆ ตามสวนสาธารณะหรือสถานที่ต่าง ๆ เพราะหงส์ถือเป็นสัตว์ที่มนุษย์ถือว่า มีความสวยสง่างาม ท่วงท่าอ่อนช้อย โดยเฉพาะเมื่อว่ายน้ำ ช่วงคอที่ยาวระหง จะโค้งงอเป็นรูปตัว S อีกทั้งยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความงามต่าง ๆ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีคู่เดียวไปตลอดชีวิต[3] ได้มีการใช้หงส์ในสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น นิทานปรัมปราต่าง ๆ หรือในอุปรากรสวอนเลค ที่นิยมนำมาประกอบการแสดงบัลเลต์[4] หรือในความเชื่อของชาวจีน หงส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์ฮองเฮา เคียงข้างกับมังกร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ประจำองค์ฮ่องเต้ และยังจัดว่าเป็น 1 ใน 4 สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโลกมนุษย์และสวรรค์ด้วย ถือเป็นสัตว์อมตะ ไม่มีวันตาย และหงส์ยังถือเป็นพาหนะของพระพรหม ซึ่งถือเป็น 1 ในตรีมูรติตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์[5] ในประเทศพม่า หงส์เป็นตำนานของการกำเนิดเมืองหงสาวดีของชาวมอญ และเป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์หงสาวดี[6]
ชื่อและชื่อในภาษาอื่น
แก้หงส์ในภาษาไทยมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีคำว่า หํส [5] และ หงฺส ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงนกน้ำจำพวกห่าน หงส์[7] และแม้กระทั่งนกฟลามิงโก[8][9] และคำว่า "หงฺส" (หัง-สะ หรือ Haṃsa) ยังมีความเกี่ยวข้องกับคำในภาษาละตินคือ "(h)anser", ภาษากรีก "χήν", ภาษาสเปน "ganso", ภาษาอังกฤษ "goose"[10]
หงส์ในภาษาจีนมีความหมายตรงตัวว่า "ห่านฟ้า" (天鹅 พินอิน: tiān'é เทียนเอ๋อ)
ในภาษาอังกฤษหงส์เรียกว่า Swan มาจากภาษาอังกฤษโบราณคำว่า swan คล้ายกับภาษาเยอรมันคำว่า Schwan และในภาษาดัตช์คำว่า zwaan และภาษาสวีเดนคำว่า svan ซึ่งทั้งหมดมาจากรากศัพท์ภาษาโปรโตเจอร์แมนิก (ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน) คำว่า swen หมายถึง "เสียง" หรือ "ร้องเพลง"[11]
ถิ่นอาศัยและการอพยพ
แก้หงส์มักพบในเขตอบอุ่นมากกว่าในเขตร้อน ฝูงของหงส์ที่กำลังบินมักเรียกกันว่าเบวี (bevy) หรือเวดจ์ (wedge)[12] มีหงส์ 4 หรือ 5 สายพันธุ์ที่พบในซีกโลกเหนือ มีหนึ่งสายพันธุ์พบในออสเตรเลีย มีหนึ่งสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเคยพบในนิวซีแลนด์และหมู่เกาะแชทัม และมีอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่พบในอเมริกาใต้ หงส์ไม่พบในเขตร้อนอย่างเอเชีย, อเมริกากลาง, อเมริกาใต้ตอนเหนือ และแอฟริกาทั้งหมด หงส์ขาวได้แพร่กระจายเข้าไปในฐานะชนิดพันธุ์ต่างถิ่นของอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์[13]
หงส์บางสายพันธุ์เป็นนกอพยพในบางช่วงอายุหรือตลอดชีวิต หงส์ขาวเป็นนกอพยพชั่วคราว ปกติจะอาศัยบริเวณยุโรปตะวันตกและจะอพยพไปยังยุโรปตะวันออกและเอเชีย หงส์กู่และหงส์ทุนดราเป็นนกอพยพถาวร และหงส์แตรอพยพเกือบตลอดชีวิต[13] แม้จะมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าหงส์คอดำอพยพตลอดอายุขัย แต่จากการศึกษา ยังไม่แน่ชัดว่าหงส์สายพันธุ์อพยพแบบใดกันแน่[14]
พฤติกรรม
แก้หงส์หาอาหารทั้งบนบกและบนน้ำ พวกมันกินพืชเป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งก็กินสัตว์น้ำในปริมาณน้อย หงส์หาอาหารในน้ำด้วยการคว่ำตัวหรือกดไปมา อาหารของพวกมันจะประกอบไปด้วยรากไม้ หัวพืช กิ่งไม้ และใบไม้ของพืชใต้น้ำ[13]
อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการ
แก้หลักฐานแสดงให้เห็นว่าสกุลหงส์ (Cygnus) มีวิวัฒนาการในยุโรปหรือยูเรเซียตะวันตกในสมัยไมโอซีน และแพร่กระจายไปทั่วซีกโลกเหนือจนถึงสมัยไพลโอซีน ยังไม่พบหลักฐานการกระจายพันธุ์ไปทางใต้ในสมัยใด แต่หลักฐานทางสันฐานวิทยาเห็นได้ชัดว่าหงส์ขาวเป็นญาติใกล้ชิดกับหงส์ดำซีกโลกใต้มากที่สุด จากชีวภูมิศาสตร์และลักษณะที่ปรากฏของสกุลย่อย Olor สันนิษฐานอาจมีวิวัฒนาการที่เชื่อมโยงกันกับหงส์ที่สูญพันธุ์บางชนิดในช่วงยุคน้ำแข็งสุดท้าย
สายวิวัฒนาการ
แก้Cygnus |
| |||||||||||||||||||||||||||
สกุลย่อย | ภาพ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อสามัญ | ลักษณะ | แหล่งกระจายพันธุ์ |
---|---|---|---|---|---|
สกุลย่อย Sthenelides | Cygnus melancoryphus | หงส์ขาวคอดำ | ขนตัวขาว
ขนคอและหัวดำ รอบตาสีขาว โหนกบนจะงอยปากสีส้มแดง ขนาดใหญ่เป็นก้อน |
อเมริกาใต้ | |
สกุลย่อย Chenopis | Cygnus atratus | หงส์ดำ | ขนสีดำล้วน หรือมีขนขาวแซมปลายปีก
จะงอยปากสีส้มแดง ปลายมีแถบสีชมพูอ่อนคาด ไม่มีโหนกบนจะงอยปาก |
ออสเตรเลีย | |
สกุลย่อย Olor | Cygnus olor | หงส์ขาว หรือ หงส์ใบ้ | ขนสีขาวล้วน
จะงอยปากสีส้ม มีโหนกบนจะงอยปาก ขอบจะงอยปากที่ติดกับขนขาวมีสีดำ ขอบตาดำ |
ยุโรป ถึงรัสเซียตอนใต้ จีนและรัสเซียภาคพื้นทะเล | |
สกุลย่อย Cygnus | Cygnus cygnus | หงส์กู่ | ขนสีขาวล้วน
จะงอยปากสีส้ม ขอบส้ม ไม่มีโหนกบนจะงอยปาก ปลายจะงอยปากสีดำ |
ผสมพันธุ์ในไอซ์แลนด์ ยุโรปและเอเชียแถบกึ่งขั้วโลก
อพยพไปยังยุโรปและเอเชียในช่วงฤดูหนาว | |
Cygnus buccinator | หงส์แตร | ขนสีขาวล้วน
จะงอยปากสีดำ ขอบตาดำ ไม่มีโหนกบนจะงอยปาก |
อเมริกาเหนือ | ||
Cygnus columbianus | หงส์ทุนดรา | อเมริกาเหนือยูเรเซีย |
อ้างอิง
แก้- ↑ เอเชียและออสเตรเลีย, "มองโลกอัศจรรย์ผ่านนภากาศ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ [https://web.archive.org/web/20121227215550/http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000097748 เก็บถาวร 2012-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เปิดรังหงส์ดำ แห่ง"ลำไทรฟาร์ม" จากผู้จัดการออนไลน์]
- ↑ Kant, Marion (2007). The Cambridge companion to ballet. Cambridge University Press. pp. 164.
- ↑ 5.0 5.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 861. ISBN 974-8122-79-4
- ↑ "All of history's a stage". เนชั่นมัลติมีเดีย. 6 October 2007. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
- ↑ Lindsay Jones (2005), Encyclopedia of religion, Volume 13, Macmillan Reference, ISBN 978-0028657332, page 8894, Quote: "In Hindu iconography the swan personifies Brahman-Atman, the transcendent yet immanent ground of being, the Self."
- ↑ Monier Monier-Williams, Monier Williams Sanskrit Dictionary, हंस, Hamsa, University of Cologne, Germany, ISBN 978-8120615090, page 1286
- ↑ Denise Cush (2007), Encyclopedia of Hinduism, Routledge, ISBN 978-0415556231, page 697
- ↑ J. Pokorny, Indogermanisches etymologisches Wörterbuch. *ĝhan-s-
- ↑ "swan". etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
- ↑ Lipton, James (1991). An Exaltation of Larks (ภาษาอังกฤษ). Viking. ISBN 978-0-670-30044-0.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDucks
- ↑ Schlatter, Roberto; Navarro, Rene A.; Corti, Paulo (2002). "Effects of El Nino Southern Oscillation on Numbers of Black-Necked Swans at Rio Cruces Sanctuary, Chile". Waterbirds. 25 (Special Publication 1): 114–122. JSTOR 1522341.
- ↑ Boyd, John H. "Anserini species tree" (PDF). สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cygnus ที่วิกิสปีชีส์